ทำไมอาจารย์มหาวิทยาลัยจึงไม่ค่อยทำงานกับชุมชน


ผมพบสิ่งที่คล้ายกันอยู่อย่างหนึ่ง คือวิสัยทัศน์ของสถาบันที่จะต้องทำงานเพื่อชุมชน หรือร่วมกับชุมชน หรือมีชุมชนเป็นเป้าหมาย แทบจะทุกสถาบัน

ในโอกาสที่ผมเดินทางไปประชุมตามสถาบันต่างๆ โดยเฉพาะระดับอุดมศึกษา ผมพบสิ่งที่คล้ายกันอยู่อย่างหนึ่ง คือวิสัยทัศน์ของสถาบันที่จะต้องทำงานเพื่อชุมชน หรือร่วมกับชุมชน หรือมีชุมชนเป็นเป้าหมาย แทบจะทุกสถาบัน

 

และชุมชนมีความต้องการความรู้ทางวิชาการอย่างมาก เกษตรกรไทยและชาวบ้านในชนบทไทย อยู่ในสภาพความรู้ไม่พอใช้ ทนอยู่กับความไม่รู้ ลำบากลำบน ทนทุกข์ทรมานอยู่กับทรัพยากรที่เสื่อมโทรม ความรู้ที่เสื่อมโทรม สังคมที่เสื่อมโทรม และวิถีชีวิตที่เสื่อมโทรม อย่างน่าสงสารเป็นอย่างยิ่ง

 

ผู้บริหารมหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ก็ใจดีเหลือเกิน อุตส่าห์เขียนคำขวัญว่า มหาวิทยาลัยจะทำงานเพื่อชุมชน ดังกล่าวข้างต้น

 

แต่ทำไม ในโลกแห่งความเป็นจริง แทบจะหาอาจารย์จากมหาวิทยาลัยมาทำงานร่วมกับชุมชนไม่ได้เลย

 

ผมพยายามหาสาเหตุ ความเป็นมา ที่อาจารย์มหาวิทยาลัยไม่ค่อยทำงานกับชุมชน ด้วยเหตุผลต่างๆ ดังนี้

 
  1. อาจารย์ส่วนหนึ่งมีภาระงานสอนมาก จนแทบไม่มีเวลาปลีกตัวออกจากห้องสอน เพื่อไปทำงานนอกสถาบัน
  2. อาจารย์ที่พอมีเวลา มักจะมีความรู้ไม่ครอบคลุมพอที่จะคุยกับชุมชนรู้เรื่อง เพราะถนัดด้านใดด้านหนึ่งลึก ๆ เพียงด้านเดียว พอชาวบ้านถามนอกประเด็นนิดเดียวก็ตอบไม่ได้แล้ว ทำให้รู้สึกอึดอัด ไม่อยากคุย และไม่อยากสัมผัสกับชาวบ้านอีกต่อไป
  3. อาจารย์บางท่านมีความหยิ่งทะนงในความรู้ของตนเอง ว่าดีเลิศ ถ้าใครอยากจะได้ต้องมาขอเอา ไม่ใช่จะเอาไปให้ใครได้ง่ายๆ เรียกว่า ต้องการสร้างคุณค่าให้แก่ตนเอง โดยให้คนมาง้อ
  4. อาจารย์บางท่านขาดความสามารถในการสื่อกับชาวบ้าน ทำให้คุยกับชาวบ้านไม่รู้เรื่อง ไม่เข้าใจปัญหาของชุมชน ทำให้รู้สึกว่า การทำงานกับชุมชนไม่มีประโยชน์ สู้มานั่งเขียนตำรา ขอตำแหน่ง ได้ประโยชน์กว่า
  5. อาจารย์บางท่าน เน้นประโยชน์ทางการเงินมากกว่าการทำงานให้กับชุมชน โดยการทำงานแบบที่ปรึกษาที่ได้ผลประโยชน์มากกว่า ที่จะทำงานให้กับชุมชน ที่ไม่ได้ผลตอบแทนทางการเงินและยังอาจจะต้องเสียเงินไปช่วยชาวบ้านอีกด้วย
  6. อาจารย์บางท่าน ไม่กล้ายอมรับข้อด้อยของตนเอง คิดว่าตนเองเก่ง โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับชาวบ้าน ซึ่งในความเป็นจริงชาวบ้านก็มีจุดเด่นหลายๆ เรื่องกว่านักวิชาการในมหาวิทยาลัย ทำให้เขายอมรับไม่ได้ ที่ชาวบ้านจะเก่งกว่าตนเองในเรื่องหนึ่งเรื่องใด จึงไม่มีความสุขกับการทำงานกับชาวบ้าน
  7. อาจารย์บางท่านไม่มีความพร้อมที่จะเสียสละทำงานให้กับชุมชน ไม่เตรียมตัวเองทั้งในเชิงความรู้และทรัพยากรที่จะไปทำงานร่วมกับชุมชน ที่ต้องมีความอ่อนตัว ทำงานได้ทุกเวลาและสถานที่ โดยไม่ติดกรอบระบบราชการ
  8. และมีอาจารย์อีกจำนวนมากที่ติดกรอบ ระเบียบ การเดินทาง และการเงินของระบบราชการ ที่ทำให้ไม่มีความคล่องตัวพอที่จะทำงานกับชุมชน ที่ไม่มีระบบแบบเดียวกับระบบราชการ
  9. ฯลฯ

ใครอยากเพิ่มเติมประเด็นไหนอีกกี่ข้อ เชิญเลยครับ

ขอขอบคุณล่วงหน้า..
หมายเลขบันทึก: 66526เขียนเมื่อ 11 ธันวาคม 2006 20:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 22:37 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (15)
  • ผมว่าอย่างน้อยการออกแบบการจัดการเรียนการสอนในแต่ละรายวิชาของอาจารย์ผู้สอน ควรกำหนดเงื่อนไขชิ้นงานให้นิสิต/นักศึกษา ได้มีโอกาสได้ร่วมกับชุมชนบ้าง ถึงแม้อาจารย์จะไม่มีส่วนร่วมโดยตรงก็ตาม
  • เพราะถ้าอาจารย์ต้องให้คะแนนในส่วนงานนี้ก็คงต้องมีบ้างที่ต้องไปเรียนรู้จากชุมชน 

คุณกัมปนาท ครับ

ผมว่าประเด็นใหญ่อยู่ที่ความตั้งใจของอาจารย์ที่จะไปทำงานร่วมกับชุมชนครับ ต่อให้ใครมาบีบบังคับอย่างไร อาจารย์ไม่ไปซะอย่างก็ไม่ work ครับ

ประเด็นสำคัญที่ผมเสนอ คือ ทุกมหาวิทยาลัยต้องการเห็น แต่แทบไม่มีมหาวิทยาลัยสนับสนุน

อย่างเช่นผมเป็นต้น กว่าจะได้ทำงานกับชุมชนต้องฝ่าด่าน ปัญหาสารพัด ถูกก่อกวนแบบคลื่นใต้น้ำทุกรูปแบบ ขนาดผมสนใจนะครับนี่ ถ้าคนไม่สนใจล่ะครับ ก็ถือเป็นข้ออ้างแหล่ะครับ เช่น ไม่มีรถ ไม่มีคนขับ ไม่มีงบประมาณ ไม่มีเวลา ทีมงานไม่พร้อม ฯลฯ แล้วก็สบายครับ....ไม่ต้องทำอะไรเลย อยู่เฉย ๆ ก็รับเงินเดือนเท่าเดิมครับ ทำให้เหนื่อยทำไม? ใช่ไหมครับ

ผมถึงไม่ค่อยอยากมองไงครับ ผมก็ทำของผมไปเรื่อยๆ ปิดทองหลังพระไป ใครไม่รู้ก็ไม่เป็นไร เราทำเรารู้เอง ความสุขอยู่ที่ตัวเราครับ ไม่ใช่คนอื่นนำมาให้ ใช่ไหมครับ

คำตอบทั้ง 8 ข้อ ที่อาจารย์ถามว่าทำไมอาจารย์มหาวิทยาลัยจึงไม่ค่อยทำงานกับชุมชน ก็คงจะเป็นชุดตอบเดียวกันกับคำถามที่ว่าทำไมกลุ่มนั้นกลุ่มนี้(เฉพาะอย่างยิ่งราชการที่มีวัฒนธรรมองค์กรที่แข็งโปะ)ไม่ค่อยทำงานกับชุมชน หรือเปล่าครับอาจารย์ ขอบคุณครับอาจารย์ที่ตั้งโจทย์ให้ได้ฉุกคิดกัน

ครูนงครับ

ขอบคุณครับที่ตั้งประเด็น

ปัญหาใหญ่อยู่ที่เราต้องรู้ขีดจำกัดเพื่อหาทางลด ไม่ใช่รวบรวมเฉยๆ นะครับ

อันนี้ผมอ่อยให้คิดครับ

   ทำไมอาจารย์มหาวิทยาลัย

   จึงไม่ค่อยทำงานกับชุมชน

  ขอตอบแบบไม่เกรงใจสักวันเถอะ

  เพราะอาจารย์มหาวิทยาลัย ไม่กล้าก้าวออกจากรั้ว

  มหาวิทยาลัย 

1 กลัวดอกพิกุลร่วง

2 กลัวคนจับไต๋ได้ ว่าตนเองรู้แค่ครึ่งเดียวแบบนกแก้ว

3 ไม่มีประสบการณ์

4 ไม่มีเพื่อนไม่มีการเตรียมสนามเรียนรู้และทำวิจัย

5 เข้าใจผิดว่า มีหน้าที่สอนเด็กในห้องอย่างเดียว

6 ไม่ดูตาม้าตาเรือ ว่าประเทศอื่นเขาไปถึงไหน

7 ทำงานเชิงรุกไม่เป็น จึงลุกจากเก้าอี้ยาก

8 มีแผ่นใสแผ่นเดียว ปิ้งมา15 ปี ก็สอนได้

9 ใครๆก็ทำอย่างเดียวกัน จะออกไปชุมชนทำไม

10 ไม่กล้าสู่กับสิ่งยาก

11 ไม่มีมิติทางสังคม

12 ไม่ร่วมทุกข์ร่วมสุขกับสังคม

13 ไม่เอาปัญหาสังคมมาสอน

14 สอนยังไงก็ไม่มีใครมาไล่ออก

15 เด็กไทยใจดี สอนยังไงก็ได้ ไม่โวยวาย

16 มหาวิทยาลัยอ่อนแอ แถมยังไม่เห็นชุมชนอยู่ใน

    สายตา

17 ไม่รับผิดชอบหน้าที่เท่าที่ควร

18 เอ๊ะ! จารย์แหวง หาเรื่องให้ผมไปมหาวิทยาลัย

   ไหนไม่ได้อีกแล้วกระมัง! ทีหลังอย่าตั้งโจทย์แบบนี้

   เลย  แม่ยายขอร้อง !

 

อาจารย์มหาวิทยาลัย
เรียน ดร.แสวง และครูบา สุทธินันท์ ผมเป็นคนหนึ่งครับที่ทำมาหารับประทานกับการสอนในมหาวิทยาลัย ผมไม่เชื่อว่าทุกคนจะเป็นอย่างที่ครูบา กล่าวถึงอย่างนั้นทุกคน คนดี คนชั่วมีทุกวงการ คนเห็นเงาตัวเองและหลงเงาตัวเองก็มีมาก คนฉลาดแกมโกงก็มีให้เห็นเยอะในสังคมไทย คนดูอีกด้านหนึ่งเสียสละแต่ใจและการกระทำคดโกงต่ำช้าก็มีในทุกระดับ...ผทคิดว่าท่านทั้งสอง คงต้องเปิดใจครับ...อย่าเพิ่งด่วนสรุปภาพที่ท่านยังเห็นไม่ชัดทั้งหมดครับ...เอวัง
นี่เป็นการติเพื่อก่อครับ ขาดอะไรเติมได้ครับ หรือผมเขียนไม่ตรงตรงไหนก็ comment ได้ครับ เสียดายที่ท่านซ่อน ID ไม่งั้นผมจะขอความรู้จากท่านเพิ่มเติมอีกครับ
  • ดิฉันเห็นด้วยอย่างยิ่งค่ะกับท่านอาจารย์ เนื่องจากดิฉันเห็นนักวิชาการบางท่านเหมือนอยู่บนหอคอยงาช้าง ไม่เคยที่จะลงมือหรือลงพื้นที่ แต่เพียงตั้งทฤษฎีซึ่งเป็นแนวปฏิบัติโดยไม่สอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการที่แท้จริงของประชาชน

 

ขอต่ออีกนิดนะท่านอาจารย์ฯ เราไม่ได้หมายความว่าทุกคนเป็นอย่างนั้น แต่ทำไมไม่ทำตามหน้าที่ที่สังคมรอคอยด้วยความหวังจากมหาวิทยาลัยละครับ ท่านตืดขัดอย่างไรก็น่าจะเอามาคุยกัน เราไม่ได้ว่าใครเลวเลย ครูบาเพียงแต่แจงจากประสบการณ์บางส่วนที่ท่านพบเป็นกรณีๆ ไป และคงไม่หมายว่าทุกคนเนเช่นั้นสักหน่อยนะครับ กรุณามองด้วยใจสะอาด และเป็นธรรม ท่านจะเข้าใจสัจธรรมข้อนี้ครับ

ครูบาเสนอว่า "ดีกว่าไปทำเรื่องมหาวิทยาลัยออกนอกระบบอีก  เราจะพูดได้ว่า แค่เอาอาจารย์ออกจากห้องไม่ได้ เรื่องเอามหาวิทยาลัยยิ่งตลกกว่า"

ท่านว่าอย่างไรครับ

ขอบคุณคุณดวงเด่นที่สนับสนุนครับ

  ช่วงนี้  มีข่าวเรื่องให้มหาวิทยาลัยออกนอกระบบ แต่รัฐก็ยังโอบอุ้ม ดูและ ตามสมควร แต่ก็ยากเพราะเป็นเรื่องใหม่ อาจารย์หลายคนต่างคนต่างคิด รัฐบาลเองก็แจงไม่กระจ่างว่ามูลเหตุจริงๆนั้นเป็นฉันใด

   เรื่อง มหาวิทยาลัยออกไม่ออก เป็นเรื่องใหญ่โต ทั้งๆที่มหาวิทยาลัยเอกชนเขายีนหยัดอยู่ได้ และต่อสู้กับปัญหาไม่น้อยเลย 

  เรื่องมหาวิทยาลัยก็ส่วหนึ่ง เรื่องที่อยากให้อาจารย์ปรับการสอนภาคทฤษฏีบ้าง ยกตัวอย่างสมัยอาจารย์ป๋วย  สนับสนุนให้อาจารย์และนิสิตลงไปศึกษามิติทางสังคม เรียนรู้สังคม รู้ร้อนรู้หนาวกับสังคม เวลาบ้านเมืองเกิดวิกฤติก็จะคิดโจทย์ออกว่า มันเป็นเพราะอะไร สังคมไทยมันถึงถูกลอยเพ หาจุดร่วมไม่เจอ

ผมเห็นอานุภาพของอาจารย์ที่ลงมาทำงานกับชุมชนมาก เรามีพันธมิตรวิชาการอยู่ในหลายมหาวิทยาลัย เห็นช่องทางที่วิชาการจะออกไปสร้างความเจริญให้กับชุมชนและสังคมภายนอก  ครูอาจารย์และเด็กๆจะได้บทเรียนที่มีชีวิต

  ประสบการณ์ส่วนนี้อาจจะช่วยไม่ให้เด็กตกงาน

  ผมเชื่อว่า อาจารย์ดีๆในมหาวิทยาลัยมีเยอะ ที่รู้จักก็ไม่น้อย ที่เสนอเชิงประเด็นเพื่อแสดงว่าที่กล่าวถึงนั้นก็มีบ้าง ถ้าจะกล่าวหากันแบบเด็กอมมือ ผมมีกรณีตัวอย่างชัดๆของจริงเสียงจริงเยอะ ที่อาจารย์ในมหาวิทยาลัยเล่าให้ฟังเองนั่นแหละ แต่เห็นว่าไม่มีประโยชน์ที่จะไปฟื้นฝอยหาตะเข็บ

  ผมอยากชวนอาจารย์มหาวิทยาลัยลงมาทำวิจัยกับชุมชน วิชาการมันจะมีชีวิตชีวา คุณภาพบัณฑิตของเราจะแข่งขันกับประเทศอื่นๆได้สบายมาก อย่าไปเครียดกับเรื่องนี้เลย  ถ้ารับไม่ได้ก็ขออภัย   

ขอบคุณครับที่ช่วยหามเข้ามุมครับ

สวัสดีครับท่านอาจารย์ดร.แสวงที่เคารพ ผมมีสาเหตุอีกสองประการมาฝากครับ ว่าทำไมอาจารย์มหาวิทยาลัยถึงไม่ออกไปทำวิจัย สาเหตุหรือนิยามให้แนวคิดของผู้บริหารนี้ เป็นสิ่งปิดกั้นที่ทำให้อาจารย์ไม่อยากจะออกไปไหนหรือแม้กระทั่งจะไปทำให้เกินคำสั่งหรือภาระหน้าที่หลักครับ 1. "คุณเอาเวลาไหนไปทำ ต้องหนีสอนไปทำแน่เลย" 2. ปรัชญาที่ว่า "คนเรามีความสามารถจำกัด งานประจำก็เยอะอยู่แล้ว ถ้าคุณมีเวลาไปทำวิจัยหรือทำงานอย่างอื่น แสดงว่าคุณหลบเลี่ยง หลีกหนีจากงานประจำ หรือทุ่มเทให้กับงานประจำอย่างไม่เต็มที่" อาจารย์อ่านแล้วคิดว่าเป็นอย่างไรบ้างครับ เราควรแก้ไขหรือทำอย่างไรถึงจะอยู่ได้ในสังคม (เสมือน) อุดมปัญญาแบบนี้ครับ

ถ้าระดับมหาวิทยาลัย ไม่ค่อยมีปัยหาเรื่องนี้หรอกครับ

ถ้าจะมีก็เป็นข้ออ้างที่จะไม่ทำงานมากกว่า

  • นั่นน่ะสิครับท่านอาจารย์
  • ระดับมหาวิทยาลัยเขาไม่มีปัญหาจริง ๆ ครับ แต่สถาบันที่เพิ่งเปลี่ยนมาเป็นมหาวิทยาลัย ยังประสบปัญหาแบบนี้อยู่เลยครับ
  • อยากให้ทุกมหาวิทยาลัยมีแนวคิด "การวิจัยแบบมหาวิทยาลัย" แบบนี้จังเลยครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท