จะสอน How หรือจะสอน Why


วันนี้ผมคลิกๆ อ่านข่าวไปเรื่อยๆ จนถึง MathForge.net ก็อ่านไปจนชน "How to manually find a square root " ทำให้ผมนึกเลยไปถึงอุปมาเปรียบเทียบของ OLPC เรื่อง "The QWERTY Story "

ในอุปมาเปรียบเทียบกล่าวไว้ว่า "อะไรบางอย่างที่เราออกแบบเพื่อแก้ปัญหาในอดีต เมื่อปัญหานั้นผ่านไปแล้ว บางครั้งสังคมมนุษย์ก็ยังติดอยู่กับวิธีการแก้ปัญหานั้น จนไม่สามารถคิดใหม่ในแนวทางก้าวหน้าได้"

ลองอ่านดูในรายละเอียดนะครับ ผมอยากแปลให้อ่านเหลือเกินแต่เวลาก็มีไม่พอที่จะทำครับ

เมื่อนึกโยงเกี่ยวกับการถอดรากที่สองของตัวเลขแล้ว ผมเองในปัจจุบันไม่มีความสามารถทำได้ด้วยมือแล้ว เมื่อไหร่ก็ตามผมต้องถอดรากตัวเลขตัวไหน สิ่งที่ผมทำก็คือพิมพ์ประโยคต่อไปนี้ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ของผม

python -c "import math; print math.sqrt(46656)"

ผมก็ได้คำตอบที่ผมต้องการภายในเสี้ยววินาที

การที่ผมไม่มีความสามารถถอดรากด้วยมือ (how) แล้ว ไม่ได้หมายความว่าผมไม่สามารถใช้ประโยชน์จากคณิตศาสตร์นะครับ ที่จริงแล้วผมใช้คณิตศาสตร์ทำงานทุกวัน ที่ผมทำได้เพราะผมรู้ที่มาที่ไปของมันผมจะใช้มันทำอะไรให้ผมได้บ้าง (why)

ที่น่าสนใจคือผมเรียน why ของคณิตศาสตร์นอกห้องเรียน ส่วนในห้องเรียนนั้น เท่าที่ผมจำได้คือการฝึก how ของคณิตศาสตร์เท่านั้นเอง

ประโยคที่ผมใช้ในการหารากที่สองของ 46656 นั้นเป็นภาษา Python ซึ่งจะมาพร้อม OLPC ครับ

จะสังเกตว่า "วิถี" ของการเข้าถึงคณิตศาสตร์ด้วย Python นั้นจะแตกต่างกับ "วิถี" ที่เรารู้จักกัน

เด็กในอนาคตจะเห็นประโยคข้างบนเป็นสิ่งธรรมดา เหมือนกับผู้ใหญ่รุ่นพวกเราเห็นเครื่องหมายรากที่สองเป็นสิ่งธรรมดานั่นละครับ นั่นคือ mathematical expressions/notations จะเปลี่ยนไปครับ เปลี่ยนไปทางที่เข้าใจง่ายขึ้นนะครับ

ผมเชื่อว่าถ้าใช้ OLPC นักเรียนก็จะได้ใช้เวลาศึกษา why ของคณิตศาสตร์มากขึ้น แต่ถ้าเราไม่สนับสนุนการใช้ OLPC เสียแล้ว เราก็ยังอยู่ในยุคของการเรียนรู้ how ของคณิตศาสตร์เหมือนเดิม

คงไม่มีใครอยากเห็นลูกหลานนั่งฝึกวิธีถอดรากที่สองบนกระดาษแต่ไม่ได้ใช้งานในชีวิตจริงใช่ไหมครับ ถ้าอย่างนั้นเราคงต้องช่วยกันส่งเสียงให้พัฒนาการด้านการศึกษาของไทยคิดที่จะพัฒนาแบบก้าวกระโดดบ้างดีไหมครับ
หมายเลขบันทึก: 66518เขียนเมื่อ 11 ธันวาคม 2006 19:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 พฤษภาคม 2012 23:07 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

นานๆ ถึงจะเข้ามาอ่านที เลยเข้ามาดูในสารบัญ เลยต่อเนื่องให้ คลิกอ่านไปเรื่อยๆ

มาถึงเรื่องนี้ เห็นตัวเลข ที่อาจารย์ยกตัวอย่างมา คณิตศาสตร์ของผมไม่ค่อยจะแข็งแรงสักเท่าไร แต่ก็นึกขึ้นมาว่า ถ้าเป็นผม ผมจะทำวิธีนี้ ...

46656 เลขมันหลักหมื่น

10000 เท่ากับ 100 คูณ 100

40000 กว่า มันก็ 4 คูณ 100 คูณ 100

เพราะฉะนั้นรากมันก็ 200 กว่า

ถ้า 25 คูณกับ 25 ได้ 625 เพราะฉะนั้น 250 คูณ 250 ก็จะได้ หกหมื่นกว่า ... มากไป เพราะฉะนั้นมันต้องมากกว่า 200 น้อยกว่า 250

...

ประมาณนั้น 

ซึ่งถ้าใช้กระดาษในการคำนวณ น่าจะใช้เนื้อที่เยอะกว่า แต่เข้าใจง่ายกว่า และ ใช้ได้ดีกว่า ในชีวิตประจำวัน (ซึ่งก็ไม่ค่อยได้ใช้สักเท่าไหร่) 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท