พัฒนาศักยภาพในการทำงานวิจัยของคณาจารย์ มมส # 3


การวิจัยไม่ได้สักแต่ว่าทำ แต่ทำเพราะมองเห็นประโยชน์

ครับสำหรับวันนี้ ก็กะว่าจะมาต่อยอดจากเดิม แรกเริ่มเดิมนี้วันนี้เป็นวันหยุด ผมกะจะพักผ่อนอยู่ที่หอพักครับ แต่ไปๆมาๆ ยังไงไม่รู้ กำลังชมรายการทีวีในวันหยุดดีดี ไฟก็เกิดดับขึ้นมา สำหรับผมแล้ว ถ้าเป็นอย่างนี้ให้ผมอยู่เฉยๆรอให้ไฟมาตามปกติไม่ได้ครับ ก็เลยแวะเข้าที่ทำงานและก็รวบรวมเรื่องราวที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 8 ธ.ค. 49 ในงานพัฒนาศักยภาพในการทำงานวิจัยของคณาจารย์ มมส.

เรื่องที่จะมาเล่าวันนี้ต้องขอออกตัวก่อนว่า ผมคงสรุปได้เพียงบางช่วงบางตอนเท่านั้น เนื่องจากว่ามีบาทบาทหน้าที่ 2 อย่าง ในคนเดียวกันและเวลาเดียวกัน คือ บทบาทที่ 1 เป็น ฝ่ายสถานที่และโสตทัศนูปกรณ์ และอีกบทบาทคือ คุณลิขิต (MSU-KM Team)  ซึ่งก็เป็นข้อจำกัดในการฟังอย่างลึก (Deep Listening) เพราะต้องเดินไปๆมาๆอยู่เป็นระยะๆ อย่างไรก็ตามท้ายบันทึกนี้ผมก็มีไฟล์ข้อมูลมาประกอบด้วยเพื่อให้ท่านผู้อ่านได้มีการ ลปรร. บ้าง

ในช่วงเช้าผมก็ได้ฟังบรรยายของท่าน ศ.ดร.ดวงเดือน พันธุมนาวิน หัวข้อ การเขียนเค้าโครงวิจัยให้ได้ทุนและเป็นเลิศ ซึ่งท่านอาจารย์เองก็พยายามให้เป็นบรรยากาศแบบ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้จริงๆ แต่ผู้เข้าร่วมกิจกรรมก็ไม่มีใครซักถามหรือแสดงความคิดเห็นเลย   ผมสรุปประเด็นหลักๆ บางส่วนได้ดังนี้ครับ

-  การวิจัยไม่ได้สักแต่ว่าทำ แต่ทำเพราะมองเห็นประโยชน์

-  การแสวงหาความจริง (ไม่ใช่เท็จ) อะไรสิ่งหนึ่ง เกี่ยวข้องกับ อะไรที่สอง เช่น การมาตรงต่อเวลาในการฟังบรรยาย มีผลต่อ ความกระตือรือร้นในการทำวิจัย ใช่หรือไม่ (WHAT)

-  การตีความ ข้อความจริงเหล่านั้น  เป็นสิ่งที่ต้องทำโดยมนุษย์เท่านั้น เช่น  สาเหตุที่เกิดขึ้นเช่นนั้น ก่อให้เกิดผลอะไร (WHY)

-  การวิจัย ต้องตอบทั้ง WHAT และ WHY

-  การวิจัย ใช้กระบวนการ/วิธีการทางวิทยาศาสตร์

-  หัวข้อเค้าโครงการวิจัยเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องนำเสนอ เพื่อแสดงให้เห็นว่า เรามีความพร้อมในการทำวิจัย

ไฟล์ข้อมูลประกอบ

1.  Presentation ศ.ดร. ณรงค์ฤทธิ์  สมบัติสมภพ (บรรยายในวันที่ 7 ธ.ค. 49)

2.  Presentation ศ.ดร. ดวงเดือน  พันธุมนาวิน

3.  เสียงบรรยาย ศ.ดร. ดวงเดือน  พันธุมนาวิน

3.1 ว่าด้วยเรื่อง การวิจัย

3.2 ว่าด้วยเรื่อง หัวข้อของเค้าโครงการวิจัย

3.3 ว่าด้วยเรื่อง ความน่าเชื่อถือของงานวิจัย

ปัจจัยสู่ความสำเร็จ (KSF)

-  การประมวลเอกสารที่เกี่ยวข้องให้มากๆ ทั้งปริมาณและคุณภาพ และต้องเป็นเอกสารที่ตีพิมพ์ในระดับนานาชาติ

-  ปรึกษาผู้รู้ ผู้มีประสบการณ์ ผู้เชี่ยวชาญ รวมทั้งอาจให้เพื่อนช่วยวิจารณ์

-  ความทุมเท ความพยายามในการทำวิจัย

ในโอกาสต่อไป คงจะได้มี Version สรุปจากการจัดกิจกรรมครั้งนี้ของ MSU-KM Team ครับ

หมายเลขบันทึก: 66490เขียนเมื่อ 11 ธันวาคม 2006 14:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 เมษายน 2012 00:50 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)
  • ได้เข้าฟัง ศ.ดร.ดวงเดือน ในช่วงท้ายๆ รู้สึกว่าท่านบรรยายละเอียดดีนะคะ
  • ถึงแม้จะทำงานหลายอย่างพร้อมกัน แต่พี่กล้วยก็ทำได้ดีนะคะ
  • ขอบคุณสำหรับข้อมูลค่ะ
  • ขอให้มีความสุขและสนุกกับการทำงานต่อไปนะคะ
  • เยี่ยมครับกล้วยสามารถใส่หมวกได้ตั้ง 2 ใบในเวลาเดียวกัน คำสั่งที่ทำให้ก็แปลกจะให้คนๆเดียวกันปฏิบัติหน้าที่ 2 อย่างในเวลาเดียวกัน
  • ถ้าเปรียบกับหมวกแล้วนั้นคนเราใส่ใบเดียวก็คงพอ ถ้าใครใส่ถึง 2 ใบ ก็ต้องพิจารณาตัวเองแล้วครับ (แซวเล่น)
  • ขอบคุณสำหรับเอกสารบรรยายของวิทยากรครับ
  • ขอบคุณมากค่ะคุณกล้วย
  • พี่อ้อsave ไว้แล้วส่วนหนึ่งนะคะ

อยากทราบมาก ๆค่ะว่า ถ้าเราทำงานวิจัยสักชิ้น เราจะทราบได้อย่างไรคะว่า งานวิจัยชิ้นนั้นมี "ความน่าเชื่อถือ" เอาอะไรมาวัดเอาอะไรมาเป็นเกณฑ์ในการตัดสินความน่าเชื่อถือของงานวิจัยคะ

ขอบคุณค่ะ ^_^

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท