หน้าที่ของ ทฤษฎีเชิงประจักษ์


ทฤษฎีเชิงประจักษ์ (Empirical Theory) มีหน้าที่ " อธิบาย "  (Explanation),  และ "พยากรณ์ "(Prediction)   เช่น

ทฤษฎีวิกลจริต  กล่าวว่า  "การวิกลจริตเกิดจากความขัดแย้ง (Conflict)  ระหว่าง อีโก (Ego)  กับ โลกแห่งความเป็นจริง (Real World)"

ถ้าเราพบนายแดงแต่งตัวมอมแมม นั่งอยู่ใต้ต้นไม้  ทำท่ากวักมือเรียกใครคนหนึ่ง  และพูดว่า  " พ่อขุนรามคำแหง  ท่านหายหน้าไปไหนมา  เข้ามานั่งคุยกันก่อนซี "  เราก็คิดว่าเขาเป็นบ้า

ถ้าเราพูดว่า  " นายแดงแยกไม่ออกระหว่างความจริงในโลกจริงว่า  ไม่มีพ่อขุนรามคำแหงอีกแล้ว  เพราะพระองค์ท่านได้จากโลกนี้ไปนานแล้ว กับ โลกแห่งความหลอน ที่คิดว่ายังมีพระองค์ท่านอยู่ตรงนั้นจริงๆ   ดังนั้นจึงทำให้เขาคืดผิดปกติไป  และเราเรียกว่า เขาเป็นบ้า "  คำกล่าวนี้เรียกว่า  "คำอธิบาย"   โดยเราอธิบายตามคำกล่าวของ ทฤษฎีวิกลจริตที่กล่าวข้างบนนี้

ถ้าเราสังเกตเห็นว่า  นายดำมีพฤติกรรมสับสนระหว่างโลกแห่งความจริงกับโลกแห่งความเพ้อฝันบ่อยๆ  เราก็ " พยากรณ์ " ว่า  นายดำจะเป็นบ้าในอนาคตอันใกล้

 

คำสำคัญ (Tags): #explanation#prediction
หมายเลขบันทึก: 66421เขียนเมื่อ 10 ธันวาคม 2006 23:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 05:01 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท