"ขยะ" ที่เหลือจากการพัฒนาชนบท


บ่อเลี้ยงปลา ขยะการพัฒนาชนบท

วันที่ 6-8 ธันวาคม 2549

ดิฉันได้มีโอกาสไปที่ อ.กุฉินารายณ์ จ. กาฬสินธ์ งานที่ไปทำจริงๆ คือ ทำ EIA ให้กับโรงงานน้ำตาลที่นั่น ที่เค้ามีโปรเจคจะทำโรงงานผลิตเอธานอล

แต่สิ่งที่ดิฉันไปพบไปเจอ ไม่เกี่ยวกับงานที่ไปทำหรอกนะคะ มันเป็นความบังเอิญมากกว่า เนื่องจากว่า ดิฉันต้องสำรวจชุมชน 7 หมู่บ้าน รอบๆ โรงงาน จากการเดินไปคุยกับบ้านนั้น บ้านนี้ ซึ่งก็ดีนะคะ ชาวบ้านทุกคนให้ความร่วมมมือ ร่วมแสดงความคิดเห็นดีมาก แต่มีสิ่งหนึ่งที่ดิฉันสะดุดตา และก็แปลกใจมากๆ ก็คือ บ่อซีเมนต์ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 เมตร ดิฉันเดินไปบ้านใหนๆ ก็เจอ ก็เริ่มเอะใจ ว่า ทำไม ทำไม ถึงมีกันแทบทุกบ้านเลย  จากกนั้นก็เเปลี่ยนประเด็นคุยสิคะ  จากการทำงานอยู่ดีดี ก็เปลี่ยนเรื่องคุยซะงั้นเลย (เนี้ยแหละ กัลยา)

ผลสรุปจากการคุยนอกประเด็นการทำงาน ชาวบ้านบอกว่า สิ้งนี้ คือ ขยะที่เหลือจากการพัฒนาชนบท ในสมัยนั้น (สมัยใหนก็ช่างเถอะเนาะ เราจะไม่กล่าวถึง ณ ที่นี้)

ความจริง ณ ตอนนั้นที่มีคนเอาบ่อซีเมนต์นี้มาแจกชาวบ้าน ก็เพื่อส่งเสริมการเลี้ยงปลาในบ่อ และเลี้ยงไว้ประจำบ้านของชาวบ้าน (ประมาณว่า ส่งเสริมแหล่งอาหารโปรตีนในครัวเรือน)

แต่คนที่นำความคิดนี้มาส่งเสริม ลืมคิดที่จะศึกษาวิถีชีวิตปลา ลืมไปว่า ปลาชอบอยู่อย่างไร กินอย่างไร (หรืออาจจะไม่ลืมก็ได้ แต่ไม่สนใจต่างหาก) ทำให้เกิดโครงการสั่งซื้อบ่อซีเมนต์ขนาดใหญ่ แจกชาวบ้านครัวเรือนละ 1 บ่อ (คิดดูสิว่า มันจะเป็นเงินสักกี่มากน้อย เพราะเวลาเค้าคิดโปรเจค เค้าไม่คิดทำทีละจังหวัดอยู่แล้ว เค้าคิดทำกันเป็นภูมิภาคกันเลย ภาคอีสานมีกี่จังหวัดล่ะที่นี้? ..เฮ้อ...)

ชาวบ้านบอกว่า ตั้งแต่ได้บ่อมา บางคนก็เลี้ยงปลา แต่ไม่ถึงเดือนปลามันก็ตาย เลี้ยงไม่ได้ เลี้ยงไม่โต ก็เลยต้องล้มเลิกโครงการ แต่มีบางคนบอกว่าตั้งแต่ได้บ่อมาไม่เคยเลี้ยงปลาเลยสักตัวเดียว

 แต่ก็ใช่ว่า บ่อ ที่ได้มา จะไม่เป็นประโยชน์สำหรับชาวบ้านซะที่เดียวนะคะ ชาวบ้าน เค้าก็ประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับพื้นที่ กับประโยชน์ที่ควรจะเกิดขึ้นได้ โดยบางคนเอาไปกระเทาะก้นบ่อออก แล้วทำเป็นที่ปลูกผักสวนครัว บางคนเอามารองน้ำใช้ล้างถ้วย รองน้ำเพื่อใช้เป็นที่ล้างมือ ล้างเท้า................(น่าเสียดายเงินงบประมาณเนาะ) จริงๆ แล้วโครงการพัฒนาต่างๆ ที่ไม่ประสบความสำเร็จ ไม่ได้รับการยอมรับก็ไม่แปลก แต่คงต้องมีสักเล็กน้อยบ้างสิ ที่โครงการนี้สามารถเกิดขึ้นได้จริง นำไปใช้ได้จริง

การพัฒนาใดๆ ที่นักวิชาการคิดว่าดีแล้ว ถูกแล้ว แต่ลืมนึกถึงสภาพความเป็นจริงตามธรรมชาติ สภาพจริงของวิถีชีวิตไม่ว่าจะของใคร หรือ อะไรก็แล้วแต่  การพัฒนานั้น ก็สูญเปล่า สิ้นเปลืองทั้งเวลา เงินงบประมาณ  สุดท้ายก็เหลือเพียง "ขยะการพัฒนา"

 

 

คำสำคัญ (Tags): #ขยะการพัฒนา
หมายเลขบันทึก: 66367เขียนเมื่อ 10 ธันวาคม 2006 15:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 พฤษภาคม 2012 02:31 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ยังมีขยะอีกมากมายในชนบทครับ

โรงงานน้ำตาลแถว อ.วังสามหมอ จ. อุดรธานี ใกล้ๆรอยต่อ จ.กาฬสิินธุ์ ก็น่าไปทำ EIA นะครับ ไม่ทราบไปกันหรือยัง เห็นพึ่งเปิดใหม่ไม่นานนี้

 

ขอบคุณครับ ที่นำเรื่องเล่าจากกาฬสินธุ์มาบันทึกไว้

  • รู้สึกแย่จัง
  • ระบบการพัฒนาบ้านเราไม่ได้ดูที่ความต้องการของชาวบ้าน หลวงคิดเอง เออเอง พอหมดอำนาจสิ่งที่เหลือก็อยู่กับชาวบ้าน ไม่ทรายว่าทำไมรัฐบาลไม่ฟังความคิดเห็นของชาวบ้านแล้วค่อยสนับสนุน
  • ไม่ใช่สั่งให้ชาบ้านทำ เสียดายงบประมาณมากเลย
  • ขอบคุณมากครับที่เก็บมาเล่าให้ฟัง

คุณบอน ค่ะ

  • ขอบคุณนะคะที่ร่วมแลกเปลี่ยน การได้ไปที่ต่างๆ ก็เห็นอะไรแปลกๆ ดีเหมือนกันนะคะ
  • การทำ EIA จะทำได้ก็ต่อเมื่อเค้าให้ไปทำนะค่ะ และต้องเป็นไปตามกฏหมายบังคับนะคะ ซึ่งโดยทั่วไป โรงงานที่จะสร้างขึ้น ต้องทำ EIA ก่อนสร้างอยู่แล้วค่ะ

 

อ ขจิต

  • ขอบคุณนะคะ ที่ร่วมแลกเปลี่ยน
  • มีหลายอย่างที่เป็น ขยะ ที่คนเรา ส่วนใหญ่ไม่ค่อยรู้เรื่อง ไม่เห็น และคนส่วนใหญ่ก็ไม่อยากจะกล่าวถึง
  • จริงๆ แล้ว มันคือ บทเรียนการพัฒนา  เราน่าจะนำมเป็นบทเรียนเพื่อนาคตมากกว่า จริงมั้ยค่ะ
ที่บ้านผมก็มีแต่ใช้ทำปุ๋ยหมักกันครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท