การทำสวนในสมัยรัตนโกสินทร์


    ในสมัยรัตนโสินทร์พบว่า บริเวณที่ทำสวนกันมากได้แก่ บริเวณตั้งแต่กรุงเทพฯ ถึงนนทบุรี เมืองนครเขื่อนขันธ์ เมืองสมุทรปราการ เมืองนครไชยศรี เมืองฉะเชิงเทรา เมืองสาครบุรี เมืองสมุทรสงคราม เมืองราชบุรี และเมืองเพชรบุรี

ในการประกอบอาชีพทำสวน ชาวสวนจะถูกรบกวนจาก กา ค้างคาว และกระรอก กานั้นสามารถทำลายสวนได้ทั้งสวน ด้วยการกินผลไม้สุกจนหมดสวน ส่วนค้างคาวก็มีความร้ายกาจพอๆกัน

ปาลเลกัวซ์ บันทึกไว้ว่า ค้างคาวลงกินผลไม้ทีละตั้งร้อยตั้งพันตัว เวลาลงมาในสวนจะเห็นคล้ายเป็นก้อนเมฆดำทมึนยาวเหยียดหลายลี้ทีเดียว

สวนอีกประเภทหนึ่งที่มีหลักฐานปรากฏอยู่ในสมัยรัตนโกสินทร์คือสวนผัก ร.4 โปรดให้มีการเดินสวนทุกปี ทุกคราวที่เก็บอากรสวน ซึ่งเป็นการเปลี่ยนไปจากธรรมเนียมเดิมที่เมื่อเปลี่ยนแผ่นดินใหม่ 3 ปี จึงให้เดินสวน(เดินนาด้วย) ที่ทรงเปลี่ยนแปลงเพราะต้องการทราบข้อมูลให้ใกล้เคียงกับความเป็นจริง เพราะการที่ทิ้งไว้นาน ทำให้เกิดความเสียหายแก่ชาวสวนได้

(ธเนศ ขำเกิด ประมวลสรุปจากหนังสือ พื้นฐานวัฒนธรรมไทย. มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2555)

หมายเลขบันทึก: 663088เขียนเมื่อ 14 กรกฎาคม 2019 20:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 กรกฎาคม 2019 20:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท