๙๕๐. พระราชกระแสรับสั่ง...


· พระราชกระแสรับสั่ง พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล รัชกาลที่ 9 ทำให้ผมมีความรู้สึกว่า..การบริหารจัดการศึกษาของไทยนั้น ในความเป็นจริงก็ไม่น่าจะมีความยุ่งยากแต่ประการใด.

           บนถนนสายการศึกษา ผมเดินทางมาไกลพอสมควร ในวัย ๕๗ ปี ผมยังพอมีเวลาคิดถึงพระราชกระแสรับสั่งของพระองค์ท่าน และจะปฏิบัติต่อเนื่องไปจนกว่าจะเกษียณ   

        “ครูต้องสอนให้เด็กนักเรียนมีน้ำใจ เช่น คนเรียนเก่งช่วยติวเพื่อนที่เรียนล้าหลัง ใช่สอนให้เด็กคิดแต่จะแข่งขัน (Compete) กับเพื่อน เพื่อให้คนเก่งได้ลำดับดีๆ เช่น สอบได้ที่หนึ่งของชั้น แต่ต้องให้เด็กแข่งขันกับตนเอง” (11 มิ.ย. 55)

        “ครูไม่จำเป็นต้องมีความรู้ทางเทคโนโลยีมาก แต่ต้องมุ่งปลูกฝังความดีให้นักเรียนชั้นต้น ต้องอบรมบ่มนิสัยให้เป็นพลเมืองดี เด็กโตก็ต้องทำเช่นกัน” (6 มิ.ย. 55)

        “เราต้องฝึกหัดให้นักเรียนรู้จักทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มเป็นหมู่คณะมากขึ้น จะได้มีความสามัคคีรู้จักดูแลช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ความรู้ และประสบการณ์แก่กัน” (5 ก.ค. 55) “

        “ทำเป็นตัวอย่างให้นักเรียนเป็นคนดี นักเรียนรักครู ครูรักนักเรียน” (9 ก.ค. 55)  

        “เรื่องครูมีความสำคัญไม่น้อยกว่านักเรียน ปัญหาหนึ่งคือการขาดครู เพราะ   จำนวนไม่พอ และครูย้ายบ่อย ดังนั้น ก่อนคัดเลือกเด็กที่จะพัฒนาต้องพัฒนาครูก่อน ให้พร้อมที่จะสอนเด็ก ให้ได้ผลตามที่ต้องการ จึงจะต้องคัดเลือกครูและพัฒนาครู ต้องตั้งฐานะในสังคมของครูให้เหมาะสม และปลูกจิตสำนึกโดยใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง วิธีการคือ การให้ทุนและอบรม กล่าวคือ ต้องมีความรู้ทางวิชาการในสาขาที่เหมาะสมที่จะสอน ต้องอบรมวิธีการสอนให้มีประสิทธิภาพ มีความเป็นครูที่แท้จริง คือ มีความรัก ความเมตตาต่อเด็ก ควรเป็นครูท้องที่เพื่อจะได้มีความผูกพันและคิดที่จะพัฒนาท้องถิ่นที่เกิดของตน ไม่คิดย้ายไปย้ายมา” (11 มิ.ย. 55)  

         “ต้องปรับปรุงครู ครูจะอายุ 40 - 50 ปี ก็ต้องเรียนใหม่ ต้องปฏิวัติครูอย่างจริงจัง (6 มิ.ย. 55) 

         “ปัญหาปัจจุบันคือ ครูมุ่งเขียนงานวิทยานิพนธ์ เขียนตำราส่งผู้บริหาร เพื่อให้ได้ตำแหน่ง และเงินเดือนสูงขึ้น แล้วบางทีก็ย้ายไปที่ใหม่ ส่วนครูที่มุ่งการสอนหนังสือกลับไม่ได้อะไรตอบแทน ระบบไม่ยุติธรรม เราต้องเปลี่ยนระเบียบตรงจุดนี้ การสอนหนังสือต้องถือว่าเป็นความดีความชอบ หากคนใดสอนดีซึ่งส่วนมากคือมีคุณภาพและปริมาณ ต้องมีReward” (5 ก.ค. 55)   

          “ครูบางส่วนเวลาสอนนักเรียนจะสอนไม่หมดแต่เก็บไว้บางส่วน หากนักเรียนต้องการรู้ทั้งหมดวิชา ก็ต้องเสียเงินไปสมัครเรียนพิเศษกับครูท่านนั้น จะเป็นการสอนในโรงเรียนหรือส่วนตัวก็ตาม” (5 ก.ค. 55)

         · พระราชกระแสรับสั่ง พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล รัชกาลที่ 9 ทำให้ผมมีความรู้สึกว่า..การบริหารจัดการศึกษาของไทยนั้น ในความเป็นจริงก็ไม่น่าจะมีความยุ่งยากแต่ประการใด..และ..

           การนำพระราชกระแสรับสั่ง มาใช้เป็นหลักการและนโยบายในการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนขนาดเล็ก ด้วยความเข้าใจ เข้าถึงและพัฒนาอย่างจริงจัง ก็เชื่อว่าจะนำพาให้สถานศึกษาอยู่รอดปลอดภัย..ไม่ต้องกังวลต่อการยุบควบรวมแต่ประการใด..

ชยันต์  เพชรศรีจันทร์

๒๕  มิถุนายน  ๒๕๖๒


หมายเลขบันทึก: 662261เขียนเมื่อ 25 มิถุนายน 2019 20:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 มิถุนายน 2019 20:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

มายืนยัน ว่าสิ่งที่ท่านทำ คือ โรงเรียนแห่งการพัฒนาที่ยั่งยืนอย่างแท้จริงครับ …. ส่วนเรื่องครู ในฐานะที่เกี่ยวกับการพัฒนาครู กำลังขับเคลื่อนสัมมาทิฏฐิที่ถูกต้องตามพระราชกระแสรับสั่ง เต็มที่ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท