ชมรมตามรอยเท้าพ่อ_ (๗) ศาตร์พระราชาแก้ไขและพัฒนาดินเค็ม


สัปดาห์ที่ผ่านมา นิสิตในชมรมเดินตามรอยเท้าพ่อ มาเล่าให้ฟังว่า พวกเขากำลังพัฒนาโครงการที่จะน้อมนำเอาศาสตร์พระราชาเพื่อนำไปแก้ปัญหาของชุมชน หลังจากที่แต่ละคนได้ไปเข้าร่วมอบรมของสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.) ... ผมสังเกตว่าพวกเขามี "ไฟ" ในใจเต็มพิกัด สิ่งนี้สำคัญ ใจใฝ่ลุยนี้เองที่เป็นใจใฝ่เรียน 


ในฐานะที่ปรึกษา ได้แนะนำว่าให้ไปลงลุยดูพื้นที่ก่อน โดยยึดเอาขั้นตอนการทรงงาน ๕ ประการ ได้แก่ 
  • ศึกษาข้อมูลอย่างเป็นระบบ
  • ลงพื้นที่ ศึกษาข้อมูลในพื้นที่
  • ศึกษาข้อมูลอีก แล้วจัดทำโครงการ (เขียนแผนในกระดาษ)
  • ดำเนินโครงการตามแผน
  • ติดตามประเมินผล
เข้าใจว่า นิสิตได้ศึกษาข้อมูลเบื้องต้นมาพอสมควร  จึงแนะนำให้ประชุมกันและนำเสนอข้อมูลกันอย่างเป็นระบบขึ้น และลงชุมชนใกล้ ๆ มหาวิทยาลัย ที่ผมรู้จักดีที่สุด บ้านดอนเวียงจันทน์ ... โดยนัดเวลาเป็นช่วงเย็นวันถัดมา (๗ มิ.ย.๖๒)

  • สัมภาษณ์ คุณแม่ของผู้ใหญ่บ้าน ท่านบอกว่า ท่านไปอบรมมายาวนานถึง ๑๕ วัน จากโครงการของรัฐ ที่กำลังขับเคลื่อนเรื่องการเกษตรอินทรีย์ในพื้นที่ 

  • ได้พบและสัมภาษณ์ ผู้ใหญ่เสี่ย ผู้ใหญ่บ้านบ้านดอนเวียงจันทน์  ท่านบอกว่า ปัญหาหนักหนาคือ เรื่อง ดินเค็ม น้ำเสีย และภัยแล้ง ...
  • นิสิตตัดสินใจว่าสนใจจะลองแก้ปัญหาดินเค็ม
  • ผู้ใหญ่เสี่ยจึงพาไปหาคุณยายเจ้าของนาที่มีปัญหา คุณยายบอกว่า ได้ปล่อยให้หลายชายเช่าทำงานมาหลายปีแล้ว 


  • พื้นที่นาตรงนี้มีปัญหาดินเค็มอย่างรุนแรง ปีที่แล้วชาวบ้านที่มาเช่า พยายามดำไป ๒ รอบ แต่ไม่ได้ผลผลิตเลย 
  • คุณยายเล่าว่า แต่ก่อนไม่เค็มขนาดนี้ แต่พอมีความเจริญเข้ามา มีการถมที่นาสวนในหมู่บ้าน และปรับแต่งพื้นที่รอบห้วยสายคอใหม่ ทำให้น้ำที่ไหลชะล้างดินในหมู่บ้านซึ่งเคยไหลผ่านไปลงห้วย ไหลไปขังในพื้นที่นาแปลงนี้  พอหลายปีเข้าจึงเค็มจัดอย่างที่เห็น 
  • ปัญหาคือมีน้ำขัง ยากจะปฏิบัติการศึกษาทดลองแบบหลากหลายเงื่อนไข ... นิสิตจึงไปสำรวจที่ใหม่ด้วย 

  • เมื่อวาน (๒๔ มิ.ย. ๖๒) ทีมชมรมบอกว่า ได้สถานที่ใหม่ ที่เหมาะสมกว่าในการปฏิบัติงานศึกษาทดลองพัฒนา อยู่ถัดจากวัดบ้านดอนสวน (หมู่บ้านถัดจากบ้านดอนเวียงจันทน์ไปทางทิศเหนือ) 
  • นิสิตได้ลงปักหลัก มาร์คหมายพื้นที่ไว้ดังในภาพ ลักษณะเป็นดินทรายเค็มจัด แม้แต่หญ้าก็ไม่สามารถขึ้นได้... เป็นปัญหาใหญ่ งานหิน มาก ๆ 


  • ครึ่งหนึ่งของแปลงนี้ มีต้นธูปฤาษีขึ้นได้บ้าง ท้าย ๆ ของแปลงนี้ชาวบ้านปลูกต้นกก ต้นไหล ไว้ทอเสื่อ ... ก็น่าจะเป็นอีกทางหนึ่ง 



  • แปลงดินข้าง ๆ ที่ติดกับแปลงเป้าหมาย  มีลางน้ำสาธารณะไหลผ่าน ดูสีน้ำแล้ว เป็นน้ำเสียที่ไหลจากชุมชนรอบมหาวิทยาลัย ... หากจะนำไปใช้คงต้องพิจารณากันอีกที
นิสิตแจ้งอีกว่า  ตอนนี้มีสมาชิกชมรมฯ กำลังศึกษาศาสตร์พระราชาเรื่องการแก้ปัญหาดินเค็ม ที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพาน จ.สกลนคร  ...  ผมรู้สึกตื่นเต้นที่จะได้เรียนรุ้กับเด็ก ๆ ผ่าน 3PBL นี้อีกครั้ง 

สุดท้าย ได้แนะนำให้นิสิต ลองศึกษาวิธีการนำศาสตร์พระราชาไปรักษาดินเค็ม ๓ ศาสตร์ ได้แก่  การห่มดิน การคัดเลือกพันธุ์พืช และการล้างดิน ที่ ดร.วิวัฒน์ ศัลยกำธร (อ.ยักษ์) ท่านอธิบายและสาธิตไว้ในคลิปด้านล่าง 



รอเชียร์ และติดตามตอนต่อไปครับ 
หมายเลขบันทึก: 662252เขียนเมื่อ 25 มิถุนายน 2019 10:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 ตุลาคม 2019 22:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

-สวัสดีครับอาจารย์-การเรียนรู้แบบ Learning by Doing ถือเป็นสิ่งที่ได้ผลจริงๆ ครับ-รู้แล้วทำดีกว่าทำแล้วไม่รู้นะครับ-น้องๆ คงได้ฝึกประสบการณ์ชีวิตในด้านต่างๆ อีกมากกับกิจกรรมนี้นะครับ-บ่อยครั้งที่มีโอกาสได้แบ่งปันเรื่องศาสตร์พระราชาจะมีความสุขมากๆ ครับ-เดี๋ยวนี้สิ่งที่เราต้องช่วยกันขับเคลื่อนนั้นก็คือ”การน้อมนำหลักการต่างๆ ลงมาสู่การปฏิบัติ”นะครับ-ขอเป็นกำลังใจให้กับทีมงานน้องๆ ด้วยนะครับ-รอติดตามกิจกรรมผ่านบันทึกของอาจารย์ครับ-ขอบคุณครับ

Big Cheers for those students who decided to have a go at solving real world problems. (I am sorry to simply do ‘ad lib’ here. But for what’s worth - I like, thumb up, share - in all my media ;-)

I would also be interested in reading about the ‘students’ personal/interpersonal problems they would have to solve on the way. I believe this is the ‘return-of-investment’ for the students. The real world problem solution is merely an ‘icon’ for focusing on another ‘knowledge to learn’.

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท