Cryptocurrency ของประเทศไทย


Cryptocurrency คือ เกิดจาก คำว่า “Crypto” มาจากคำว่า “Cryptography” ซึ่งมีความหมายว่าการเข้ารหัส และคำว่า “Currency” แปลว่า สกุลเงิน หรือแปลตรงตัว ก็คือ “สกุลเงินเข้ารหัส” Cryptocurrency หากอธิบายให้เข้าใจได้โดยง่าย ประกอบด้วย 3 คุณลักษณะ คือ 1) ไม่มีลักษณะกายภาพ เป็นกลไกทางคณิตศาสตร์ กลไกทางคอมพิวเตอร์ 2) การมีอยู่แบบกระจาย เมื่อใช้งานแล้วจะมีการเชื่อมโยงเป็นเครือข่าย ไม่กระจุกตัวอยู่ที่ใดที่หนึ่งหรือเครื่องคอมพิวเตอร์ใดเครื่องหนึ่ง และ 3) ต้องมีการถอดรหัสออกมาถึงจะสามารถใช้งานได้

cyptocurrency-overview
crypto-currency

ตามพระราชกำหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 ได้กำหนดนิยามของ“Cryptocurrency” ไว้ว่า “หน่วยข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งถูกสร้างขึ้นบนระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์โดยมีความประสงค์ที่จะใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนเพื่อให้ได้มาซึ่งสินค้าบริการ หรือสิทธิอื่นใด หรือแลกเปลี่ยนระหว่างสินทรัพย์ดิจิทัล และให้หมายความรวมถึงหน่วยข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์อื่นใดตามที่คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ประกาศกําหนด”

Cryptocurrency ไม่ได้ถือว่าเป็นเงินตรา ตามพระราชบัญญัติเงินตรา พ.ศ. 2501 และที่แก้ไขเพิ่มเติม เนื่องจากเงินตราต้องถูกกำหนดโดยรัฐ ซึ่งจะต้องมีทุนสำรองเงินตรา เช่น ทองคำ เงินตราต่างประเทศที่พึงเปลี่ยนได้ หลักทรัพย์ เป็นต้น ประกอบกับ มาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติเงินตราฯ กำหนดไว้ว่า “ห้ามมิให้ผู้ใดทํา จําหน่าย ใช้ หรือนําออกใช้ซึ่งวัตถุหรือเครื่องหมายใดๆ แทนเงินตรา เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรี”

cyptocurrency-values
Values of cyptocurrency

จำนวนสกุลเงิน cryptocurrency ข้อมูลจาก http://coinmarketcap.com ซึ่งถือว่าเป็นเว็บไซต์กลางที่รวบรวมข้อมูลสถิติของสกุลเงินดิจิทัลเพื่อเปิดเผยแก่สาธารณะ พบว่าปัจจุบันประเภทสกุลเงิน Cryptocurrency มีมากถึง 2,149 สกุลเงิน โดยพบว่า 5 อันดับแรกที่มีมูลค่ามากที่สุดตามราคาตลาด คำนวณจากจำนวนเหรียญคูณด้วยอัตราการซื้อขายมากที่สุด ได้แก่ Bitcoin, Ethereum, Ripple, Bitcoin Cash, Litecoin 

ตามที่กล่าวในข้างต้นกว่า Cryptocurrency ไม่ได้มีการกำหนดมูลค่า ด้วยทองคำ หรือสินทรัพย์อื่นใดในการค้ำประกันของรัฐบาลกลางเหมือนสกุลเงินตราปกติ แต่ราคาถูกกำหนดตามอุปสงค์และอุปทานในตลาด ซึ่งมีความนิยมแตกต่างกันไป ดังนั้น ราคาต่อหน่วยจึงมีความผันผวน และมีความอ่อนไหว อาจทำให้คิดว่าไม่มียั่งยืน หรือความมั่นในใจมูลค่าได้

สถานการณ์และพฤติการณ์ในการกระทำผิดเกี่ยวกับ Cryptocurrency

หลายคนอาจจะได้ยินเรื่องราวเกี่ยวกับการลงทุนเรื่อง Cryptocurrency มาบ้าง ในที่นี้ผู้เขียนขอเสนอข่าวเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

  • ปี 2557 เมานท์ก็อกซ์ (Mt. Gox) เว็บค้า bitcoin รายใหญ่ที่สุดในโลกของญี่ปุ่น สั่งระงับการแลกเปลี่ยน ปิดเว็บไซต์และยื่นขอพิทักษ์ทรัพย์ โดยอ้างว่า Bitcoin ของบริษัทและลูกค้าถูกขโมยไปร่วม 850,000 หน่วย มูลค่าในเวลานั้นกว่า 450 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ประมาณ 14,400 ล้านบาท
  • ปี 2560 มีการรายงานข่าวว่า กรณี ยูบิท เว็บไซต์ตลาดแลกเปลี่ยน cryptocurrency ซึ่งเป็นสกุลเงินดิจิทัลแห่งหนึ่งของเกาหลีใต้ ปิดตัวและยื่นขอพิทักษ์ทรัพย์ในฐานะล้มลาย สาเหตุเพราะถูกเจาะระบบขโมยเงินดิจิทัลเป็นครั้งที่สองของปี ทำให้ทรัพย์สินหาย ส่งผลต่อ Cryptocurrency ของลูกค้าลดลง 75%
  • สำหรับประเทศไทย มีการแจ้งความดำเนินคดีว่า ผู้เสียหายได้มีการถูกชักชวนในกลุ่ม Line ให้เข้ามาลงทุนใน Bitcoin โดยการโอนเงินให้กับมิจฉาชีพ แล้วจะเป็นผู้ดำเนินการลงทุนให้ โดยทางมิจฉาชีพมี Package ในการลงทุน Bitcoin เป็นการชี้ชวนให้ลูกค้าเข้ามาลงทุนเช่น Package ลงทุน 3,000 ดอลลาร์ ได้เงิน 108,000 บาทต่อเดือน และหากชวนคนมาลงทุนจะได้อีก 10 เปอร์เซ็นต์ของเงินที่เพื่อนนำมาลงทุน หรือลงทุนสี่แสนบาทก็จะได้รางวัลไปเที่ยวต่างประเทศอีกด้วย แต่สุดท้ายเมื่อถึงเวลาที่จะถอนเงินก็โดนประวิงเวลาและทางมิจฉาชีพก็ทำการปิดเว็บไซต์หนีไป
  • และล่าสุด สิงหาคม 2561 ที่ผ่านมา กองปราบบุกจับนายแบบชื่อดัง ฐานฟอกเงิน หลังหลอกต่างชาติลงทุนเงินสกุล bitcoin เสียหายกว่า 700 ล้านบาท นั้น เป็นลักษณะการแอบอ้าง หรือใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการหลอกลวง   
Cryptocurrency-risk
Risk of Cryptocurrency

จากกรณีเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นพบว่า เมื่อ cryptocurrency เริ่มมีความนิยมมากขึ้นในระดับหนึ่ง ส่งผลทำให้มีนักฉวยโอกาสขึ้นมาหลายกลุ่มและหลายรูปแบบ บางคนก็ฉวยโอกาสรีบซื้อในขณะที่ราคามันยังน้อย เพราะต้องการเก็งกำไรในอนาคต บางคนฉวยโอกาสรีบกว้านซื้อการ์ดจอเพื่อเป็นเป็นอุปกรณ์สำหรับขุดเหมือง bitcoin มาตุน เพราะคิดว่าในอนาคตมันจะขาดตลาด แต่ในขณะที่คนบางกลุ่มเลือกที่จะหลอกลวงผู้คนโดยการนำมันมาประยุกต์เขากับแชร์ลูกโซ่ 

แต่หากพิจารณาแล้วสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดการกระทำผิดเกี่ยวกับ Cryptocurrency นั้น เกิดจากประชาชนยังไม่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเงินสกุลดิจิทัลที่เพียงพอ คนไม่มีความรู้อาจถูกหลอกลวงไปเล่นได้ง่าย โดยเฉพาะคนที่ไม่ค่อยจะรู้เรื่อง ไม่รู้เรื่องยังอาสาเล่น เมื่อเล่นก็อาจจะถูกหลอกลวงได้ง่าย Cryptocurrency หากถูกเปรียบเทียบกับเงินแล้ว ก็เหมือนกับธนบัตร บัตรเครดิต ถ้าวันนี้ถูกล้วงกระเป๋า จะเกิดอะไรขึ้น หรือ โจรขโมยขึ้นบ้าน ขนตู้เซฟ สำหรับ Cryptocurrency ก็สามารถถูกโจรกรรมได้เหมือนกัน นั่น คือการแฮ็กข้อมูล การเข้าถึงและเอาข้อมูลไปใช้โดยมิชอบ จนทำให้จำนวนเงินที่เรามีอยู่ลดลงไปได้

    คำสำคัญ (Tags): #CryptoCurrency#Bitcoin#blockchain
    หมายเลขบันทึก: 661605เขียนเมื่อ 10 พฤษภาคม 2019 16:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 พฤษภาคม 2019 16:29 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


    ความเห็น (0)

    ไม่มีความเห็น

    อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท