ห้องสมุดมีชีวิตอีกครั้ง


เมื่อมีโอกาสได้อ่านหนังสือเกี่ยวกับห้องสมุดมีชีวิต ของ อ.น้ำทิพย์ วิภาวิน

หลังจากได้พูดคุยเรื่องห้องสมุดมีชีวิตกันมาบ้าง ก็ได้อ่านหนังสือ ห้องสมุดมีชีวิต ที่เขียนโดย อ.น้ำทิพย์ วิภาวิน ก็ได้ความรู้มาบ้าง ใคร่ขออนุญาตคัดลอกและเผยแพร่ต่อไป เพราะจะทำให้ทราบความหมายและเรื่องของห้องสมุดมีชีวิตมากยิ่งขึ้น

ในยุคปัจจุบันห้องสมุดได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบเพื่อให้สอดคล้องกับสภาพทางสังคมและความต้องการของผู้ใช้ห้องสมุด (น้ำทิพย์ วิภาวิน , 2548 : 75) เห็นว่าการจัดรูปแบบห้องสมุดให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และเป้าหมายเป็นสิ่งสำคัญต่อการบริการห้องสมุด สำหรับรูปแบบของห้องสมุดสมัยใหม่ที่ห้องสมุดต้องให้ความสำคัญ คือ รูแบบของแผนผังห้องสมุดซึ่งมักจะใช้ประตูอิเล็กทรอนิกส์เพื่อป้องกันหนังสือและสื่ออื่นๆ สูญหาย รูปแบบของเคาน์เตอร์บริการยืม-คืน การจัดเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อการสืบค้นข้อมูล การจัดที่นั่งอ่าน ชั้นวางหนังสือ ห้องทำงาน มุมถ่ายเอกสารและการจัดหาเครื่องอำนวยความสะดวก มีมุมกิจกรรมและนิทรรศการ และมุมบริการกาแฟ อาหารและเครื่องดื่ม ในการเปลี่ยนแปลงของห้องสมุดนั้นจะเห็นได้ว่ามีการเปลี่ยนแปลงในหลายๆ ด้าน เพื่อให้ห้องสมุดมีการพัฒนาเป็นห้องสมุดที่ดีนั้น ควรต้องคำนึงถึงองค์ประกอบในการพัฒนาห้องสมุดในด้านต่างๆ ดังต่อไปนี้

 

  1. การเปลี่ยนแปลงของห้องสมุดด้านทรัพยากรสารเสนเทศ ซึ่งต้องประกอบด้วยสื่อสารสนสนเทศที่หลากหลาย ทันสมัย มีจำนวนพอเพียงและมีเนื้อหาครอบคลุม เช่น นอกจากหนังสือ และวารสารแล้ว ควรมีสื่ออื่นๆ เพิ่มขึ้น เช่น ฐานข้อมูลออนไลน์ วารสารอิเล็กทรอนิกส์ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ หรือเว็บไซต์ เป็นต้น

  2. การเปลี่ยนแปลงของห้องสมุดด้านระบบงาน เพื่อให้การทำงานเป็นไปได้อย่างสะดวกรวดเร็ว ทั้งนี้เพื่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลที่เกิดกับผู้ใช้ห้องสมุด เช่น การนำระบบห้องสมุดอัตโนมัติมาใช้ในการดำเนินงาน เป็นต้น

  3. การเปลี่ยนแปลงของห้องสมุดด้านบริการ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการเรียนรู้แก่ผู้ใช้ห้องสมุด ทำให้ผู้ใช้สามารถใช้ห้องสมุดเป็นแหล่งเรียนรู้ได้ตามความต้องการและตามอัธยาศัย เช่น การแนะนำและการสอนการใช้ห้องสมุด การจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน เป็นต้น

  4. การเปลี่ยนแปลงของห้องสมุดด้านบุคลากร ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญ เพราะเป็นผู้ทำหน้าที่ให้บริการและเชื่อมประสานระหว่างสื่อทรัพยากรสารสนเทศ เครื่องมืออุปกรณ์ และผู้ใช้ห้องสมุดเพื่อให้ผู้ใช้ห้องสมุดได้รับความรู้ในการใช้ห้องสมุดและเครื่องมือต่างๆ ที่ถูกวิธี สามารถนำไปใช้ในการสืบค้นข้อมูลให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้

  5. การเปลี่ยนแปลงของห้องสมุดด้านอาคารสถานที่และบรรยากาศ ซึ่งได้แก่ ลักษณะของอาคารห้องสมุด การจัดทรัพยากรสารสนเทศ การจัดบริการ การออกแบบภายใน การสร้างบรรยากาศ ความสวยงาม ความสะดวกสบาย และความสะอาด ทั้งนี้โดยมีความนิยมสร้างตามแนวคิด ห้องสมุดมีชีวิตชีวา (living Library)

ห้องสมุดมีชีวิตรูปแบบหนึ่งของการจัดการห้องสมุดสมัยใหม่

ห้องสมุดมีชีวิต หรือห้องสมุดมีชีวิตชีวา (Living Library) ด้วยห้องสมุดเป็นสถานที่ การมีชีวิตจึงเป็นการดำเนินการเชิงอุปมา ซึ่งมีผู้ได้ให้ความหมายไว้หลายความหมาย ได้แก่

ความหมายที่แพร่หลายในช่วงประมาณ พ.ศ. 2542 ห้องสมุดมีชีวิต หมายถึง ห้องสมุดพที่มีการรวบรวมสารสนเทศออนไลน์ไว้ให้บริการผ่านอินเทอร์เน็ตตลอด 24 ชั่วโมง ที่ทำให้ผู้ใช้ห้องสมุดสะดวกสบายในการสืบค้นสารสนเทศได้จากทุกที่ (any where) และทุกเวลา (Any Time) นอกจากนี้ยังทำให้ผู้ใช้ได้รับข้อมูลที่ทัสมัยเพราะเป็นการสืบค้นแบบออนลไน์

ความหมายที่แพร่หลายในช่วงประมาณ พ.ศ. 2543 ความหมายของห้องสมุดมีชีวิต ได้ครอบคลุมในแง่เป็นการเรียนรู้มาสัมพันธ์กับชุมชน เทคโนโลยี และชีวิตประจำวัน เป็นแนวคิดที่ได้รับมาจากโครงการ Living Library ในซานฟรานซิสโก ที่ได้รับรางวัล Smithsonian Computerworld Award

และความหมายของห้องสมุดมีชีวิตที่แพร่หลายใน พ.ศ. 2544 นั้นครอบคลุมถึงความเป็นห้องสมุดที่มีหนังสือที่ทันสมัยหลายรูปแบบ และมีการจัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศรองรับเพื่อการศึกษาค้นคว้า เพื่อจูงใจให้ผู้ใช้ได้รับประโยชน์จากห้องสมุดอย่างเต็มที่

นอกจากนี้ยังมีความหมายของห้องสมุดมีชีวิตที่ให้ไว้ในโครงการวิจัยห้องสมุดมีชีวิต ดังนี้

ปัญญา สุขแสน, 2546 การบริการวัสดุห้องสมุดที่หลากหลายรูปแบบ ใหม่ทันสมัย มีคุณค่าต่อผู้ใช้บริการ รวมทั้งการจัดองค์การให้อำนวยประโยชน์ให้แก่ผุ้ใช้บริการให้มากที่สุด เช่น การรจัดพิพิธภัณฑ์ในพื้นที่ใกล้เคียง หรืออาคารเดียวกับห้องสมุด ให้ผู้ใช้ห้องสมุดพึงพอใจกลับมาใช้บริการประจำ ที่สำคัญคือให้ผู้ใช้ห้องสมุดนำสารสนเทศมาประยุกต์ใช้ในด้านการศึกษา เศรษฐกิจ การเมือง วัฒนธรรม หรือด้านอื่นๆ โดยมีจุดหมายสูงสุด คือต้องการให้สังคมเป็นสังคมที่ใช้ความรู้เป็นพื้นฐาน (Knowledge-based society) ในการประยุกต์พัฒนาระบบต่างๆ

ฝ่ายวิจัยและพัฒนาบริษัททัศนีย์ แอสไซซิเอท ซิสเต็มส์ จำกัด 2547 เห็นว่า ห้องสมุดมีชีวิตเป็นห้องสมุดที่สามารถดำเนินงานและให้บริการกับสมาชิกได้ตลอด 24 ชั่วโมง เสมือนห้องสมุดที่ยังไม่ตาย ในที่นี้หมายถึงการให้บริการกับสมาชิกได้ตลอดเวลา เช่น ระบบสามารถโต็ตอบกับสมาชิกได้ สมาชิกสามารถยืม-คืนทรัพยากรได้ และสมาชิกสามารถสืบค้นและเรียกใช้ได้ถึงแม้ว่าไม่มีเจ้าหน้าที่อยู่ หรือมีเจ้าหน้าที่ไม่เพียงพอกับปริมาณของสมาชิกที่เข้ามาใช้บริการ ก็ยังสามารถให้บริการดังกล่าวข้างต้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ

http://www.lib.chandra.ac.th/Leter/ARCnews/arc2.htm เห็นว่า ห้องสมุดมีชีวิต คือ ห้องสมุดที่ยังคงมีหนังสือ วารสาร หนังสือพิมพ์ แต่ต้องทำให้ ตัวหนังสือมีชีวิต เป็นเสียง เป็นภาพ ผสมผสานกันให้ลงตัว รวมทั้งอาคารสถานที่ที่ดูสดใส บรรยากาศที่เอื้อต่อความมีชีวิต เป็นชีวิตในความมีชีวิต คือ ผู้รับบริการมีความพึงพอใจที่จะใช้บริการ ได้รับประโยชน์จากบริการต่างๆ ของห้องสมุด ได้ทั้งอาหารสมองและอาหารใจ เข้าทำนองชีวิตให้ชีวิต ทั้งผู้รับบริการและผู้ให้บริการต่างสมาคมกันด้วยความเบิกบานแจ่มใส ช่วยกันคิดช่วยกันพัฒนาเป็นชีวิตที่สมบูรณ์ของ “Knowledge-based society”

ปิรันย่า “ระเบียงบรรณ” เห็นว่า ห้องสมุดมีชีวิตเป็นแหล่งเรียนรู้ที่ส่งเสริมสนับสนุนให้สมาชิกในสังคมได้ศึกษาค้นคว้า ใฝ่หาความรู้ด้วยตนเองอย่างเพลิดเพลินมีความสุข ให้บริการแก่ทุกคนโดยสมอภาคและเท่าเทียม เพื่อให้มีความเจริญงฮกงามทางสติปัญญาโดยทั่วกัน (http://clm.wu.ac.th/contents-clm/bunnapanya/volumes5/title1.html)

โครงการวิจัยห้องสมุดมีชีวิต สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ให้นิยามของห้องสมุดมีชีวิต ว่าหมายถึง ห้องสมุดที่เป็นแหล่งเรียนรู้ที่ดำเนินงานบนระบบฐานข้อมูลออนไลน์ที่สามารถให้บริากรสารสนเทศในหลายสาขา ผู้ใช้บริการสามารถเข้าถึงสารสนเทศได้ตามความต้องการได้ทันที ตลอดเวลาและทุกสถานที่

ห้องสมุดมีชีวิตจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

เมื่อเดือน พ.ย. 2550 ได้รับคำถามจากคุณเก๋ ซึ่งเป็นบรรณารักษ์ที่ห้องสมุดวิทยาลัยอาชีวศึกษาชลบุรีค่ะ ถามมาว่า คำว่า "ห้องสมุดมีชวิตหมายความว่าอย่างไรคะ" และ "เราจะทำอย่างไรให้ห้องสมุดของเรามีชีวิตคะ" 

ในทัศนะของตนเองได้ตอบไปว่า

ห้องสมุดมีชีวิตนี้มีหลายความหมายนะคะ ถ้าในด้านทฤษฎีก็คงหาได้ไม่ยากจากหนังสือหรือเอกสารที่เกี่ยวข้อง สรุปได้ว่า ห้องสมุดมีชีวิต คือห้องสมุดที่ไม่นิ่ง มีการเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา เป็นปัจจุบัน ซึ่งครอบคลุมถึงสถานที่ บริการ(ซึ่งจะเห็นว่ามีการใช้เทคโนโลยีมากขึ้น) ทรัพยากร วัสดุอุปกรณ์ และบุคลากร สำหรับ trend ในการจัดห้องสมุดมีชีวิตในแง่มุมหนึ่ง คือ การใช้กระจก ที่สามารถมองเห็นการเคลื่อนไหวของผู้ใช้่ห้องสมุด และ staff ที่กำลังทำงานอยู่ก้ได้

สำหรับความคิดของพี่ที่เกี่ยวกับการทำให้ห้องสมุดมีชีวิตชีวา มี 2 ปัจจัย คือ ปัจจัยที่ควบคุมได้ และปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้

ปัจจัยที่ควบคุมได้ คือ ตัวของเรา ซึ่งเป็นบุคลากรที่เป็นกำลังสำคัญในการดำเนินงานห้องสมุด ต้อง...เป็นผู้สนใจใฝ่เรียนรู้ ติดตามข่าวคราวความเคลื่อนไหวในทางห้องสมุดและเหตุการณ์บ้านมือง พูดอะไรก็ต้องรู้ (พี่เองก็รู้ไม่หมดหรอกนะ...พยายามที่จะเป็นอยุ่) มีความคิดสร้างสรรค์ หลายคนบอกว่าต้องคิดนอกกรอบ นอกจากนี้เพื่อการบริการที่ดี ต้องเป็นผู้เต็มใจให้บริการ กระฉับกระเฉง รักงานที่ทำ ซึ่งเรื่องแค่นี้สามารถเกิดจากภายในของตัวเอง หากยังไม่เกิิดก็สามารถเรียนรู้และพัฒนาได้ ซึ่งเมื่อเกิดจากภายในแล้ว เมื่อนำเสนอออกสู่สายตาของผู้รับบริการ หรือมองในภาพรวมของห้องสมุดแล้ว ความมีชีวิต จะเเห็นความมีชีวิตของห้องสมุดได้เลย

 

สำหรับปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้ แต่ทำได้ ได้แก่ - ทรัพยากรสารสนเทศ ซึ่งมีทรัพยากรที่หลากหลาย ให้ผู้ใช้เลือกใช้ตามความสนใจ เช่น หนังสือ หนังสือพิมพ์ e-books e-journals vcd DVD Internet KID เป็นต้น และต้องตรงกับความต้องการของผู้ใช้ มีความทันสมัยไม่ใช้สำนักพิมพ์ออก edition ที่ 6 แล้ว แต่ในห้องสมุดยังมีแค่ edition ที่ 2 โดยเฉพาะอย่างยิ่งหนังสือตำราวิชาการ

ที่ว่าควบคุมไม่ได้นั้น ก็คือ เกี่ยวกับงบประมาณ เพราะฉะนั้นห้องสมุดต้องใช้งบประมาณที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุดและสอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้ตามวัตถุประสงค์ให้มากที่สุด

 -การมีบริการที่หลากหลาย ต้องสามารถรองรับความต้องการและสภาพที่เปลี่ยนแปลงไปในปัจจุบัน อาจจะเป็นเรื่องที่ยาก แต่อย่างน้อยต้องมีบริการพื้นฐานของห้องสมุด สำหรับบริการอื่นๆ นั้น อาจต้องอาศัยเวลาในการพัฒนา เช่น การมีจุด wireless สำหรับการเชื่อมต่อ notebook ที่มีผู้นิยมใช้มากในปัจจุบัน หรือ การนำโปรแกรมห้องสมุดอัตโนมัติมาใช้โดยมีฟังก์ชั้นให้ผู้ใช้ห้องสมุดสามารถส่งคำร้องของจอง หรือยืมต่อผ่านอินเตอร์เน็ตได้

- วัสดุอุปกรณ์/เครื่องมือ/เทคโนโลยีสารสนเทศ ควรพัฒนาปรับปรุงให้ทันสมัย (ถ้ามีงบพอ) รวมถึงการจัดทำเว็บไซต์ของห้องสมุดด้วย

-ทั้งนี้รวมถึงการเพิ่มเสริมศักยภาพของผู้ให้บริการและผู้รับบริการ มองดูแล้ว Look smart หน่ะ ข้อดีก็คือ บุคลากรปรับตัวได้ทันเทคโนโลยี สำหรับเรื่องต้องอิงกับลักษณะพื้นฐานของห้องสมุดแต่ละแห่งด้วยนะจ๊ะ

-กิจกรรมของห้องสมุด เพื่อให้ห้องสมุดไม่นิ่ง กิจกรรมห้องสมุดเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดความมีชีวิตชีวา นอกจากนี้ยังเป็นการส่งเสริมการเรียนรู้ได้ตามความสนใจ เช่น การจัดบอร์ดที่มีแผนการเปลี่ยนบอร์ดประจำทุกเดือน ไม่ใช่ทุกปี และบอร์ดนั้นควรมีเนื้อหาเป็นปัจจุบันให้มาก หรือแนะนำความรู้ใหม่ๆ การจัดการเล่านิทาน การทำเอกสารแผ่นพับ การแข่งขันการยืมหนังสือ การจัดแสดงหนังสือที่มีผู้ยืมมากที่สุด การรับสมัครสมาชิก Library Club กิจกรรม Road Show เป็นต้น

 -เน้นการมีส่วนร่วมของผู้ใช้บริการ ทั้งนี้เพื่อเป็นการสำรวจความคิดเห็น รับข้อมูลจากผู้ใช้บริการ และประชาสัมพันธ์กิจกรรมของห้องสมุดด้วย เช่น การสำรวจความพึงพอใจ การศึกษาความคิดเห็น การจัดกิจกรรมร่วมกัน การจัดให้ช่องทางให้ผู้ใช้ห้องสมุดเสนอซื้อทรัพยากร เป็นต้น นี่ก็เป็นแค่ส่วนหนึ่งของความคิดเห็น ท่านอื่นๆ หากมีความคิดเห็นนำมาแลกเปลี่ยนกันบ้างนะคะ สำหรับน้องเก๋ ก็นับเป็นส่วนหนึ่งของห้องสมุดมีชีวิตแล้วนะคะ โดยป็นบุคลากรที่สนใจใฝ่รู้...ถึงได้มาใช้ gotoknow.org กันงัยคะ

  • และมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2551 สิริพรได้เข้าไปแสดงความคิดเห็นในบันทึกของคุณ มนิต อินทะชุบ ศึกษานิเทศจังหวัดอุดรธานี ในบันทึกเรื่อง "จุดประกายห้องสมุดมีชีวิตในโรงเรียน" และได้แสดงทัศนะเกี่ยวกับห้องสมุดมีชีวิตไว้ว่า

ห้องสมุดที่มีชีวิต คือห้องสมุดที่มีลมหายใจ...ลมหายใจของผู้เข้าใช้บริการที่ผ่านออกทางช่องประตูหน้าต่างของห้องสมุด...ช่วยทำให้ให้ห้องสมุดมีชีวิตได้จริง...

และหน้าที่ของบรรณารักษ์คือต้องจัดกิจกรรมแสถานที่ที่ดึงดูดให้ผู้คนเข้าไปใช้ห้องสมุดให้มากที่สุด เพื่อช่วยทำให้ห้องสมุดหายใจได้...และห้องสมุดก็จะมีชีวิตตามมา

 

 

  •  สงวนลิขสิทธิ์โดยสิริพร ทิวะสิงห์ ยินดีให้นำไปเผยแพร่โดยอ้างอิงที่มาได้. ห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า > 10 สิงหาคม 2552

 

หมายเลขบันทึก: 66054เขียนเมื่อ 8 ธันวาคม 2006 14:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 23:23 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)
December 2006
   ห้องสมุดมีชีวิต มีความหมายหลากหลายนัย ในส่วนของห้องสมุดมหาวิทยาลัย ในสังคมแห่งการแสวงหาองค์ความรู้ และความรู้รอบทั้งหลาย น่าจะหมายถึง ตัววิทยาการ-ความรู้ ที่เป็นเหมือนสิ่งที่มีชีวิต(สติปัญญาของคน ไม่ใช่การเจริญเติบโตของร่างกายคน) ความรู้ที่จะต้องมีการพัฒนา ความรู้เรื่อง เนื้อหา ที่เจริญและมีพัฒนาการต่อเนื่องอย่างเป็นนิรันดร์ ภายใต้รูปทรงขององค์กร Library Building(ไม่ได้แปลว่าตึก หรืออาคารนะ) ความรู้ที่จะต้องมีพัฒนาการหลากหลายรูปแบบ เป็นความรู้ที่ จัดเก็บบันทึกเนื้อหา เนื้อเรื่อง (Contents) บนวัสดุความรู้ ทุกๆรุปแบบที่ จะพึงมีได้(หมายถึงขึ้นเปลี่ยนแปลงไปตามวิวัฒนาการของเทคโนโลย ในการจัดเก็บบันทึก ) ขอแนะนำหนังสือที่น่าอ่าน สำหรับ บรรณารักษ์ ห้องสมุดเล่มหนึ่ง ชื่อ Books, Bricks & Bytes : libraries in the twenty-first century  ในความหมายของสิ่งมีชีวิต ย่อมมีการเปลี่ยนแปลง วิวัฒนาการ อยู่ตลอดเวลา แต่สิ่งมีชีวิตนั้น มีการดับสูญของกายภาพ ซึ่งแตกต่างจาก ห้องสมุดที่มีชีวิต สิ่งที่มีอยู่ในห้องสมุด ไม่มีการสูญสลาย หรือหมดอายุขัย สิ่งที่จะต้องตระหนักไว้ ทุกเวลานาที่ของผู้เป็นบรรณารักษ์ ห้องสมุด ถ้าจะทำห้องสมุดให้มีชีวิต(ความรู้ในห้องสมุดให้มีชีวิต) ต้องไม่ใช่ทำห้องสมุด ให้เป็นห้องพิพิธภัณฑ์ หรือห้องแสดงนิทรรศการ ไปทุกจุดทุกมุม
       สิ่งที่บรรณารักษ์ห้องสมุดที่มีชีวิต จะต้องเข้าใจว่า ในโลกสมัยปัจจุบัน และอนาคต ห้องสมุด จะมีวัสดุคงเหลืออยู่เพียง 3 ชนิดเท่านั้น คือ paper(Textbooks), CD/DVD, Online นอกจากนั้น จะไม่ปรากฎวัสดุความรู้ที่ยังคงมีชีวิตอยู่ เป็นไปได้ไหม?  ในทุกวันนี้เราจะจัดหา จัดซื้อ หรือแทบจะผลิต วัสดุความรู้ประเภท  สไลด์,ภาพนิ่ง, ฟิล์มภาพยนต์,เทปคาสเซท, วิดีโอเทป ฯลฯ(มัลติมีเดียทั้งหลายในห้องสมุด) หลายรายการกำลังกลายเป็น โบราณวัตถุเก่า ที่หา software มาใช้ไม่ได้ ในโลกทุกวันนี้ การเข้ามาของเทคโนโลยีกล้องดิจิตอล และคอมพิวเตอร์ ทุกๆรายการที่กล่าวมานั้น จะบันทึกไว้ด้วย CD/DVD ได้ทั้งหมด และใช้บริการการอ่านศึกษาค้นคว้า ด้วยคอมพิวเตอร์เพียงอย่างเดียวทำได้หมดทุกชนิด
หรือ แม้แต่ วารสาร หนังสือพิมพ์ ก็กำลังเปลี่ยนรูปแบบเป็น ส่งมาทาง CD หรือ ทางเน็ตเวอร์ค (e-books, e-journals) และถ้าโลกของเทคโนโลยีทุกวันนี้ มีการนำเอา Encyclopedia, Dictionary, มาส่งผ่านบน web แล้วให้สืบค้นได้จากระบบ โทรศัพท์ หรือ โน้ตบุ้คได้แล้ว(มันกำลังจะมาในอนาคตอันใกล้นี้) อย่าคิดว่าเป็นไปไม่ได้ e-thesis, e-books, e-Journals ยังทำได้ ห้องสมุดที่มีชีวิต จะมีชีวิตอยู่ ณ ตรงจุดไหนของโลกใบนี้ดี บรรณารักษ์ห้องสมุด 
จะทำงานแบบเดิมๆ งกๆเงิ่นๆ ป้อนข้อมูลใส่ OPAC แบบเก่าๆ คงไม่ได้อีกต่อไปแล้ว  อะไร? คือจุดมุ่งหวัง ที่จะต้องเปลี่ยนแปลงรูปแบบ การให้บริการการสืบค้นข้อมูล OPAC ที่มีศักยภาพ มี keywords ที่ link ไปอย่างหลากหลายรูปแบบ และฐานข้อมูลของห้องสมุด ที่น่าเชื่อถือได้ นำไปอ้างอิงได้อย่างสมเหตุสมผล (ถ้าเคยเข้าไปใช้บริการ Wikipedia แล้วจะตกใจว่านั่นคืออะไร ทำไมเด็กรุ่นใหม่ชอบนำไปอ้างอิงกันมากในการทำรายงาน)
ห้องสมุดที่มีชีวิต อาจจะกลายเป็น ชีวิตที่หลงทาง ก็เป็นได้  งานใหญ่ที่กำลังคืบคลานเข้ามา ก็คือ การแปลงแหล่งจัดเก็บความรู้
จาก กระดาษ ไปสู่ ดิจิตอล และแปลงผลงานจากดิจิตอล เป็นกระดาษ และเลือกสรรไปให้บริการสืบค้น ยืมคืน ยังมีงานอีกมากมายรออยู่ ปัญหา คือ บรรณารักษ์ทำได้ไหม หรือ กลายเป็นบรรณารักษ์ไม่มีชีวิต เสียก่อนแล้ว คงจะมีเรื่องต้อง สังคยานาระบบบรรณารักษ์ และระบบงานห้องสมุด กันใหม่อีกไม่นานนี้ อาจจะเป็นการพลิกฟ้า พลิกดิน (บรรณารักษศาสตร์ปฏิวัติ)ในอนาคต ขอฝากข้อเสนอแนะว่า ห้องสมุดไม่ใ่้ช่ห้องแสดงพิพิธภัณฑ หรืองานแสดงนิทัศน์การ แต่งานแสดงเชิงพิพิธภัณฑ์และแสดงนิทัศน์การ เป็นส่วนประกอบหนึ่งของห้องสมุดมหาวิทยาลัย
องค์ความรู้ในห้องสมุดมหาวิทยาลัย จะต้องเป็นนิรันดร์ ที่สืบค้นแสวงหาได้อย่างเป็นความรู้รอบดัง Universe
ห้องสมุดที่มีชีวิต ไม่ใช่สิ่งที่มีชีวิต แต่เป็นชีวิตของ Knowledge ,wisedom & scholarastic

เห็นด้วยกับคุณ sc21mc นะคะ ที่บุคลากรห้องสมุดเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ห้องสมุดมีชีวิต คือ มีคุณลักษณะที่จะสามารถพัฒนางานให้สอดคล้องกับเทคโนโลยีและวิถีชีวิตสมัยใหม่ได้ เห็นในภาพยนตร์ฝรั่งที่ นักเรียน อ่าน text โดยการ load จาก plam  ในขณะรอรถเมล์ เป็ต้น รู้สึกได้ว่า การใช้ห้องสมุดอยู่ทุกลมหายใจในวิถีชีวิตเลยที่เดียว

ในส่วนตัวแล้วพยายามไม่ให้ตกยุค แต่เป็นเรื่องที่เหนื่อยเหลือเกิน หวังว่าหน่วยงานคงเห็นความสำคัญและส่งเสริมการพัฒนาบุคคลากร มีการดำเนินงานที่มองผู้ใช้และสิ่งแวดล้อมเป็นหลัก มองไกลๆ สัก 10 ปี แล้วย้อนมาบริหารจัดการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ คงต้องเป้นเรื่องคิดนอกกรอบ มีวิสัยทัศน์ และบริหารโดยใช้รูปแบบการบริหารแนวใหม่

สุดท้ายขอบคุณนะคะสำหรับการแนะนำหนังสือ

December 2006
 ใคร่จะขอแนะนำ website ที่เกี่ยวกับห้องสมุด 2 รายการ ถ้าเคยอ่าน หรือ เคยใช้แล้วก็ยินดีด้วยอย่างยิ่ง ที่คุณเป็น บรรณารักษ์ หัวก้าวหน้ามากคนหนึ่งจริงๆ ถ้ายังไม่เคย ก็ยินดีที่จะมีผู้สนใจเพิ่มขึ้นอีก 1 ท่าน
 1. http://www.itcompany.com/inforetriever/
      ชื่อที่ใช้เป็นทางการ
       " INTERNET LIBRARY FOR LIBRARIANS" ถ้าลองศึกษาอย่างลึกๆแล้วจะพบว่า ความรู้ใน webนี้ เป็นการรวบรวมวิชาการด้าน บรรณารักษศาสตร์ ตั้งแต่ ระดับปริญญาตรี ถึง ปริญญาเอก เลยก็ว่าได้
 2. http://www.libraryspot.com
       ในสองรายการนี้ จะพบวิธีการของ ห้องสมุดมีชีวิต มากมายหลากหลายกระบวนทรรศน์ ห้องสมุดก็จะได้มีชีวิตที่ไม่หลงทาง
        
และถ้าจะศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมย่อยได้อีก ก็สามารถสืบค้นคว้าได้จาก
Encyclopedia  of Library& Information Science ปัจจุบันมีเกือบถึง 76 เล่มชุดแล้ว เชื่อว่าท่านคงจะเคยอ่านศึกษามาบ้างแล้ว นอกจากนี้ขอแนะนำว่า ยังมีวารสารอีกเล่ม ที่จะมีงานวิจัย/ข้อเสนอแนะ เกี่ยวกับ visions ต่างๆของ ห้องสมุดในที่ต่างๆ ชื่อ LIBRI คิดว่าคงรู้จักมาบ้างแล้ว แต่อาจจะไม่ได้อ่านต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน


web ดีอย่างที่คุณ sc21mc แนะนำจริงๆ ค่ะ แต่ไม่ค่อยมีเวลาได้ Acees เลย หากท่านได้ได้เยี่ยมชม น่าจะ post ประเด็นที่น่าสนใจเพื่อลแกเปลี่ยนเรียนรู้กันต่อไป สำหรับตัวเองก็จะ post เรื่องที่สนใจและขอรับการแลกเปลี่ยนจากชาว blog ต่อไปนะคะ

เมื่อวันที่ 9 กย. 2551 คุณบรรณารักษ์ห้องสมุดประชาชน ได้ถามมาว่า สื่อของห้องสมุดมีชิวิตมีอะไรบ้าง ....สิริพรมีทัศนะว่า และต้องขออภัยคุณศิริรัตน์ แก้วทอง ด้วยที่ตอบคำถามช้า ด้วยว่าเป็นช่วงยุ่งๆ เลยไม่แน่ใจว่าคำตอบที่สิริพรตอบไปยังจะเป็นประโยชน์ต่อคุณศิริรัตน์อยู่หรือไม่... ในเชิงวิชาการอาจจะมีตำราให้เรียนรู้ว่า การบริหารจัดการห้องสมุดมีชีวิตเป็นอย่างไร สำหรับทัศนะของสิริพร ที่ส่วนใหญ่เกิดมาจากการปฏิบัติงานนั้น (แบบว่าไม่ได้มีโอกาสไปเรียนรู้เพิ่มเติมเท่าไหร่หน่ะค่ะ) คิดว่าห้องสมุดมีชีวิต ควรจะมีสื่อต่างๆ ดังต่อไปนี้

- สื่อสิ่งพิมพ์ ซึ่งไม่ควรมีเฉพาะหนังสือ ควรมีหนังสือพิมพ์ (ไทย+ต่างประเทศ เช่น Bangkok Post) มีวารสาร เช่น หมอชาวบ้าน เนชั่นจีโอกราฟฟิก หรือ student weekly รวมถึงนิทานหรือนวนิยายด้วย เป็นต้น ควรมีหลากหลายเนื้อหาและสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของห้องสมุด รวมถึงครอบคลุมกลุ่มผู้ใช้บริการทุกช่วงวัยด้วย ทั้งนี้ห้องสมุดมีบทบาทที่สำคัญมากในการร่วมสร้างสังคมฐานความรู้ และการ "เก่ง ดี มีสุข"

- เอกสารแจกต่างๆ เช่น แผ่นพับแนะนำสถานที่ท่องเที่ยว แผ่นพับแนะนำการรักษาโรคของโรงพยาบาล แผ่นพับทางด้านการเกษตร ซึ่งอาจทำเรื่องขอบริจาคไปยังหน่วยงานในชุมชนได้

- สื่อโสตทัศนวัสดุ ได้แก่ CD- ภาพยนตร์ สารคดี เพลง นิทาน, เทปเพลง เทปภาษา สไลด์, DVD, CVD เป็นต้น และอย่าลืมจัดหาวัสดุอุปกรณ์สำหรับใช้คู่กับสื่อเหล่านั้นด้วยนะคะ เพระห้องสมุดมีชีวิต ควรให้ผู้ใช้สามารถใช้สื่อต่างๆ ได้เกิดประโยชน์สูงสุด ไม่ใช่กลับไปใช้ที่บ้าน (สำหรับ VCD, DVD ควรระวังเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย)

- เกม สำหรับพัฒนาการเรียนรู้และสมอง เช่น ลูกบิด (เรียกชื่อไม่ถูก ที่เป็นลุกบาศก์มี 9 ช่อง 6 ด้านและหมุนให้เป็นสีเดียวกัน) หมากฮอส หมากรุก Scable หมากโกะ เป็นต้น

- ของจริงและของตัวอย่าง เช่น สิ่งของแสดงภูมิปัญญาท้องถิ่น เช่น กระบวย หวดนึ่งข้าว กบไสไม้ ลอบ พร้อมมีคำอธิบายหรือแนะนำแหล่งความรู้ประกอบ นอกจากนั้นยังมีลูกโลก แผนที่ สัตว์ดอง โครงกระดูกแสดงกายวิภาค (แหะ...ไอเดียบรรเจิด)

 - ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์และอินเทอร์เน็ต ซึ่งมีราคาแพง มีทั้งแบบเป็น CD และออนไลน์ ให้ข้อมูล fulltext ซึ่งต้องใช้ร่วมกับระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ สำหรับอินเตอร์เน็ตนั้นจะช่วยให้ผู้ใช้ห้องสมุดค้นคว้าได้กว้างขวางไม่มีขอบเขต

 -กฤตภาค ปัจจุบันมีระบบออนไลน์ที่มีบริษัทจัดทำและตำหน่าย หากทุนน้อย สามารถตัดบทความที่น่าสนใจจากหนังสือพิมพ์เก่า บอกชื่อหนังสือพิมพ์ วันที่ หน้าที่ปรากฏ และเข้าแฟ้มไว้ตามหัวเรื่อง

- นิทรรศการ เป็นสื่อการเรียนรู้ที่สามารถจัดหมุนเวียนตามเหตุการณ์ได้ หรือตามหัวข้อที่ผู้จัดต้องการจะสื่อ อาจเป็นนิทรรศการถาวร หรือนิทรรศการชั่วคราวก็ได้ - บุคคล ได้แก่ บรรณารักษ์ หรือผู้เชี่ยวชาญในสาขาวิชาต่างๆ นัดหมายให้มาพูดเสวนา ซึ่งจะทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ได้เป็นอย่างดี

คำถามเกี่ยวกับเรื่อง โครงการห้องสมุดมีชีวิตหรือการอ่านหนังสือเสียง ของคุณห้องสมุดประชาชน ซึ่งถามมาเมื่อวันที่ 23 ก.ย. 2551 ขขอแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง การอ่านหนังสือก่อนหละกัน สำหรับคุณ "บรรณารักษ์ห้องสมุดประชาชน" อีกครั้ง กับคำถามเรื่องหนังสือเสียง พี่มีประสบการณ์ในการไปช่วยทำหนังสือที่ห้องสมุดโรงเรียนคนตาบอด วิธีการ คือ

 - มีเกณฑ์การคัดเลือกหนังสือมาจัดทำหนังสือเสียง

 - เริ่มอ่านหนังสือเสียง โดยทุกเรื่องก่อนเข้าเนื้อหา อ่านชื่อเรื่อง ชื่อผู้แต่ง ครั้งที่พิพม์ สำนักพิมพ์ สถานที่พิมพ์ ปีที่พิมพ์ (ตามหน้าปกใน) จำนวนหน้า และบอกชื่อหน่วยงานผู้ผลิต และชื่อผู้อ่าน

- วิธีการอ่าน ให้อ่านด้วยนำเสียงธรรมดา หากทำเป็นเสียงสูงๆต่ำ เหมือนพากย์ละครวิทยุ ผู้อ่านอาจจะเหนื่องในการถ่ายทอด และควรออกเสียงสรถ คำควบกล้ำ และการเว้นวรรคตอนให้ดี เพื่อการสื่อสารที่ไม่ผิดพลาด

- สิ่งที่ควรระวัง ในการอ่านนั้นคือ เสียงถอนหายใจ เสียงเปิดหน้ากระดาษ และเสียงกดปุ่ม และสถานที่ในการอัดเสียง ไม่ว่าจะอัดด้วยเทปบันทึกเสียง หรือMP3, MP4, หรือโปรแกรมสำเร็จรูปก็ตาม สถานที่อัดเสียง ควร "เงียบ" ปรากศจากเสียงรบกวน เช่น เสียงรถ เสียงตะโกนของชาวบ้าน

อาจจะขอความรู้เพิ่มเติมจาก มูลนิธิธรรมิกชนเพื่อคนตาบอดในประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (สำนักงานใหญ่) ตู้ ป.ณ. 88 214 หมู่ 10 ถ.ประชารักษ์ ต.บ้านเป็ด อ.เมืองขอนแก่น จ.ขอนแก่น 40000 043-239499,242098 Fax 043-242488 www.cfbt.or.th สำหรับขอนแก่นนั้น รับอาสาสมัครผู้อ่านหนังสือระคะ โดยจะอบรมให้ฟรี โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปนะคะ (สอบถามเพิ่มเติมที่ อาจารย์วินิต) แต่อบรมแล้วต้องช่วยอัดเสียงให้กับศูนย์นะคะ โดยจะไปทำที่ศูนย์หรือที่บ้านก็ได้

สำหรับตัวอย่างโครงการห้องสมุดมีชีวิต คุณบรรณารักษ์ห้องงสมุประชาชน(ขอยกตัวอย่างผลงานของตัวเองก้อแล้วกัน)อาจไม่ใช่ตัวอย่างที่ดีนัก...หากทางห้องสมุดประชาชนได้ใช้ประโยชน์ ก็ยินดีอย่างยิ่ง

ชื่อกิจกรรม การเล่านิทานส่งเสริมการออมสำหรับเด็ก

หน่วยงานที่รับผิดชอบ สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

สถานที่ปฏิบัติงาน มุมความรู้ตลาดทุน ชั้น 2 อาคาร 1 สำนักวิทยบริการ

ระยะเวลาดำเนินการ ทุกวันศุกร์ เริ่มตั้งแต่วันศุกร์ที่ 18 เดือนเมษายน 2551

ถึงวันศุกร์ที่ 30 พฤษภาคม 2551

หลักการและเหตุผล

เนื่องจากสำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นแหล่งเรียนรู้ที่สนับสนุนการเรียนการสอน การวิจัย ในมหาวิทยาลัยขอนแก่นและชุมชน โดยการจัดหา จัดเก็บ บำรุงรักษาและบริการทางวิชาการในรูปของสื่อต่างๆทั้งสิ่งตีพิมพ์ สิ่งไม่ตีพิมพ์และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ตลอดจนส่งเสริมการเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อให้สามารถเข้าถึงสารสนเทศและแหล่งการเรียนรู้ต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในฐานะเป็นแหล่งเรียนรู้ สำนักวิทยบริการได้เล็งเห็นถึงความสำคัญตามแนวคิดของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชที่ได้พัฒนาหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อที่จะให้พสกนิกรชาวไทยได้เข้าถึงทางสายกลางของชีวิตและเพื่อคงไว้ซึ่งทฤษฏีของการพัฒนาที่ยั่งยืน ทฤษฎีนี้เป็นพื้นฐานของการดำรงชีวิตซึ่งอยู่ระหว่าง สังคมระดับท้องถิ่นและตลาดระดับสากลจุดเด่นของแนวปรัชญานี้คือ แนวทางที่สมดุล โดยชาติสามารถทันสมัย และก้าวสู่ความเป็นสากลได้โดยปราศจากการต่อต้านกระแสโลกาภิวัตน์ และระบบเศรษฐกิจพอเพียงนั้น มุ่งเน้นให้บุคคลสามารถประกอบอาชีพได้อย่างยั่งยืน และใช้จ่ายเงินให้ได้มาอย่างพอเพียงและประหยัดตามกำลังของเงินของบุคคล โดยปราศจากการกู้หนี้ยืมสิน และถ้ามีเงินเหลือ ก็แบ่งเก็บออมไว้บางส่วน ช่วยเหลือผู้อื่นบางส่วน และอาจจะใช้จ่ายมาเพื่อปัจจัยเสริมอีกบางส่วน ดังนั้นเมื่อเยาวชนในชาติมีการจัดการการเงินส่วนบุคคลที่เหมาะสม ย่อมเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยเสริมสร้างระบบเศรษฐกิจของชาติต่อไป

อนึ่ง สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้รับการสนับสนุนทรัพยากรสารสนเทศเฉพาะทางจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เพื่อให้บริการสารสนเทศเกี่ยวกับความรู้ทางด้านการเงิน การออม และการลงทุน แก่บุคลากรและนักศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น รวมถึงประชาชนทั่วไปในชุมชน ในรูปแบบของมุมความรู้ตลาดทุน (SET Corner) มาตั้งแต่ปี 2547 จึงได้เห็นความสำคัญในการใช้ทรัพยากรสารสนเทศเฉพาะทาง เช่น หนังสือนิทาน เป็นสื่อในการกระตุ้นแนวคิดให้เกิดการออมสำหรับเยาวชนขึ้น จึงได้จัดโครงการเล่านิทานส่งเสริมการออมสำหรับเด็กขึ้นในระหว่างปิดภาคเรียน เพื่อปลูกฝังให้เกิดนิสัยรักการออมสำหรับเด็กที่สนใจเข้าร่วมโครงการ ตลอดจนการส่งเสริมการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ และทำให้เยาวชนในชุมชนรู้จักกับสำนักวิทยบริการในฐานะเป็นแหล่งเรียนรู้คู่ชุมชน ที่จะสามารถมาเรียนได้ตามอัธยาศัยต่อไป

วัตถุประสงค์

1. เพื่อปลูกฝังนิสัยรักการออมให้กับเยาวชน

2. เพื่อแนะนำแหล่งเรียนรู้และส่งเสริมการรักการอ่านให้กับเยาวชน

3. เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ตามอัธยาศัยให้กับยาวชน

4. เพื่อส่งเสริมให้เยาวชนใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์

ระยะเวลาการดำเนินงาน

เริ่มตั้งแต่ วันที่ 18 เมษายน ถึงวันที่ 23 พฤษภาคม 2551

จัดกิจกรรมเล่านิทานจำนวน 6 ครั้ง มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 97 คน

กลุ่มเป้าหมาย

เยาวชนอายุระหว่าง 5-13 ขวบ ที่อาศัยอยู่ใกล้กับมหาวิทยาลัยขอนแก่น จำนวน 50 คน

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

1. เยาวชนที่เข้าร่วมกิจกรรมได้รับการกระตุ้นให้มีนิสัยรักการออม

2. เยาวชนที่เข้าร่วมกิจกรรมรู้จักสำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ในฐานะเป็นแหล่งเรียนรู้คู่ชุมชน ที่จะสามารถมาเรียนรู้ตามอัธยาศัยได้ในภายหลัง

3. เยาวชนที่เข้าร่วมกิจกรรมและนักศึกษาช่วยงานได้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์

4. สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้มีกิจกรรมการบริการวิชาการโดยการส่งเสริมการอ่านให้กับเยาวชนในชุมชน

5. มุมความรู้ตลาดทุน ที่สนับสนุนโดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้รับการประชาสัมพันธ์ในชุมชน โดยการเข้ามีกิจกรรมที่ให้ผู้สนใจมีส่วนร่วม

การดำเนินการ

ขั้นเตรียมการ

- ประชุมและวางแผนงาน

- เขียนโครงการ

- คัดเลือกนิทานและจัดเตรียมอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการจัดกิจกรรม

ขั้นการดำเนินการ

- แจกบัตรเชิญเข้าร่วมโครงการเล่านิทานส่งเสริมการออมสำหรับเด็ก

- เล่าความเป็นมาของ โครงการเล่านิทานส่งเสริมการออมสำหรับเด็ก

- เล่านิทาน

- ทำกิจกรรมวาดภาพ

- ตอบคำถาม-ชิงรางวัล

รายชื่อนิทานที่นำมาเป็นสื่อประกอบ

วันที่ 18/04/2551 - นักขายกล้วยไข่

- หมูอู๊ดอี๊ดกับกระปุกกายสิทธิ์

วันที่ 25/04/2551 - อูฐออม

- ห้าพี่น้องกับของเล่นใหม่

วันที่ 02/05/2551 - กรุ๊งกริ๊ง

- ฉันจะเก็บบ้างนะ

วันที่ 09/05/2551 - เรื่องเล่าของเจ้าหญิง

- เพนกวินน้อย

วันที่ 16/05/2551 - ออมสินฟักทอง

- รางวัลของอดออม

วันที่ 23/05/2551 - นักขายกล้วยไข่

- ห้าพี่น้องกับของเล่นใหม่

การประเมินผลและสรุปงาน

ในการประเมินผลการดำเนินงานกิจกรรม ได้ดำเนินการประเมินดังนี้

- ประเมินผลเยาวชนหรือผู้ปกครองที่เข้าร่วมโครงการ โดยการทำสถิติผู้เข้าร่วมโครงการ การสังเกต และการสัมภาษณ์

- ประเมินผลการดำเนินงานของนักศึกษาที่เป็นนักศึกษาช่วยงานในโครงการ SET

- การเก็บสถิติการดำเนินงานด้านต่างๆ

สรุปผลการดำเนินการมีดังนี้

สรุปจำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรมการเล่านิทานส่งเสริมการออมสำหรับเด็ก

ครั้งที่ วัน/เดือน/ปี กิจกรรม จำนวน

ผู้เข้าร่วม (คน)

1 18/04/2551 - ลงทะเบียนการเข้าร่วมโครงการเล่านิทานเพื่อการออม

-แนะนำความเป็นมาของโครงการเล่านิทานเพื่อการออม

-อธิบายข้อปฏิบัติการเข้าใช้ห้องสมุด

-กิจกรรมล่ารายชื่อ

-กิจกรรมเล่านิทาน ตอบคำถาม-ชิงรางวัล

-กิจกรรมวาดภาพระบายสี

-กิจกรรมเขียนเรียงความ

-ประเมินผลกิจกรรม 32

2 25/04/2551 -ลงทะเบียนการเข้าร่วมโครงการเล่านิทานเพื่อการออม

-กิจกรรมล่ารายชื่อ

-กิจกรรมเล่านิทาน ตอบคำถาม-ชิงรางวัล

-กิจกรรมวาดภาพระบายสี

-กิจกรรมเขียนเรียงความ

-ประเมินผลกิจกรรม 24

3 02/05/2551 -ลงทะเบียนการเข้าร่วมโครงการเล่านิทานเพื่อการออม

-กิจกรรมล่ารายชื่อ

-กิจกรรมเล่านิทาน ตอบคำถาม-ชิงรางวัล

-กิจกรรมการเข้าใช้ e-learning ของ tsi-thailand.org

-กิจกรรมวาดภาพระบายสี

-กิจกรรมเขียนเรียงความ

-ประเมินผลกิจกรรม 15

4 09/05/2551 -ลงทะเบียนการเข้าร่วมโครงการเล่านิทานเพื่อการออม

-กิจกรรมล่ารายชื่อ

-กิจกรรมเล่านิทาน ตอบคำถาม-ชิงรางวัล

-กิจกรรมการเข้าใช้ e-learning ของ tsi-thailand.org

-กิจกรรมค้นหาคำตอบจากหนังสือ SET

-กิจกรรมวาดภาพระบายสี

-กิจกรรมนักเล่านิทานตัวน้อย

-ประเมินผลกิจกรรม 10

5 16/05/2551 -ลงทะเบียนการเข้าร่วมโครงการเล่านิทานเพื่อการออม

-กิจกรรมล่ารายชื่อ

-กิจกรรมเล่านิทาน ตอบคำถาม-ชิงรางวัล

-กิจกรรมการเข้าใช้ e-learning ของ tsi-thailand.org

-กิจกรรมเล่นเกมถาม-ตอบเรื่องการออม

-กิจกรรมค้นหาคำตอบจากหนังสือ SET

-กิจกรรมวาดภาพระบายสี

-ประเมินผลกิจกรรม 10

6 23/05/2551 -กิจกรรมแนะนำตัว

-กิจกรรมเล่านิทาน ตอบคำถาม-ชิงรางวัล

-กิจกรรมนักเล่านิทานตัวน้อย ตอบคำถาม-ชิงรางวัล

-กิจกรรมการเข้าใช้ e-learning ของ tsi-thailand.org

-กิจกรรมวาดภาพระบายสี

-ประเมินผลกิจกรรม 6

งบประมาณที่ใช้

1. ค่าของรางวัล/ของที่ระลึก 500 บาท

2. ค่าตอบแทนนักศึกษาวันละ 250 บาท 1,500 บาท

(ได้รับการสนับสนุนจาก SET Corner)

รวมทั้งสิ้น 2,000 บาท

ขอบคุณที่ให้ความรู้ แต่ติดใจอยู่เรื่องหนึ่งคือ กิจกรรมและการบริการที่พยายามทำกันขึ้นมา แม้มุ่งหวังจะจูงใจให้มีการใช้ห้องสมุดให้มากขึ้น แต่ในขณะเดียวกันเรากำลังทำให้เขาไม่พยายามพึงตนเองหรือเปล่า เช่นหนังสือเสียง สื่อวิดิทัศน์ที่มาแทนที่การอ่าน

  • ขอบคุณมิติในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของ บรรณารักษ์กำมะลอ นะคะ
  • ในการนี้คงเป็นการสร้างสื่อที่หลากหลาย
  • ให้ผู้ใช้เลือก ที่จะเรียนรู้ตามอัธยาศัย ก็คิดซะว่า มีให้เลือก ดีกว่าไม่มีให้เลือก เนาะ
  • เพราะในการเรียนรู้ต่างๆ อาจแตกต่างไปตามจริตของบุคคลแต่ละคน
  • มีความสุขในวันศุกร์ วันสุดท้ายของการทำงานนะคะ
บรรณารักษ์งูงูปาปา

ได้รับตำแหน่งใหม่ให้ทำงานห้องสมุดแทนคนเก่าที่ย้ายเข้าสารคามพิท ไม่มีความรู้เรื่องบรรณารักษ์เลย ควรเริ่มต้นอย่างไรตรงไหนดีคะ มีหนังสือที่อ่านแล้วเข้าใจและทำได้ง่ายๆ แนะนำเพื่อนบ้างมั้ย กลุ้มใจจังค่ะ มีใครจัดอบรมบรรณารักษ์มือใหม่บ้างมั้ยน้อ

คงเป็นความสามารถส่วนบุคคลของท่านอาจารย์ จึงได้รับมอบหมายให้ช่วยดูห้องสมุด

เรื่องหนังสือแนะนำขอเวลานิดหนึ่งนะคะ

จริงๆ การจัดการห้องสมุด มีแบบหลักการ และหลักกู (ที่อธิบายให้คนอื่นเข้าใจได้) อย่างกังวลใจไปเลยค่ะ

แวะมาหาความรู้เพิ่มเติมค่ะ ขอบคุณที่นำความรู้มาแบ่งปันนะคะ ^^

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท