กระบวนการส่งเสริมการบริหารจัดการความรู้ โดยใช้ PLC


การส่งเสริมให้บุคลากรทุกคน มีความกระตือรือร้นในการศึกษา ค้นหาความรู้  มีความคิดเชิงระบบมีความสามารถรับรู้ เรียนรู้ และนำไปใช้ในการปรับปรุงและพัฒนางาน ก้าวทันการเปลี่ยนแปลง

    สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต ๕ มีการส่งเสริมให้บุคลากรทุกคนมีความกระตือรือร้นในการศึกษา ค้นหาความรู้ มีความคิดเชิงระบบ มีความสามารถรับรู้ เรียนรู้ และนำไปใช้ในการปรับปรุงและพัฒนางาน ก้าวทันการเปลี่ยนแปลงซึ่งกลยุทธ์หลักที่สำคัญของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา คือ สนับสนุนส่งเสริมกระบวนการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community : PLC)โดยมุ่งหวังให้เกิดการพัฒนาครู พัฒนากระบวนการเรียนการสอน สู่การพัฒนาผู้เรียนให้บรรลุเป้าหมายของการจัดการศึกษา โดยมีเป้าหมายของความสำเร็จอยู่ที่สถานศึกษาทุกแห่งมีการจัดกิจกรรม PLC ในระดับดี  ซึ่งจากการติดตามประเมินผลพบว่าสถานศึกษาทุกแห่งมีการจัดกิจกรรม PLC และมีทัศนคติที่ดีต่อกระบวนการ PLC 

    ผลจากการสนับสนุนส่งเสริมให้สถานศึกษาทุกแห่งจัดกระบวนการ PLC นำไปสู่การพัฒนาครูที่มุ่งต่อการพัฒนาผู้เรียน จนเกิดการคิดค้นนวัตกรรมในการจัดการเรียนการสอน เมื่อถึงสิ้นปีการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาได้จัดประกวดนวัตกรรมที่เกิดจากกระบวนการ PLC ซึ่งเมื่อปีการศึกษา ๒๕๖๐ มีผู้ได้รับรางวัล จำนวน ๘๑ คน

เรื่องที่ ๘ การส่งเสริมให้เกิดการจัดการความรู้ (Knowledge Management) 

มีการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community: PLC) ระดับกลุ่ม และระดับองค์การ และระหว่างระดับองค์การ มีการสร้างบรรยากาศและจิตสำนึกร่วมในการทำงานที่ดี และมีการสรุปองค์ความรู้ที่ได้จากการจัดการความรู้อย่างชัดเจน

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต ๕ ได้ให้ความสำคัญกับการจัดการความรู้และกระบวนการ PLC จึงได้กำหนดให้โครงการ PLC เป็นโครงการหลักในการขับเคลื่อนการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ข้อที่ ๓ ตามกรอบแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๑

เรื่องที่ ๙ การส่งเสริม สนับสนุน ให้มีแหล่งเรียนรู้ด้วยรูปแบบและวิธีการที่หลากหลาย เพื่อให้บุคลากรมีโอกาสได้เรียนรู้ ตามบริบทของเขตพื้นที่การศึกษา และมีการใช้แหล่งเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง

   สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต ๕ ได้ส่งเสริมสนับสนุนให้สถานศึกษาทุกแห่งพัฒนาแหล่งเรียนรู้ จนเกิดแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ  เช่น แหล่งเรียนรู้ด้านศิลปหัตถกรรม แหล่งเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นต้น  และอีกแหล่งเรียนรู้หนึ่งที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต ๕ พัฒนามาอย่างต่อเนื่องคือ แหล่งเรียนรู้ทางอินเตอร์เน็ต ซึ่งขณะนี้สถานศึกษาในสังกัดทุกแห่งมีความพร้อมให้ผู้เรียนใช้ศึกษาค้นคว้า สถานศึกษาทุกแห่งมีอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงเพื่อการบริหารจัดการและการจัดการเรียนการสอน

เรื่องที่ ๑๐ การพัฒนาตนเองโดยใช้กระบวนการวิจัยเป็นฐานและนำองค์ความรู้มาประยุกต์ใช้พัฒนางานภายในกลุ่มงานระหว่างกลุ่มงาน และภายในองค์กร

คำสำคัญ (Tags): #plc#ubon5
หมายเลขบันทึก: 660155เขียนเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2019 15:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2019 15:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท