การพัฒนาคุณภาพในการบริหารและการจัดการศึกษา ของสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษา ที่เกิดจากการขับเคลื่อนโครงการ “จัดการเรียนรู้ระดับปฐมวัย ด้วยแนวคิด Montessori”


Montessori

การจัดการเรียนการสอนแบบ Montessori เป็นการจัดสภาพการเรียนรู้สำหรับเด็ก โดยมีครูเป็นผู้จัดสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนให้เหมือนบ้าน และเป็นผู้ให้การสนับสนุน ให้เสรีภาพแก่เด็ก ให้คำปรึกษาและกระตุ้นให้เด็กคิดแก้ปัญหาด้วยตนเอง ให้ใช้จิตใจซึมซับสิ่งแวดล้อม โดยครูคำนึงถึงความสนใจ ความต้องการและความมุ่งมั่นในการเรียนรู้ของเด็ก และยึดหลักความแตกต่างระหว่างบุคคล ส่งเสริมให้เด็กเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างอิสระ จัดสิ่งแวดล้อมและอุปกรณ์ให้เด็กได้ฝึกทักษะ กลไกผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้า รู้จักควบคุมการทำงานด้วยตัวเอง หลักสูตรของ Montessori สำหรับเด็กวัย ๓-๖ ขวบ ครอบคลุมการศึกษา ๓ ด้าน คือ 

๑. ด้านทักษะกลไก (Motor Education) หรือกลุ่มประสบการณ์ชีวิต มีจุดประสงค์  เพื่อฝึกการดูแลและจัดการสิ่งแวดล้อม การทำงานให้เสร็จสมบูรณ์ ความรับผิดชอบและการประสานสัมพันธ์ให้สมดุล 

๒. ด้านประสาทสัมผัส (Education of the Senses) มีจุดประสงค์เพื่อฝึกการสังเกต การใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้าเกี่ยวกับมิติ รูปทรง ปริมาตรของแข็ง ของทึบ อุณหภูมิ 

๓. ด้านการเขียนและคณิตศาสตร์ (Preparation For Writing and Arithmetic) หรือกลุ่มวิชาการ เพื่อเตรียมเด็กเข้าสู่ระดับประถมศึกษา เตรียมตัวด้านการอ่านการเขียนโดยธรรมชาติ การประสมคำ คณิตศาสตร์ การศึกษาทางพฤกษศาสตร์ ภูมิศาสตร์ การประพันธ์เพลง การเคลื่อนไหวมือ 

             โดยในท้ายที่สุดของความเชื่อมโยงที่เชื่อว่า “เด็กเรียนรู้โลกโดยอาศัยการรับรู้ (Sense)ของตัวเอง โดยอาศัยร่างกายของตัวเอง ไม่ใช่โดยการที่คนอื่นบอกให้รู้” ผ่านศักยภาพที่มีอย่างเปี่ยมล้นของวัยแรกเริ่ม ความพร้อมที่จะได้รับการพัฒนาได้อย่างเต็มศักยภาพ ประกอบกับกลไกการทำงานของสมองที่บรรจุเซลล์แห่งพลังการเรียนรู้กว่าหนึ่งแสนล้านเซลล์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต ๕ จึงนำเสนอแนวคิด หลักการ การจัดการเรียนรู้ระดับปฐมวัย ด้วยแนวคิด Montessori ต่อผู้บริหารโรงเรียนในสังกัด เพื่อเป็นทางเลือกสำหรับการพัฒนานักเรียนระดับปฐมวัย ภายใต้ความพร้อมตามบริบทและความสมัครเข้าร่วมดำเนินการของโรงเรียน
ด้วยความมุ่งหวังว่าสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต ๕ จะสร้างต้นกล้า
เพื่อการพัฒนาอย่างเป็นรูปธรรม ภายใต้แนวคิด “การเรียนรู้ คือการเรียนชีวิต”  โดยมีขั้นตอน
การดำเนิน “โครงการจัดการเรียนรู้ระดับปฐมวัย ด้วยแนวคิดMontessori” ภายใต้แนวคิด 

๑. มุ่งเสริมสร้างคุณภาพของการจัดการศึกษา

๒. มุ่งเสริมสร้างความทั่วถึง สะท้อนบริบทและเชื่อมโยงสู่ความเป็นมาตรฐานสากล

๓. มุ่งเสริมสร้างศักยภาพและความเชี่ยวชาญของบุคลากร

๔. มุ่งเสริมสร้างการมีส่วนร่วม

๕. มุ่งเสริมสร้างวัฒนธรรมโรงเรียนเป็นฐาน

แบ่งออกเป็นการดำเนินงาน ๔ ระยะ ดังนี้

ระยะที่ ๑ ระยะการวางแผนการดำเนินงาน ซึ่งเป็นการสำรวจข้อมูล สภาพปัจจุบันปัญหา
การดำเนินงานที่ผ่านมา สำรวจความสมัครใจเข้าร่วมโครงการประชุมสร้างความเข้าใจกับผู้บริหารโรงเรียนและกำหนด  แนวดำเนินงาน การประสานวิทยากร  เตรียม/จัดหาวัสดุอุปกรณ์ และจัดทำสื่อ ในชั้นเรียน/และสื่อ วัสดุประกอบการอบรม เป็นต้น

ระยะที่ ๒ ระยะดำเนินการ เป็นระยะปฏิบัติการ อบรมปฏิบัติการจัดการเรียนรู้ระดับปฐมวัย ด้วยแนวคิด Montessori 

ระยะที่ ๓ ระยะกำกับ ติดตาม ตรวจสอบ เป็นการกำหนดแผนนิเทศ กำกับ ติดตาม จัดทำเครื่องมือและดำเนินการนิเทศ กำกับ ติดตาม และการนิเทศ กำกับ ติดตาม รวมทั้งการสะท้อนผล
การดำเนินการนิเทศ กำกับ ติดตาม

ระยะที่ ๔ ระยะวิเคราะห์ สรุปรายงาน ประกอบการตัดสินใจ เพื่อกำหนดจุดพัฒนา ปรับปรุง เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการนิเทศ กำกับ ติดตาม การจัดทำเป็นข้อสารสนเทศ การประชุมสรุปผลการดำเนินงาน  กำหนดจุดพัฒนาและปรับปรุง และรายงานผลการดำเนินงานต่อเขตพื้นที่การศึกษา และสถานศึกษา

คำสำคัญ (Tags): #montessori#ubon5
หมายเลขบันทึก: 660153เขียนเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2019 15:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2019 15:13 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท