การจัดการระบบประกันคุณภาพการศึกษา


ระบบการประกันคุณภาพการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา โดยมีข้อมูลสารสนเทศในระบบประกัน ส่งเสริมให้สถานศึกษาจัดทำรายงานการพัฒนาตนเอง มีการมอบหมายให้บุคลากรรับผิดชอบ มีการประเมิน ตรวจสอบคุณภาพของสถานศึกษาทุกแห่ง เปิดเผยต่อสาธารณชน และนำผลมาใช้ในการปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพการศึกษา โดยดำเนินการตามระบบการประกันคุณภาพการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต ๕ ดังนี้ 

              จัดทำระบบการประกันคุณภาพการศึกษา เพื่อเป็นกรอบในการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของเขตพื้นที่การศึกษา มาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา 

๑. จัดทำมาตรฐานเขตพื้นที่การศึกษา ประกอบด้วย มาตรฐานที่ ๑ การบริหารจัดการองค์การสู่ความเป็นเลิศ โดยเน้นการบริหารจัดการที่ดี การพัฒนาสู่องค์การแห่งเรียนรู้ การกระจายอำนาจ การกระจายอำนาจและการส่งเสริมการบริหารจัดการอย่างมีส่วนร่วม มาตรฐานที่ ๒ การบริหารและการจัดการศึกษาที่มีประสิทธิภาพ ทั้งด้านการบริหารงานด้านวิชาการ การบริหารงานด้านงบประมาณ การบริหารงานด้านการบริหารงานบุคคล การบริหารงานด้านการบริหารทั่วไป และการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผล และนิเทศการจัดการศึกษาที่มีประสิทธิภาพ และ มาตรฐานที่ ๓ ผลการบริหารและการจัดการศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มีผลงานที่แสดงความสำเร็จ และเป็นแบบอย่างได้ (งานส่งเสริม ยกย่อง และเชิดชูเกียรติ) สถานศึกษามีคุณภาพตามมาตรฐานการประกันคุณภาพการศึกษา ผู้เรียนทุกระดับการศึกษามีคุณภาพตามหลักสูตร ประชากรวัยเรียนได้รับสิทธิและโอกาสทางการศึกษาขั้นพื้นฐานเท่าเทียมกัน ศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น หรือมีความรู้ทักษะพื้นฐาน ในการประกอบอาชีพ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พนักงานราชการ ลูกจ้างในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษามีผลงานเชิงประจักษ์ตามเกณฑ์ ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติ ผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย มีความพึงพอใจในการบริหาร และการจัดการศึกษา รวมทั้งการให้บริการ 

๒. มอบหมายให้บุคลากรรับผิดชอบประเมิน ตรวจสอบคุณภาพของสถานศึกษาทุกแห่ง โดยคณะกรรมการประเมิน ตรวจสอบคุณภาพของสถานศึกษา ประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิจาก สมศ.  ผู้แทนจากหน่วยงานต้นสังกัด (รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา หรือ ศึกษานิเทศก์ที่ผ่านการอบรม) และ ผู้มีประสบการณ์ด้านการบริหารที่จัดการศึกษาในระดับเดียวกัน

๓. คณะกรรมการที่ได้รับแต่งตั้ง ดำเนินการติดตามผลการดำเนินงานครอบคลุมทุกภาระงานของสถานศึกษา โดยสถานศึกษาในสังกัด ๒๕๔ โรงเรียนจัดทำรายงานการพัฒนาตนเอง (SAR) และรายงานการพัฒนาตนเองให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาและสาธารณชนรับทราบ คิดเป็นร้อยละ ๑๐๐ 

๔. ศึกษา วิเคราะห์ รายงานผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา เพื่อรวบรวมและสังเคราะห์ รายงานผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา

๕. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต ๕ และ สถานศึกษาในสังกัดวิเคราะห์ ปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพของสถานศึกษาตามข้อเสนอแนะของสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษาและผลการประเมินตนเอง แล้วนำผลการวิเคราะห์ ปรับปรุงดังกล่าว มาใช้ในวางแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาในปีการศึกษาต่อไป 

๖.​ให้ความร่วมมือกับสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษาในการประเมินภายนอก









หมายเลขบันทึก: 660154เขียนเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2019 15:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2019 15:24 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท