การประมวลผลแบบควอนตัม


เรามาทำความรู้จักกับการประมวลผลของคอมพิวเตอร์แห่งอนาคต ที่เป็นความหวังใหม่ของมวลมนุษยชาติ โดยได้รับการพิสูจน์แล้วว่า เร็วกว่าคอมพิวเตอร์ปัจจุบันเป็นล้านเท่า ที่เรียกว่า “Quantum Computing”

การประมวลผลแบบควอนตัม

Quantum Computing

พลตรี มารวย  ส่งทานินทร์

[email protected]

16 กุมภาพันธ์ 2562

    บทความเรื่อง การประมวลผลแบบควอนตัม (Quantum Computing) ดัดแปลงมาจากบทความทางอินเตอร์เน็ตหลาย ๆ แหล่ง เช่น https://en.wikipedia.org/wiki/Quantum_computing, https://thestandard.co/quantum-computer-1/, https://www.cbinsights.com/research/report/quantum-computing/, https://uwaterloo.ca/institute-for-quantum-computing/quantum-computing-101, และ https://www.wired.co.uk/article/quantum-computing-explained, เป็นต้น

    ผู้ที่สนใจบทความนี้ PowerPoint (PDF file) สามารถ Download ได้ที่ https://www.slideshare.net/maruay/quantum-computing-131996817

    เกริ่นนำ

    • ปัจจุบันนี้ คอมพิวเตอร์ได้กลายเป็นเครื่องมือหลัก ทั้งด้านการทำงานและความบันเทิงของหลายๆ คน
    • แม้คอมพิวเตอร์จะเร็วขึ้นเพียงใด แต่ก็ยังตอบสนองไม่เพียงพอต่อการใช้งานของมนุษย์
    • เรามาทำความรู้จักกับการประมวลผลของคอมพิวเตอร์แห่งอนาคต ที่เป็นความหวังใหม่ของมวลมนุษยชาติ โดยได้รับการพิสูจน์แล้วว่า เร็วกว่าคอมพิวเตอร์ปัจจุบันเป็นล้านเท่า ที่เรียกว่าQuantum Computing”

    เทคโนโลยีใหม่

    • Satya Nadella (CEO ของ Microsoft Corp.) กล่าวว่าการประมวลผลแบบควอนตัม (Quantum Computing) เป็นหนึ่งในสามของเทคโนโลยีใหม่ ที่จะพลิกโฉมโลก เช่นเดียวกับ ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial intelligence) และ สิ่งประดิษฐ์ที่ใช้ยึดติดเข้ากับร่างกายของมนุษย์ (Augmented Reality)
    • ช่วงหลังมานี้ เราเริ่มจะได้ยินข่าวเกี่ยวกับ ควอนตัมคอมพิวเตอร์ (Quantum Computer) กันมากขึ้น ทั้งเรื่องของการวิจัยพัฒนา จนไปถึงความพยายามสร้างเพื่อเอาไปใช้จริง
    • หลายหน่วยงานในต่างประเทศก็เริ่มพูดถึง และให้การสนับสนุนงานวิจัยเหล่านี้กันมากขึ้นเรื่อยๆ
    • หลายคนเชื่อกันว่า นี่จะเป็นวิวัฒนาการของคอมพิวเตอร์แบบก้าวกระโดด

    การประมวลผลแบบควอนตัม

    • ควอนตัมคอมพิวเตอร์ พร้อมที่จะยกระดับอุตสาหกรรมทั้งหมด ตั้งแต่การสื่อสารโทรคมนาคม ความปลอดภัยทางไซเบอร์ ไปจนถึงการผลิต การเงิน การแพทย์ และอื่น ๆ
    • แต่มีน้อยคนที่เข้าใจว่า ควอนตัมคอมพิวเตอร์ทำงานอย่างไร

    คำนิยาม

    • การประมวลผลแบบควอนตัม (Quantum computing) เป็นการประมวลผลโดยใช้กลไกปรากฎการณ์ของควอนตัม คือ การทับซ้อน (superposition) และการพัวพัน (entanglement)
    • ควอนตัมคอมพิวเตอร์ (Quantum Computer) คือเครื่องมือที่ใช้ในการประมวลผลแบบควอนตัม

    ทฤษฎีควอนตัม

    • ทฤษฎีควอนตัมเริ่มต้นในปี ค.ศ. 1900 ด้วยการนำเสนอของ Max Planck ไปยัง German Physical Society ซึ่งเขาได้มีแนวคิดว่าในแต่ละหน่วย (individual units) มีทั้งพลังงานและสสารปรากฏอยู่ ซึ่งเขาเรียกว่า "ควอนตัม (quanta)"
    • อีกสามสิบปีเรื่อยมา มีการพัฒนาต่อยอดโดยนักวิทยาศาสตร์จำนวนมาก ซึ่งนำไปสู่ความเข้าใจของทฤษฎีควอนตัมที่ทันสมัยมากยิ่งขึ้น

    ควอนตัมฟิสิกส์

    • มีสองประเด็นที่เกี่ยวข้องมากที่สุดของควอนตัมฟิสิกส์ คือหลักการของการทับซ้อน (superposition) และการพัวพัน (entanglement)
    • การทับซ้อน  คือการที่อนุภาคมีพฤติกรรมราวกับว่าอยู่ในทั้งสองสถานะพร้อมกัน (ทั้ง 0 และ 1)
    • การพัวพัน คือการที่อนุภาค (ที่มีปฏิสัมพันธ์กันแล้วยังคงรักษาการเชื่อมต่อ) มีการพัวพันกันเป็นคู่ ในกระบวนการที่เรียกว่า ความสัมพันธ์ (correlation)
    • การทับซ้อน เป็นหลักความสามารถของระบบควอนตัม ที่จะอยู่ในหลาย ๆ สถานภาพในเวลาเดียวกัน นั่นคืออาจเป็น "ที่นี่"และ"ที่นั่น" หรือ "ขึ้น"และ"ลง" ในเวลาเดียวกัน
    • การพัวพัน คือความสัมพันธ์ที่แข็งแกร่งอย่างยิ่ง ซึ่งมีอยู่ระหว่างอนุภาคควอนตัม ที่ควอนตัมสองอนุภาคหรือมากกว่า สามารถเชื่อมโยงกันสมบูรณ์แบบ แม้ว่าจะอยู่ห่างกันด้วยระยะทางที่แสนไกลมาก ๆ ที่นักวิทยาศาสตร์เองก็ยังอธิบายไม่ได้Einstein อธิบายการพัวพันนี้ว่าเป็น“การหลอกหลอนจากระยะทางที่ไกล (spooky action at a distance)”

    Quantum Computing คืออะไร

    • Quantum Computing ก็คือระบบคอมพิวเตอร์ที่เปลี่ยนจากการทำงานบนแผงวงจร มาใช้คุณสมบัติพิเศษของอะตอมแทน
    • โดยที่คอมพิวเตอร์ปัจจุบัน จะแทนค่าข้อมูลด้วย Bit อันประกอบด้วยตัวเลข 0 กับ 1 เรียกว่าเลขฐานสอง (Binary Digit) แล้วนำไปประกอบกัน เช่น 32 bits หรือ64 bits เป็นต้น
    • แต่ระบบ Quantum Computing จะใช้อะตอมที่มีคุณสมบัติของ Quantum Bit (หรือ Qubit) ที่สามารถประมวลผลเป็นตัวเลข 0 หรือ 1 พร้อมกันได้ในเวลาเดียวกัน

    การเปรียบเทียบการประมวลผลแบบควอนตัมกับปัจจุบัน

    • ขอใช้เหรียญเพื่อความเข้าใจง่ายดังนี้
    • คอมพิวเตอร์ปัจจุบัน ใช้ทรานซิสเตอร์เป็นสวิทช์เปิดหรือปิด เปรียบเสมือนเหรียญที่วางราบอยู่ ที่จะเป็นหัวหรือก้อยอย่างใดอย่างหนึ่ง
    • แต่ถ้าเป็นเหรียญที่กำลังหมุนอยู่ ก็จะเป็นไปได้ทั้งหัวและก้อย นั่นคือการประมวลผลแบบควอนตัม (ซึ่งเราจะรู้ผลว่าออกหัวหรือก้อย ก็จนกว่าเหรียญจะหยุดหมุนแล้วพลิกลงด้านใดด้านหนึ่ง)

    Qubits

    • Qubits สามารถเป็นค่าใด ๆ ตั้งแต่ 0 ถึง 1 หรือมีคุณสมบัติของค่าทั้งสองนี้พร้อมกัน ทำให้มีความเป็นไปได้มากขึ้นสำหรับการคำนวณ ดังนั้น จำนวนการคำนวณที่ควอนตัมคอมพิวเตอร์สามารถทำได้คือ 2n โดยที่ n คือจำนวน Qubits ที่ใช้
    • คุณสมบัติดังกล่าว ทำให้ Qubit ทำงานได้เร็วกว่า Bit อย่างมหาศาล (1 qubit = 2, 2 qubits = 4, 3 qubits = 8, 300 qubits = ?)
    • นอกจากนี้ Qubit ยังสามารถสื่อสารกับอะตอมที่เป็น Qubit ด้วยกันได้โดยไม่ต้องผ่านสื่อกลาง ทำให้ Qubit สามารถประมวลผลร่วมกันได้ราบรื่นและรวดเร็ว รวมถึงรองรับงานแบบ Multitasking ได้ง่ายกว่า
    • โดยเมื่อปี ค.ศ. 2015 มีประกาศจาก Google ว่า Quantum Computer ที่พวกเขาพัฒนาขึ้น มีความเร็วมากกว่า PC ทั่วไปถึง 100 ล้านเท่า!!

    ข้อจำกัดของ Qubit

    • แต่อย่างไรก็ตาม ระบบ Quantum Computing ก็มีข้อจำกัดอยู่ เช่น ตัว Qubit ที่มีขนาดเล็กกว่าอะตอมและเปราะบาง หากมีสิ่งรบกวนเพียงเล็กน้อย คุณลักษณะของ Qubit ดังกล่าวก็จะหายไป (decoherence) พร้อมข้อมูลภายใน
    • อีกทั้งยังไม่พบวิธีการคัดลอก Qubit เพื่อสำรองข้อมูลโดยสมบูรณ์
    • ยังไม่นับเรื่องการเก็บรักษา Qubit ให้พร้อมใช้งาน ซึ่งต้องอยู่ในอุณหภูมิศูนย์สมบูรณ์หรือ -273.15 องศาเซลเซียส

    Quantum Computing ในอนาคต

    • จริงๆ แล้ว แนวคิดเรื่องการนำ Quantum มาใช้กับคอมพิวเตอร์ มีมาตั้งแต่ยุคปี ค.ศ. 1980 แต่เนื่องจากมีความซับซ้อนทางฟิสิกส์ค่อนข้างสูงมาก รวมถึงต้องทำการวิจัยในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม การวิจัยจึงยังอยู่ในวงจำกัด
    • ต่อมาเมื่อเทคโนโลยีพัฒนาขึ้น ระบบ Quantum Computing จึงได้รับการสานต่อโดยบริษัทไอทียักษ์ใหญ่และประเทศเศรษฐกิจชั้นนำ จนมีแนวโน้มว่าเราอาจจะได้ใช้คอมพิวเตอร์ที่ประมวลผลโดย Qubit ภายใน 10 ปีที่จะถึงนี้

    การนำ Quantum Computing ไปใช้งานในด้านต่างๆ

    • 1. พลิกรูปแบบการรักษาความปลอดภัยออนไลน์
    • 2. ลับสมองให้ปัญญาประดิษฐ์
    • 3. ทดลองทางเคมีเพื่อพัฒนายารักษาโรค
    • 4. พัฒนาการพยากรณ์อากาศให้แม่นยำยิ่งขึ้น
    • 5. ช่วยจัดการคมนาคมให้ใช้ได้เต็มประสิทธิภาพ

    1. พลิกรูปแบบการรักษาความปลอดภัยออนไลน์

    • ปัจจุบัน ระบบ Online Security จะทำงานด้วยการเข้ารหัสจำนวนมาก ซึ่งแน่นอนว่า Quantum Computing สามารถถอดรหัสทั้งหมดได้อย่างง่ายดาย
    • แต่หากว่าเรานำ Quantum Computing มาเป็นเครื่องประมวลผลรหัสแทน ก็อาจจะได้แม่กุญแจและกุญแจที่แข็งแรงกว่าที่เคย

    2. ลับสมองให้ปัญญาประดิษฐ์

    • พลังประมวลผลอันรวดเร็วจากระบบ Quantum Computing สามารถเร่งกระบวนการเรียนรู้ของAI หรือปัญญาประดิษฐ์ ให้เร็วกว่าที่เป็นอยู่ได้ ทำให้ AI ถูกพัฒนาเพื่อแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ดียิ่งขึ้น

    3. ทดลองทางเคมีเพื่อพัฒนายารักษาโรค

    • การสร้างยารักษาโรคแต่ละชนิด ต้องอาศัยการคำนวณอันละเอียดและแม่นยำQuantum Computing ไม่เพียงแต่ทำได้อย่างรวดเร็ว แต่ยังสามารถคำนวณค่าต่างๆ พร้อมกัน
    • อีกทั้งในอนาคต การออกแบบยารักษาโรคจะลงลึกไปถึงในระดับวิเคราะห์ DNA เพื่อผลิตยาที่เหมาะสมกับแต่ละคน
    • ประสิทธิภาพของเทคโนโลยี Qubit สามารถตอบโจทย์ ทั้งด้านความแม่นยำและเวลา เพื่อรักษาอาการเจ็บป่วยได้ทันท่วงที

    4. พัฒนาการพยากรณ์อากาศให้แม่นยำยิ่งขึ้น

    • ภัยพิบัติทางธรรมชาติก่อความเสียหายแก่ชีวิตและทรัพย์สินมากมาย แต่ด้วยเครื่องมือปัจจุบัน การพยากรณ์อากาศแทบจะเป็นเกมเดาสุ่ม
    • เราจึงจำเป็นต้องใช้ประสิทธิภาพของ Quantum Computing เพื่อปรับปรุงการคาดการณ์ให้แม่นยำยิ่งขึ้น โดยปัจจุบัน หน่วยงานพยากรณ์อากาศแห่งชาติของสหราชอาณาจักร ได้นำเทคโนโลยี Quantum Computing มาใช้ เพื่อจำลองแนวโน้มสภาพอากาศ ที่พอจะคาดเดาได้แม่นยำขึ้น

    5. ช่วยจัดการคมนาคมให้ใช้ได้เต็มประสิทธิภาพ

    • ไม่ว่าจะบนฟ้า บนพื้นดิน หรือบนผิวน้ำ ความเร็วของระบบ Quantum Computing สามารถนำมาใช้ประเมินเส้นทางให้เราเดินทางได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ช่วยประหยัดเวลา ลดค่าใช้จ่าย เพิ่มความปลอดภัยให้ผู้ใช้ บนวิถีการจราจรอันซับซ้อนขึ้นทุกวัน

    ควอนตัมคอมพิวเตอร์

    • Quantum Computer นำคุณสมบัติของ ‘อะตอม’ มาใช้ในการประมวลผล ทำให้มีการประมวลผลที่เร็วกว่าคอมพิวเตอร์ทั่วไปอย่างมหาศาล ทำให้คอมพิวเตอร์เรียนรู้ได้ไวขึ้น
    • บริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่และประเทศมหาอำนาจ เช่น อเมริกา จีน ยุโรป ต่างทุ่มทุนในการพัฒนาเทคโนโลยีนี้แล้วในห้องแล็บ และคาดว่าจะนำมาใช้ในเชิงพาณิชย์ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า
    • กฎของมัวร์ กล่าวไว้ว่าทรานซิสเตอร์ในวงจรไอซี จะมีจำนวนเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัวทุกๆ 2 ปี ในวงจรขนาดเท่าเดิม หากกฎข้อนี้ยังคงเป็นจริงไปเรื่อยๆ สักวันหนึ่งทรานซิสเตอร์ก็จะมีขนาดเล็กลงจนแทบจะเท่ากับอะตอม เมื่อถึงเวลานั้น ฟิสิกส์ในชีวิตประจำวันจะไม่สามารถอธิบายปรากฎการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นภายในวงจรได้อีกต่อไป
    • ควอนตัมฟิสิกส์จึงเข้ามามีบทบาทแทน
    • แทนที่จะเพิ่มแค่จำนวนทรานซิสเตอร์ขนาดเล็กเข้าไปเรื่อยๆ ก็มีนักวิทยาศาสตร์เกิดความคิดว่า ทำไมไม่ลองเอาสมบัติบางประการในควอนตัมฟิสิกส์มาใช้ในการคำนวณ ที่เรียกกันว่า“การประมวลผลแบบควอนตัม” (quantum computing)
    • ศาสตร์นี้เริ่มมีมาในช่วงต้นปี ค.ศ. 1980 แล้ว แต่ยังไม่ได้รับความสนใจมากนัก จนกระทั่งปี ค.ศ. 1994 ถึงจะเริ่มมาบูม เนื่องจากมีคนพัฒนาอัลกอริทึม หาตัวประกอบเฉพาะของจำนวนเต็มขนาดใหญ่ ด้วยควอนตัมคอมพิวเตอร์ได้สำเร็จ

    กฎของดอกกุหลาบ (Rose’s Law)

    • Steve Jurvetson ขนานนาม ปรากฏการณ์ของการเพิ่มขีดความสามารถของควอนตัมคอมพิวเตอร์ว่า“กฎของดอกกุหลาบ (Rose’s Law)”
    • กฎของดอกกุหลาบ ใช้สำหรับการประมวลผลแบบควอนตัม คู่ขนานกับ กฎของมัวร์ ที่ใช้สำหรับการพัฒนาโปรเซสเซอร์เซมิคอนดักเตอร์ เพราะควอนตัมคอมพิวเตอร์มีการพัฒนาอย่างรวดเร็วมาก ๆ

    อุปสรรคสำคัญของการสร้างควอนตัมคอมพิวเตอร์

    • เนื่องจากคิวบิตเป็นอนุภาคเล็ก และอยู่ท่ามกลางอนุภาคอื่นๆ รายล้อมนับพัน จึงมีโอกาสสูงมากที่จะถูกอนุภาคในสภาพแวดล้อมเข้าไปรบกวนจนสถานะเปลี่ยนแปลงไป ทำให้ข้อมูลในสถานะ superposition สูญเสียไปด้วย เหตุการณ์ทั้งหมดนี้ เกิดขึ้นเพียงแค่เสี้ยววินาทีเท่านั้น
    • สิ่งเหล่านี้เป็นอุปสรรค ที่ทำให้เครื่องควอนตัมคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่จึงยังไม่ถูกสร้างขึ้นมาโดยง่ายนัก

    เราไปถึงไหนกันแล้ว

    • ในปัจจุบัน หลายๆ สถาบันทั่วโลกทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และมหาวิทยาลัย ต่างก็เร่งมือให้การสนับสนุนและผลิตงานวิจัยด้านการประมวลผลแบบควอนตัมกันมากขึ้นเรื่อยๆ จนเรียกได้ว่าเป็นยุคทองของการวิจัยด้านนี้
    • โดยส่วนใหญ่แล้ว จะมุ่งสร้างควอนตัมคอมพิวเตอร์ให้รองรับคิวบิตจำนวนมาก เพราะยิ่งมีคิวบิตในระบบมาก นักวิจัยก็จะสามารถใช้ทดลองกับ อัลกอริทึม (algorithms) ที่ซับซ้อน หรือด้วยข้อมูลนำเข้าขนาดใหญ่ เพื่อทดสอบประสิทธิภาพของมันได้
    • เป้าหมายสูงสุดของการวิจัยอย่างหนึ่ง คือการสร้างคอมพิวเตอร์ที่สามารถรันอัลกอริทึมใดๆ ก็ได้ นักวิทยาศาสตร์เรียกควอนตัมคอมพิวเตอร์ประเภทนี้ว่า เป็น Universal Quantum Computer ซึ่งอาจจะต้องใช้คิวบิตมากกว่าหนึ่งแสนตัวเลยทีเดียว
    • การสร้างคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่และมีความซับซ้อนแบบนี้ อาจต้องรอกันอีกนาน เพราะยังต้องหาองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการคิวบิตในปริมาณมากๆ กระบวนการตรวจสอบและแก้ไขข้อผิดพลาด วัสดุทางกายภาพอื่นๆ ไปจนถึงสถาปัตยกรรมต่างๆ ของควอนตัมคอมพิวเตอร์

    นักวิทยาศาสตร์ควบคุมอนุภาคขนาดเล็กที่ทำหน้าที่เป็น Qubits โดยใช้

    • 1. กับดักไอออน (Ion traps) ใช้แสงหรือสนามแม่เหล็ก (หรือทั้งสองอย่างรวมกัน) เพื่อดักจับไอออน
    • 2. กับดักแสง (Optical traps) ใช้คลื่นแสงเพื่อดักจับและควบคุมอนุภาค
    • 3. จุดควอนตัม (Quantum dots) ทำจากวัสดุเซมิคอนดักเตอร์ เพื่อบรรจุและปรับเปลี่ยนอิเล็กตรอน
    • 4. เซมิคอนดักเตอร์ที่สกปรก (Semiconductor impurities) อิเล็กตรอนของอะตอม "ไม่พึงประสงค์" ที่พบในวัสดุเซมิคอนดักเตอร์
    • 5. วงจรตัวนำยิ่งยวด (Superconducting circuits) ที่อนุญาตให้อิเล็กตรอนไหล โดยแทบไม่มีความต้านทานที่อุณหภูมิต่ำมาก

    การสร้างควอนตัมคอมพิวเตอร์

    • เราต้องการ Qubits ที่มีพฤติกรรมตามที่เราต้องการ
    • Qubits เหล่านี้อาจทำจากโฟตอน, อะตอม, อิเล็กตรอน, โมเลกุล หรืออย่างอื่น
    • นักวิทยาศาสตร์กำลังทำการวิจัยเพื่อเพิ่มจำนวนให้มากขึ้น เพื่อเป็นฐานสำหรับควอนตัมคอมพิวเตอร์
    • แต่ Qubits นั้นหากมีการรบกวนใด ๆ เกิดขึ้น จะทำให้หลุดออกจากสถานะควอนตัม("Decohere")

    ผู้ผลิต

    • D-Wave Systems Inc. เป็นบริษัทของแคนาดา ได้กลายเป็นบริษัทแรกที่จำหน่ายควอนตัมคอมพิวเตอร์ในปี ค.ศ. 2011 แม้ว่าจะมีข้อจำกัดด้วยปัญหาทางคณิตศาสตร์บางประเภท
    • IBM, Google, Intel และ Rigetti Computing ได้สร้างควอนตัมคอมพิวเตอร์ที่ทำงานได้ และขายเวลาให้กับธุรกิจและนักวิจัยผ่านระบบคลาวด์
    • Intel ได้เริ่มจัดส่งชิปควอนตัมแบบยิ่งยวดให้กับนักวิจัย
    • Microsoft มีโปรแกรมที่สนับสนุนควอนตัมคอมพิวเตอร์ โดยใช้การออกแบบพิเศษ ซึ่งอาจทำให้เป็นประโยชน์มากขึ้นสำหรับการใช้งานเชิงพาณิชย์
    • ในขณะเดียวกัน จีน กำลังสร้างห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ควอนตัมสารสนเทศแห่งชาติ มูลค่า $ 10,000 ล้าน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการผลักดันครั้งใหญ่ในสาขานี้

    ควอนตัมคอมพิวเตอร์เชิงพาณิชย์

    • ในเดือนมกราคม ค.ศ. 2019 ไอบีเอ็มเปิดตัวควอนตัมคอมพิวเตอร์เชิงพาณิชย์เครื่องแรก ที่งาน Consumer Electronics Show (CES)
    • IBM Q System One ใช้ 20 qubits ที่มีองค์ประกอบทั้งแบบคลาสสิกและแบบควอนตัม และจากการประกาศของบริษัททำให้ชัดเจนว่า ต้องอาศัยเวลาก่อนที่ควอนตัมคอมพิวเตอร์เชิงพาณิชย์ จะสามารถเอาชนะเครื่องจักรคลาสสิกในปัจจุบัน

    ในอนาคต

    • ควอนตัมคอมพิวเตอร์สามารถใช้เพื่อเร่ง ปัญญาประดิษฐ์ (AI)
    • การเรียนรู้ด้วยเครื่องควอนตัมคอมพิวเตอร์ ทำให้ AI มีประสิทธิภาพมากขึ้น ในการทำงานที่ซับซ้อนเลียนรูปแบบของมนุษย์ ตัวอย่างเช่น การทำงานหุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์ ให้มีการตัดสินใจที่ดีที่สุดในเวลาจริง ภายใต้สถานการณ์ที่ไม่แน่นอน
    • การฝึกอบรม AI กับควอนตัมคอมพิวเตอร์ จะเพิ่มความสามารถในการมองเห็นของคอมพิวเตอร์ การจดจำรูปแบบ การจดจำเสียง การแปลภาษาด้วยคอมพิวเตอร์ และอื่น ๆ

    สรุป

    • อาจต้องใช้เวลาอีกสักสองสามปี กว่าที่ควอนตัมคอมพิวเตอร์จะประสบความสำเร็จได้อย่างเต็มศักยภาพ
    • มหาวิทยาลัยและธุรกิจต่าง ๆ ที่ทำงานด้านนี้อยู่ กำลังเผชิญปัญหาการขาดแคลนนักวิจัยที่มีทักษะ และยังขาดผู้ส่งมอบอุปกรณ์ที่สำคัญบางอย่าง
    • ถ้าเครื่องควอนตัมคอมพิวเตอร์ทำได้ตามคำสัญญา จะเป็นการเปลี่ยนโฉมอุตสาหกรรมทั้งหมด และจะเป็นตัวเร่งการสร้างนวัตกรรมระดับโลกได้อย่างไม่น่าเชื่อ

    ***********************************

    หมายเลขบันทึก: 659956เขียนเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2019 10:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2019 10:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


    ความเห็น (1)

    I think ‘quantum computer’ is very much in the same area as artificial intelligence (AI) and natural language processing (NL) - long history of promises and disappointments; slow progress needing ‘quantum leaps’ and ‘innovations’. It is very much the same as “what I could do IF I HAD …”.

    We can be waiting for long while before we see ‘out of the lab’ quantum computers. In the meanwhile, super computers are realizable and within affordable costs for Thailand’s universities and government departments. Super computers are useful for developments for Thailand 4.0 (for the next 10-15 years) and perhaps beyond. Skills and resources in high/advanced computing can be built up NOW. We don’t have to wait to buy quantum computers.

    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท