เที่ยวอินเดียกับสุภัชชาตอน.เส้นทางนาลันทาไปพุทธคยา ทางเกวียนโบราณอายุ ๓,๐๐๐ ปี


ในอดีตกาลใช้เกวียนเป็นพาหนะในการเดินทางและพระพุทธองค์ทรงใช้เป็นเส้นทางเผยแผ่ศาสนาอบรมสั่งสอนประชาชนชาวเมืองคะ


กรุงราชคฤห์ เป็นเมืองหลวงของแคว้นมคธ ซึ่งเป็นแคว้นที่เรืองอำนาจที่สุดในยุคพุทธกาล พระเจ้าพิมพิสาร เป็นจอมกษัตริย์ผู้ครองแคว้นนี้ และที่สำคัญเป็นเมืองที่มีความเกี่ยวข้องหลายประการ ในการประดิษฐานและเผยแผ่พระพุทธศาสนา เป็นเมืองที่มีความสำคัญหลายอย่างเกิดขึ้น เช่น เป็นบ้านเกิดของพระอัครสาวกทั้งสอง เป็นที่เกิดวัดแห่งแรกในพระพุทธศาสนา คือ พระเวฬุวันมหาวิหาร เป็นเมืองที่พระพุทธองค์ทรงแสดงโอวาทปาฏิโมกข์ ซึ่งเป็นหัวใจ และหลักการในพระพุทธศาสนา ในวันเพ็ญเดือนมาฆะ เป็นที่ตั้งของถ้ำสัตตบรรพตคูหา ที่ประชุมสงฆ์ทำสังคายนาครั้งที่ ๑ และเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยนาลันทา มหาวิทยาลัยแห่งแรก อันลือชื่อของโลก และยอดเขาคิชฌกูฏที่เราได้ยินคุ้นหูในพุทธประวัติหลายตอน ก็อยู่ที่เมืองแห่งนี้


รอยทางเกวียนโบราณพันปี มหานครราชคฤห์ ในยุคสมัยตั้งแต่พระเจ้าพิมพิสาร เป็นต้นมา มีความเจริญรุ่งเรืองมาโดยลำดับ ทางเกวียนโบราณอายุ ๓,๐๐๐ ปี มีลักษณะเป็นรอยล้อเกวียน เป็นร่องลึกลงไปในหินประมาณ ๑ คืบ กว้างเกือบ ๑ ฟุต จุดที่สามารถชมได้ยาวประมาณ ๒๐๐ เมตร ทอดเป็นแนวยาว กลางลานหินขนาดประมาณ ๕ ไร่ แต่คงจะมียาวไปเรื่อยๆ แต่ร่องรอยอาจจะไม่ชัดเจนเท่าจุดนี้นัก 


ทางรัฐบาลอินเดียจึงจัดเฉพาะจุดนี้ ไว้ให้นักท่องเที่ยวเข้ามาดู  ถนนเส้นนี้ เป็นเส้นทางการสัญจรขนส่งสินค้าในสมัยโบราณ น่าคิดว่า ขนาดถนนซึ่งเป็นหินล้วนๆ ถูกล้อเกวียนบดไปมาจนเป็นร่องลึกได้ แสดงให้เห็นว่า ระยะเวลาที่ผู้คนยุคนั้นใช้ถนนเส้นนี้เป็นทางสัญจรขนส่ง คงจะต่อเนื่องยาวนานมาก ชวนให้จินตนาถึงภาพความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจในอดีตของประชาชนในยุคนั้น


หมายเลขบันทึก: 659438เขียนเมื่อ 22 มกราคม 2019 22:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มกราคม 2019 22:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท