พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒


กฎหมายการศึกษาใหม่ยังไม่ออก กฎหมายพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การศึกษาแห่งชาติฉบับแรก พ.ศ. ๒๕๔๒ ยังมีผลบังคับใช้ต่อไป และด้วยความที่ พ.ร.บ. ฉบับนี้ไม่ได้ล้าสมัยและไม่มีอะไรขัดแย้งกับรัฐธรรมนูญใหม่ (พ.ศ. ๒๕๖๐) (ผมชี้แจงไว้ที่นี่) จึงคาดว่า คงไม่มีอะไรเปลี่ยนไปมากนัก... ดังนั้น จึงน่าจะคุ้มค่าต่อการสรุปเป็น "ภาพความคิดรวบยอด" ("concept-graphic) ดังภาพ 

ท่านอาจเกิดความสงสัยเหมือนผมว่า รัฐธรรมนูญ พ.ศ. ๒๕๖๐ ออกใหม่แล้ว  พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ ที่ตราขึ้นตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. ๒๕๔๐ ฉบับเก่า จะมีผลบังคับใช้ต่อไปหรือไม่ คำตอบคือ ยังต้องใช้ต่อไปครับ รัฐธรรมนูญคือกฎหมายสูงสุด พระราชบัญญัติก็เป็นกฎหมาย ไม่เกี่ยวกัน เพียงร่างขึ้นให้สอดคล้องกัน หากมีการขัดแย้งกัน ต้องเอากฎหมายสูงสุดเป็นสำคัญเท่านั้นเอง 

เรายังจะใช้ พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติต่อไป อาจมีการปรับแก้ไขบ้างไม่มาก ที่ผ่านมา พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ ได้รับการแก้ไขเพิ่มเติม ๒ ครั้ง ดังนี้ (ดาวน์โหลดที่ 20190114181536.pdf)

ปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๔๕ สำคัญ ๆ  ดังนี้ 

  • มาตรา ๓๑   
    • เปลี่ยนจากคำว่า "ให้กำกับดูแล" เป็นคำว่า "ให้ส่งเสริมและกำกับดูแล" 
    • เปลี่ยนจากคำว่า "ให้กำกับดูแลการศาสนา ศิลปะและวัฒนะธรรม" เป็นการ "ส่งเสริมและประสานงานการศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรม"  (เกิดกระทรวงใหม่การท่องเที่ยวและวัฒนธรรม)
  • มาตรา ๓๒ เพิ่ม "คณะกรรมการอาชีวศึกษา" 
  • มาตรา ๓๔ เพิ่มหน้าท่ของคณะกรรมการอาชีวศึกษา
  • มาตรา ๓๘-๓๙ ดึงหน้าที่หรือคณะกรรมการที่เกี่ยวโดยตรงกับ "ศาสนาและวัฒนธรรม" ออก
  • มาตรา ๔๐ เพิ่มบทบาทของคณะกรรมการอาชีวศึกษา
  • มาตรา ๔๕ ดึงบทบาทด้านศาสนาและวัฒนธรรมออก

ปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๓ สำคัญ ๆ ดังนี้ 

  • มาตรา ๓๗ เพิ่มข้อความให้เกิดการแยกเขตพื้นที่ระดับมัธยมศึกษาและระดับประถมศึกษาออกจากกัน 
  • มาตรา ๓๘ กำหนดเพิ่มเติมว่า สถานศึกษาเอกชนหรือสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จะอยู่ในอำนาจหน้าที่เขตการศึกษาพื้นที่ใด ให้รัฐมนตรีประกาศ โดยให้คณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐานแนะนำ 

โดยสรุป แก้ไข พ.ศ. ๒๕๔๕ เพื่อแยกศาสนาและวัฒนธรรมออก และเพิ่มการอาชีวศึกษาให้ชัด ๆ  ส่วน พ.ศ. ๒๕๕๓ เพื่อแยกการบริหารการมัธยยมออกจากประถมนั่นเอง 

สังเกตที่ภาพ concept graphic ผมทำตัวอักษรสีแดงไว้ที่ มาตรา ๒๗ และ ๓๔  ซึ่ง พ.ร.บ. ฉบับนี้สั่งให้คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานไปจัดทำ "หลักสูตรแกนกลาง"  ตรงนี้เองที่ต่อมาพัฒนามาเป็นหลักสูตรแกนกลาง พ.ศ. ๒๕๕๑  ที่มักอ้างถึงในวิทยานิพนธ์นิสิตบัณฑิตศึกษา  

มาว่ากันต่อบันทึกหน้าครับ

หมายเลขบันทึก: 659279เขียนเมื่อ 14 มกราคม 2019 08:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มกราคม 2019 18:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท