SMART Phone เสริมสร้าง EF คิดดี พูดดี ทำดี


ฉลองวันเด็กด้วยข้อมูลดีงาม...ด้วยความขอบคุณน้องโยและทีมงานคุณภาพ Mahidol Channel รวมทั้งกัลยาณมิตรที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้น่าสนใจ

แม้ว่าจะมีผู้ปกครองหลายท่านที่บอกว่า "มันยาก ทำไม่ได้หรอก" บางท่านที่บอกว่า "ให้เลือกเทคโนโลยีที่เหมาะสมก็จะพัฒนาลูกให้อัจฉริยะได้" บางท่านถามว่า "แล้วอายุ 0-3 ปี จะต้องทำอย่างไรให้ใช้มือถือได้เหมาะสม" หรือมีผู้เชี่ยวชาญเสนอว่า "เล่นมือถือได้ตั้งแต่ 2 ขวบขึ้นไป แต่ให้จำกัดเวลาไม่เกิน 30-60 นาทีต่อวัน" ผมจึงขอค้นคว้าแลกเปลี่ยนเรียนรู้ "การพัฒนาเด็กด้วยกิจกรรมบำบัด" เพิ่มเติม ดังนี้ 

ในช่วงวัย 4-6 ที่ผมแนะนำไม่ควรใช้ Smart Phone หรือ Tablet เลย แม้ว่า AAP หรือ American Academy of Pediatrics จะแนะนำว่า ควรงดใช้หน้าจออุปกรณ์สื่อสารใดๆ ที่ไร้สาย กับเด็กวัยแรกเกิดถึง 1 ขวบครึ่ง ถ้าเป็นอายุ 1 ขวบครึ่งถึง 2 ขวบ ถ้าต้องการใช้อุปกรณ์สื่อสารจริงๆ ควรเลือก High Quality Programming เช่น รายการ Sesame Street PBS

โดยมีพ่อแม่เป็นผู้ร่วมสอนลูกให้รู้ว่า "ดูรายการนี้บนหน้าจอ 2 มิติ ทำให้ลูกเป็นเด็กดีอย่างไร ดูเสร็จไม่เกิน 1 ชม.ต่อวัน แล้วพ่อแม่จะชวนลูกไปเรียนรู้กิจกรรมที่จับต้องได้ 3 มิติ เช่น ดูรายการเด็กดีช่วยคนพิการในหน้าจอ แล้วไปช่วยคนพิการจริงๆ ในชีวิตจริง" ตรงจุดนี้ผมคิดว่า การพัฒนาทักษะคุณพ่อคุณแม่ยุคไทยแลนด์ 4.0 ควรใช้เวลาอย่างน้อย 66 วันด้วยการเรียนรู้ผ่านการลงมือปฏิบัติจนเป็นต้นแบบความรักความเมตตาปัญญาที่แท้จริงของลูก Gen Z & Alpha ได้ และในเวลาเพียง 30-60 นาทีที่จะหา High Quality Programming อีกทั้งก็ไม่ง่ายที่จะจำกัดเวลากับลูกได้ตรงเวลา แม้จะเบี่ยงเบนก็ต้องใช้เวลามาก 

ดังนั้นกระบวนการวิเคราะห์สังเคราะห์งาน กิจกรรม และการปรับตัวในโลกความเป็นจริง ให้พ่อแม่ลูกเกิดทักษะการเรียนรู้ทางอารมณ์ในสังคมที่หลากหลายสถานการณ์ชีวิต (Social Emotional Learning หรือ SEL) ตลอดทั้งวันอย่างต่อเนื่องเพื่อ Co-Learn การเรียนรู้ร่วมกันพ่อแม่ลูก Relearn การเปิดใจรับรู้ในสิ่งที่เรียนรู้ใหม่ระหว่างพ่อแม่ลูก และ Unlearn การยอมรับด้วยความรักระหว่างพ่อแม่ลูกในการแสดงความเคารพรับฟังแล้วปรับปรุงข้อด้อยให้พัฒนาเป็นนิสัยที่บ่มเพาะดีต่อใจร่วมกัน ซึ่งมีความจำเป็นอย่างยิ่งครับที่พ่อแม่ลูกจะบ่มเพาะภายใต้การดัดแปรสิ่งแวดล้อมที่มีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมและบริบทของความรู้ความเข้าใจหรือการรู้คิดในหนึ่งครอบครัวนั้นๆ 

หลายท่านบอกผมว่า "อยากได้ความรู้เรื่องการออกแบบกิจกรรมการพัฒนาเสริมสร้างสมองส่วนหน้าหน้าที่รวบรวมความสามารถของสมองในหน้าที่บริหารจัดการหรือ Executive Function (EF)" ได้แก่ ให้จัดการความคิดวางแผนรับผิดชอบอย่างยืดหยุ่น มีอารมณ์เมตตาที่มองไปข้างหน้าอย่างมีเป้าหมาย และกล้าตัดสินใจลงมือแก้ปัญหาด้วยปัญญาเป็นสุขกายสบายใจให้สำเร็จสงบสุข เติบโตเป็นพลเมืองดีมีทักษะดูแลตัวเอง อึด ฮึด สู้ ไม่บอบบาง ไม่คิดเยอะ ไม่ตัดสินคนภายนอก แต่รับฟังด้วยหัวใจของความเป็นมนุษย์ที่พร้อมจะมีจิตอาสาช่วยเหลือผู้อื่นทุกเพศวัยในสังคมผู้สูงวัยอีก 3-4 ปีข้างหน้า 

ผมแนะนำคุณพ่อคุณแม่ ลองศึกษากิจกรรมการพัฒนา EF ที่เหมาะสมจากลิงค์ของทีมวิจัยจาก Harvard ที่นี่  

ณ เวลานี้ ผมเคารพความคิดเห็นในกัลยาณมิตร เสียงเล็กๆของผม ไม่จำเป็นต้องถูกต้องเสมอไป ผมมีความตั้งใจที่จะสะท้อนความคิดด้วยเจตนาดีมีมุมมองของนักกิจกรรมบำบัดจิตสังคม และน้อมรับคำชื่นชมและคำติชมทุกประการด้วยความปรารถนาดีมีสุขและขอบพระคุณตลอดไปครับผม

ตัวอย่างกิจกรรมการพัฒนาเด็กด้านทักษะจิตสังคม หรือ การสร้างปฏิสัมพันธ์กับทุกเพศทุกวัยด้วยการแสดงความรักความเมตตาปัญญา ขอบพระคุณทุกครอบครัวจาก I Progress มากครับ

    หมายเลขบันทึก: 659259เขียนเมื่อ 12 มกราคม 2019 11:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มกราคม 2019 12:03 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


    ความเห็น (2)

    คุณแก้วครับ ผมตรวจสอบแล้วเปิดลิงค์ได้นะครับคลิก https://pbskids.org/sesame/ ขอบพระคุณครับ

    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท