867. ไร้ขีดจำกัดด้วย "ขีดจำกัด"


“ตอนนี้ประเทศเรากำลังเจอกระแส Disruption  เราจะทำอย่างไรดี ไม่ให้เราเสียเปรียบ ทำอย่างไรด้วยเงินทุนไม่มาก ความรู้ก็สู้ไม่ได้ เราจะไปไกลกว่าประเทศที่ทุนหนามากๆ...ทำอย่างไร ลองคิดดู”

คำตอบของคุณคืออะไร หยุดคิดนิด.... พอได้คำตอบแล้วอ่านต่อ...

ผมมีเรื่องมาเล่าครับ

นานๆ ทีผมจะได้เขียนถึงประเทศที่ผมชื่นชมด้านนวัตกรรมประเทศหนึ่งนั่นคือรัสเซีย  เมื่อคืนมีโอกาสได้ดูหนังสารคดีเรื่อง  Cosmodromeจาก Netflix จนจบ    Cosmodrome เป็นเรื่องเล่าพัฒนาการของโครงการอวกาศของรัสเซียตั้งแต่สมัยยังเป็นคอมมิวนิสต์ โครงการมีการเมืองยุคสงครามเย็นอยู่เบื้องหลัง ทั้งอเมริกาและรัสเซียแข่งขันกันเรื่องอวกาศ  ...รัสเซียนำหน้า อเมริกาตามมาติดๆ 

อเมริกาเฝ้ามองความก้าวหน้าของรัสเซียอย่างไม่เข้าใจ ว่าทำไมถึงไปได้ระดับนั้น เพราะรัสเซียส่งดาวเทียม ส่งคนไปโคจรรอบโลกก่อนอเมริกา ทำไมทถึงทำได้ ที่สุดพอประเทศรัสเซียเปิด ระบบคอมมิวนิสต์ล่มสบาย ทุกอย่างก็เริ่มเปิดเผยขึ้นมา

เรื่องที่น่าทึ่งมากคือเครื่องยนต์จรวดของรัสเซียที่ล้ำหน้ามาก ขนาดคิดมาเมื่อ 20 ปีก่อน ตอนนี้วิศวกรอเมริกันก็ยังทึ่งว่าคิดได้อย่างไร เพราะถ้าถามคนอเมริกันก็จะบอกว่าเป็นไปไม่ได้  ตอนนี้ถึงขั้นนำเข้าเครื่องยนต์จรวดจากรัสเซียซึ่งเป็นเทคโนโลยีเมื่อ 20 ปีก่อนของรัสเซีย มาใส่จรวดของอเมริกัน ปรากฏว่าเล็กว่าทรงพลังกว่าจรวดของอเมริกาในยุคปัจจุบัน เรียกว่าล้ำไปกว่า 20 ปี 

แล้วมันเกิดได้อย่างไร เท่าที่ไดั รัสเซียทำทุกอย่างจากทรัพยากรที่จำกัด จากขีดจำกัดที่มีอยู่ครับ ระบบ Design ทุกอย่างทำขึ้นจากขีดจำกัดเรื่องทรัพยากร เนื่องจากยุดนั้นรัสเซียถูกปิดล้อม ระบบนิเวศน์ทางด้านอุตสาหกรรมไม่พร้อม ถ้าอยู่อเมเริกา คุณขาดแคลนอะไร คุณสามารถเปิดประกวดราคาได้ได้เลย มีซัพพลายเออร์จำนวนมหาศาล ที่จะช่วยคุณคิด คุณมีเงินเท่านั้น บอก Spec ไปเดวได้ชิ้นส่วนกลับมา ตรงนี้ตรงข้ามกับรัสเซีย จะหาอะไรก็ยาก เพราะถูกปิดกั้นไปหมด ไม่มีบริษัทเอกชนรองรับ ว่ากันว่าน๊อตตัวเดียวก็ต้องกลึงขึ้นมาเอง  จะนำเข้าก็ยาก ต้องใช้สายลับ ไม่ทันการครับ 

ที่พีคสุดก็เห็นจะเป็นตอนที่ Kotolev บิดาด้านอวกาศของรัสเซีย ผู้อยู่เบื้องหลังโครงการอวกาศเช่นการส่งมนุษย์อวกาศ  ยูริ กาการินไปนอกโลกเป็นคนแรก ...คนคนนี้ถือเป็นหัวหน้านักออกแบบ (Chief Designer) ขององค์กรอวกาศ รู้ทุกอย่าง เสียชีวิต  องค์การอวกาศรัสเซียต้องพยายามหานักออกแบบที่เก่งและวิสัยทัศน์มาแทน แต่หาในองค์กรตัวเองไม่ได้ ก็ไปเจอนักออกแบบเครื่องบินเจ๊ท ที่เก่งมากๆ เลยเชิญมาทำงานโครงการอวกาศ ทั้งๆ ที่ไม่ใช้นักวิทยาศาสตร์ด้านจรวด (Rocker Scientist) ... คือมันคนละระบบ บินในโลกกับไปนอกโลก แต่เนื่องจากไม่มีใครเก่งกว่านี้เลยเอาเข้ามา ตอนแรกท่านนี้ก็ไม่คิดว่าจะทำอะไรให้ดีไปกว่าเดิมได้ แต่พอลองมาจับงานค่อยๆ ดูก็ปรากฏว่าสามารถพัฒนาต่อยอด เรียกว่าเอาความรู้ข้ามสาขามาปรับปรุง เกิดการคิดนอกกรอบ จนกลายมาเป็นจรวด HK33  ที่ล้ำหน้าอเมริกาแม้กระทั่งในยุคปัจจุบัน ..  จนกระทั่งอเมริกาต้องนำเข้ามาในยุคปัจจุบัน 

Ref:  https://blogs.stockton.edu/spacerace/the-soviet-union/korelev/

ปรากฏการณ์นี้คล้ายกรณีของเครื่องบิน MIG ของรัสเซียที่ก้าวหน้ามากๆ ในยุคนั้น เมื่อสิ้นสุดสงครามเย็นอเมริกากว้านซื้อ MIG จากรัสเซียมา เพื่อกันไม่ให้เทคโนโลยีนี้หลุดไปถึงอิหร่าน ...แล้วอเมริกาก็ผ่าตัดแยกส่วนมาศึกษาละชิ้น ก็คิดว่าข้างในคงล้ำมากๆ... ไม่ใช่ครับ ..ข้างในแทบไม่ต่างจากรุ่นก่อนๆ ที่เคยศึกษามา..หลายอย่างคือเทคโนโลยีเก่าๆ แต่คนรัสเซียเอามาออกแบบ ผสมผสานใหม่จนมีประสิทธิภาพสูงกว่าเครื่องบินอเมริกันส่วนใหญ่ด้วยซ้ำ   คือข้างนอกใหม่หมด มาจากข้างในที่เก่าหมด น่าทึ่งไหมครับ 

ย้อนกลับไปสงครามโลกครั้งที่สอง รัสเซียสร้างปาฏิหาริย์ชนะสงครามเยอรมัน ทั้งที่เยอรมันมีกองทัพรถทัพที่ล้ำที่สุดในโลก รถถัง Panzer  ที่ตอนนี้วิศวกรรุ่นใหม่ เมื่อดูห้องเครื่องรถถังนี้ก็ต้องบอกว่ามันล้ำมากๆ ล้ำชนิดว่าในปัจจุบันก็ทำตามยาก เยอรมันบุกรัสเซียด้วยอาวุธที่น่ากลัว ล้ำ ทรงพลังที่สุดในโลก รัสเซียเมื่อทราบข่าวการบุก ไม่ทันตั้งตัว รัสเซียแทบไม่มีอุตสาหกรรมอาวุธ มีแต่โรงงานผลิตรถบรรทุก สตาร์ลินผู้นำในยุคนั้นเลยสั่งให้เปลี่ยนโรงงานรถบรรทุก เป็นโรงงานรถถัง และเนื่องจากประเทศไม่ได้เตรียมพร้อมเรื่องการฝึกคนมาขับรถถังอย่างเยอรมัน ก็เลยสั่งสำทับว่าให้รถถังนั้นขับง่ายๆ ชนิดสามารถเอาชาวนาที่ขับจักรยานเป็นมาขับได้เลย ถ้าเสียให้ง่ายชนิดช่างซ่อมจักรยานก็ซ่อมได้  นี่ครับรถถังที่หยาบสุด แต่ทนมือทนเท้าที่สุด ขับง่ายสุดด้วยระบบจอยสติกซ์เหมือนเครื่องเล่นเกมส์รุ่นใหม่ ที่ต่อให้ขับรถไม่เป็นก็ขับได้ ซ่อมจักรยานเป็นก็ซ่อมได้ เพราะไม่ซับซ้อน และคันนี้เองที่เป็นจุดเปลี่ยนสงคราม เพราะรถถังเยอรมันซ่อมยาก แถมไม่ทนอากาศหนาว หาคนขับก็ยาก ต้องฝึกมาดีมากๆ ต่างจากรัสเซียคนขับตายก็หาชาวนาแถวนั้นมาขับได้เลย ตอนหลังคนทำสารคดี .. ช่างภาพ National Geographics ช่างภาพ ที่ไปทำสารคดีรถถังรุ่นนี้แกลองไปขับ เพื่อพิสูจน์ว่ามันขับง่ายจริงไหม ปรากฏว่าขับไปได้ทันที 

Ref: https://nationalinterest.org/blog/the-buzz/t-34-the-fierce-russian-tank-crushed-hitler-won-world-war-ii-19610

ในยุคสงครามเย็นยังมีเครื่องมือด้านความคิดสร้างสรรค์ที่น่าสนใจอีก เช่น TRIZ (TheoryU of Inventive Problem Solving) เป็นศาสตร์ของการสร้างนวัตกรรมทีวิศกรรัสเซีย Genrich Altshuller ที่ศึกษาแนวโน้มการสร้างนวัตกรรม จากสิทธิบัตรสี่หมื่นชิ้น รวมทั้งศึกษากระบวนการคิดของนักคิดจริงๆ จนได้มาเป็นสูตรการสร้างนวัตกรรม 40 ข้อ  ผม Amazing มากๆ กับเรื่องของ TRIZ  เพราะมันคือกระบวนการที่อยู่เบื้องหลังนวัตกรรมจริงๆ ชีวิตนักคิดจะง่ายขึ้นถ้ามี Guidleine กระบวนการคิดให้เลือก ...ผมเคยเอามาสอนที่ MBA ในประเทศไทยเห็นพูดอยู่สองสามคน ตอนหลังเงียบๆไป. ตอนนี้กำลังปรับปรุงให้ง่ายขึ้นกว่าเดิม และจะกลับมาสอนเร็วๆนี้  น่าสนใจมากๆครับ 

ส่วนในไทยที่ทำมานานและผมก็เคยไปเรียนกับท่านคืออาจารย์ไตรสิทธิ์ ผมไปเรียนที่นี่มาครับ http://www.tpa.or.th/news.php?...

Ref:  http://www.join.se/vad-vi-gor/...

ดูเหมือนหลักคิดของคนรัสเซียที่เปลี่ยนโลกได้มาแนวๆนี้ครับ

  1. ตั้งเป้าหมายที่ยิ่งใหญ่ ไปไกลกว่าทุกคนในจักรวาล
  2. ไม่กลัวคู่แข่งที่มีกำลังเหนือกว่า ทรัพยากรที่เหนือกว่า 
  3. ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ คนที่มีอยู่ พึ่งตัวเองให้มากที่สุด
  4. มีกรอบแนวคิดให้ตัดสินใจชัดเจน  กรอบแนวคิดก็เอามาจาก "ขีดจำกัด" นั่นเอง มาออกแบบ ซึ่งเหมือนกันทั้งเครื่องยนต์จรวด MIG และรถถัง T34 
  5. จากที่ดูสารคดี คือเน้นการทำแล้วทดลอง ล้มเหลวเร็วๆ ล้มเหลวบ่อยๆ  นี่คือปรัชญา
  6. ไม่จำเป็นต้องทำงานกับคนใน Field เดียวกัน สามารถเอาความรู้มุมมองต่างสาขามาสร้างอะไรที่แปลกใหม่ได้ 

อ่านมาถึงตรงนี้  ตอนนี้คุณตอบคำถามนี้ได้ยัง

“ตอนนี้ประเทศเรากำลังเจอกระแส Disruption  เราจะทำอย่างไรดี ไม่ให้เราเสียเปรียบ ทำอย่างไรด้วยเงินทุนไม่มาก ความรู้ก็สู้ไม่ได้ เราจะไปไกลกว่าประเทศที่ทุนหนามากๆ...ทำอย่างไร ลองคิดดู”

วันนี้พอเท่านี้ เพียงเล่าให้ฟังลองเอาไปพิจารณาดูนะครับ

บทความโดย

ดร. ภิญโญ รัตนาพันธุุ์

https://www.facebook.com/Theor...

หมายเลขบันทึก: 658981เขียนเมื่อ 28 ธันวาคม 2018 09:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 ตุลาคม 2019 21:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

น่าสนใจมากและไม่เคยรู้มาก่อน น่าทึ่งจริงๆ ค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท