ตามไปดู ส.ป.ก. จัดการความรู้ที่วังน้ำเขียว


ก่อนที่จะจัดการให้มีเศรษฐกิจพอเพียงในองค์กรและชุมชนได้ต้องมีการจัดการความรู้ ความรู้ที่เป็นพื้นเดิมของท้องถิ่นนั้น

          จากที่ได้ติดตามไปดูงานประชุมเสวนา “ปราชญ์เกษตร เศรษฐกิจพอเพียงและแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรนิคมเศรษฐกิจ       พอเพียง อำเภอวังน้ำเขียว”      ของสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม(ส.ป.ก.) ที่เป็นสถานที่มุ่งเน้นในการแก้ปัญหาความยากจนของราษฎร โดยใช้กระบวนการจัดที่ดินให้แก่เกษตรกรควบคู่กับ       การพัฒนาอาชีพในแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งจัดเป็นแหล่งเรียนรู้ของเกษตรกรและแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร
           จากการเสวนาของปราชญ์  เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียงต่างมี ความเห็นตรงกันว่าก่อนที่จะจัดการให้มีเศรษฐกิจพอเพียงในองค์กรและชุมชนได้ต้องมีการจัดการความรู้  ความรู้ที่เป็นพื้นเดิมของท้องถิ่นนั้น  ต้องจัดความรู้ให้ถูกทาง จัดให้ถูกต้องเหมาะสมกับพื้นที่  และให้มองในเรื่องของปากท้อง การทำมาหากิน  ควรนำหลักเศรษฐกิจ     พอเพียงมาแก้ปัญหาความยากจน มองปัญหาเพื่อแก้ไขปัญหา และหาทางออกให้กับปัญหาพร้อมกับหาทางรอดให้กับตัวเอง แล้วลงมือปฏิบัติค้วยตนเองเศรษฐกิจพอเพียงจึงจะเกิดขึ้นได้  ถ้ามองประเด็น หาเงินเพื่อจะแก้ปัญหา มองหาทางรวยเพื่อจะหาความสบาย เศรษฐกิจพอเพียง จะไม่มีโอกาสเกิดขึ้นได้เลย มีแต่ผลที่ตามมาจะทำให้ทรัพยากรหมดไป เป็นการทำลายชาติ ปราชญ์ได้ให้ข้อคิดในเรื่องการจัดการความรู้ของเศรษฐกิจพอเพียงไว้ 4 ประเด็นหลักดังนี้
           1. ให้มองปัญหาภายในของชุมชนก่อน พอรู้ปัญหาแล้วหาทางแก้ไข ด้วยกระบวนการและวิธีการ จึงจะแก้ไขได้ มองให้ทะลุถึงกุศโลบายในกระบวนการให้ได้  เช่นถ้าจะปลูกพืชต้องปลูกจิต สำนึกให้มีส่วนร่วม จะได้รู้ถึงความเป็นเจ้าของจากการลงมือทำเองแล้วสามารถสร้างสิ่งดี ๆ ได้มากขึ้น
           2. ให้เลิกทำเกษตรเชิงเดี่ยว หันมาใช้เกษตรธรรมชาติ  ทำเกษตรผสมผสาน เพื่อให้เกิดการเกื้อกูลซึ่งกันและกันไม่ว่าจะเป็นพืช เป็นสัตว์ เช่นเลี้ยงสัตว์ไว้เป็นอาหาร แล้วนำมูลสัตว์มาเป็นปุ๋ยให้กับพืชผัก สุดท้ายก็นำพืชผักมาเป็นอาหารให้กับคนและสัตว์
           3. นำการปฏิบัติมาสู่การสร้างความรู้จากความเป็นจริง ของแต่ละชุมชน แต่ละท้องถิ่นต้องมีชุดความรู้ของตนเอง เพื่อนำไปขยายผลและความรู้ที่มีต้องสอดคล้องกับชุมชน ท้องถิ่นของภาคส่วนนั้น ๆ ฐานของการพัฒนากระบวนการจึงจะเกิดขึ้น
           4. ภาครัฐควรนำความรู้พื้นบ้านมาต่อยอดเพื่อให้เกิดผลจริงมากขึ้น รัฐควรจัดทำสื่อ ผลิตสื่อจากฐานของชุมชนที่ปฏิบัติจริง นำมาประชาสัมพันธ์เป็นต้นแบบให้กับชุมชนอื่น เพื่อได้สร้างกระบวนการเรียนรู้ใหม่ ๆ ได้
           จะเห็นได้ว่ากระบวนการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นจากการจัดเสวนาครั้งนี้ เป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากประสบการณ์จริง ผ่านการทดลอง การลองผิดลองถูกหาความพอเหมาะพอดีของปราชญ์ที่ถือได้ว่าเป็นนักปฏิบัติตัวจริง เป็นการจุดประกายให้เปลี่ยนวิธีคิด ด้วยการจัดการความรู้และการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นทั้ง 5 รู้ ให้สัมพันธ์ เชื่อมโยงกันอย่างสมบูรณ์แบบนั่นคือ รู้จักตนเอง  รู้ปัญหา  รู้ทรัพยากร  รู้การจัดการ และสุดท้ายรู้จักการวางแผนชีวิต ให้มีความสุขอย่างยั่งยืนบนฐานของเศรษฐกิจพอเพียงนั่นเอง

หมายเลขบันทึก: 65875เขียนเมื่อ 8 ธันวาคม 2006 00:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 11:06 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

โดยหลักการก็คือ การบูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่นเข้ากับวิชาการสมัยใหม่ เช้นเดียวกับการต่อกิ่งไม้ผล ที่ต้องการความแข็งแรงของฐานราก และข้อดีของพันธุ์ใหม่

ในการพัฒนาต้องมองในเชิงบูรณาการในแนวนี้ครับ

ตามไปดู..แล้วเอามาคิด,,คิดแล้วเอามาเขียน..เพื่อบอกให้รู้ว่า..เราเห็นอะไร..เข้าใจอย่างไร..นำมาอธิบายขยายความออกมา..นี่คือวิธีเรียนรูปแบบที่ 1 ของชาวบูรณาการศาสตร์ เรียนจากโจทย์สดๆร้อนๆ ไม่ได้ไปนั่งโมเมคิดและเขียน บทเรียนจากชีวิต ต้องออกมาอย่างมีชีวา ทำเนื้อหาให้มันกระโดดออกมาจากหน้ากระดาษให้ได้ ..มันถึงจะเจ๋ง แล้วจะจบเป็น ดร.ที่มีคุณภาพ ผมคิดว่าพวกเรา และอาจารย์ น.พ.วิจารณ์ พานิช เจ้าสำนักสคส.รอดูตรงจุดนี้ ดังนั้นรู้แล้วอย่าช้า ถ้าไม่มีเหตุผลว่าอธิบายว่า..ช้าแล้วได้อะไร? ..อย่าบอกนะว่าได้พร้าเล่มงาม //สมัยนี้เขาใช้เลื่อยไฟฟ้ากันแล้ว ..ใช่ไหมครับท่านดร.แสวง .. ขอได้โปรดดูอาจารย์ที่ปรึกษาเป็นตัวอย่าง ทุกท่านร้อนวิชาจนควันออกหู ถ้าร้อนมากๆอาจจะต้องเตรียมรถดับเพลิงไว้ที่มหาชีวาลัยอีสานสัก 2 คัน ดับทางสมองซีกซ้ายคันหนึ่ง ทางสมองซีกขวาคันหนึ่ง
ผมอยากให้ชาวบูรณาการศาสตร์ วางผังโจทย์การทำวิทยานิพนธ์ ให้เหมือนกับการสร้างบ้าน ที่มันต้องมีพิมพ์เขียว แต่ละท่านควรส่งพิมพ์เขียว พิมพ์ไม่เขียว สีช้ำเลือดช้ำหนองไม่เอา โยนทิ้งได้แล้ว เร่งปรับสภาพความรู้สึก และจิตวิญาณของผู้เรียนเสียใหม่ เว้นวรรควัฒนธรรมเก่าๆ ที่เล่นกับความรู้เหมือนลิงหลอกเจ้า ขอความกรุณา..ให้นำตัวเองออกมาอยู่ในสนามเรียนรู้ให้ได้ อย่าไปเป็นอีแอบอยู่ในมุมเสมือนจริง
ปรัชญามหาชีวาลัยอีสาน เอาลิงค่างกลางป่ามาฝึกสอน เล่นละครลิงได้ดั่งใจหมาย นี่เป็นคนทั้งแท่งแกร่งใจกาย เรียนไม่ได้อายลิงจริงไหมเอย เพราะลิงมันไม่หาเหตุผลโต้แย้งเพื่อที่จะไม่เรียนไม่ทำ ใครมีข้ออ้างมาก ก็มีโอกาสตายคาเขียงได้มาก หลักการ มหาชีวาลัยอีสาน มีมีดอีโต้ แล้วไม่สับ จะมีไว้หา..ห ทำไมละต๋อย..
สนามบล็อค จะเป็นสนามประลองความรู้ ...ความเป็นไป..ถูกทิศ ถูกทาง หรือหลงทาง เราจะมากู่หากันที่(บล็อคบูรณาการศาสตร์) ใครไม่มา ตายก็จะไม่ไปสวด ใครมาช้า ไม่หักหรอกคะแนนนะ แต่จะหักอย่างอื่น.. หักอะไรรู้ไหมนักศึกษา ..หักห้ามใจ..ที่ไม่สมหวัง กับคนที่มีโอกาส แล้วประมาทกับโอกาส ระวังท่านผู้ทรงความเมตตา จะเป็นเปลี่ยนโอกาส เป็นโอเก็บ แล้วจะหนาว!!!! (บัญญัติศัพท์ใหม่เพื่อคุณเลยนะเนี่ย)
คนอวดเก่ง ไม่ใช่เรื่องเสียหาย ถ้าเก่งพอที่จะอวด.. ..แต่ถ้าอวดโดยไม่เก่ง เขาเรียกว่า จำอวด ..คนเรื่องมาก ไม่ใช่เพราะมีเรื่องมาก แต่เป็นคนมากเรื่อง ..คนไหวหวั่น เพราะเป็นคนหวั่นไหว ..สะสมมากๆก็จะเป็นคนหวาดหวั่น
ข่าวดี... .. มหาชีวาลัยอีสานเปิดปัมท์บริการอัดฉีด กำลังใจ รับทำความสะอาดจิตใจ ..ยกเครื่องหัวใจที่ป้อแป้ จะเสริมใยเหล็กหรืออยากได้หัวใจทองแดงก็มีให้เลือก...ช่วงนี้มีรายการพิเศษ รับเปลี่ยนหัวใจพลาสติกเสริมใยไตตาเนียม บริการ 24 ชั่วโมง เสาร์-อาทิตย์ โปรดรับบัตรคิว
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท