.............รถที่ใช้ทางผิดประเภท เช่น การขี่มอเตอร์ไซค์ในทางจักรยาน และทางเท้า หรือ การจอดลุกล้ำทางม้าลาย การขายของลุกล้ำทางเดินเท้า มิใช่แค่อันตรายที่จะเกิดการบาดเจ็บสูญเสียแต่ จริงแล้ว ความรับผิดชอบนั้นรับผิดแทนกัน เจ็บแทนกันไม่ได้ หรือ ไม่ควรที่ผู้ที่ทำถูกต้องตามกฎจราจรจะต้องมีโอกาสเจ็บตัว เพราะความมักง่ายเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนก่อนของผู้ใช้ทางสาธารณะคนอื่นๆ ตั้งใจผ่าผืนกฎส่งผลให้ผู้อื่นเดือดร้อน เจ็บตัว เป็นความประมาทที่ทำให้ผู้อื่นบาดเจ็บสาหัสและเสียชีวิตมากมาย ที่น่าตกใจยิ่งกว่าก็คือ การฝ่าฝืนในลักษณะนี้อาจจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นมาก เป็นแบบนี้มานานจนต้องเตือนต้องระมัดระวังต้องเกิดความตระหนกทุกครั้ง ที่ต้องออกเดินทางไปธุระนอกบ้าน เป็นที่รู้กันว่าในที่สาธารณะต้องเซฟตัวเองตลอดเวลา ทั้งที่ประเทศเราเป็นเมืองพุทธ เคารพพระธรรมซึ่งสอนให้เราไม่ใช่แค่ทำดีแต่การทำดีนั้นก็จะต้องไม่ไปเบียดเบียนผู้อื่นด้วย และกอปรกับการส่งเสริมเรื่องสิทธิตามรัฐธรรมนูญไทยให้คนในชาติมีจิตสำนึกสาธารณะนั้นน้อยไป ไม่เข้าใจอย่างถ่องแท้ ทำอะไรตามใจเอาตนเองสะดวกไว้ก่อนแล้วค่อยสำนึกภายหลัง ขอโทษทีหลัง สำนึกดีต้องไม่ทำ มิใช่ทำไปก่อนไม่เกิดหรอก เป็น 5 วิธีคิดผิดๆตามสัญชาติญานของมนุษย์ที่ทำให้มนุษย์ต้องตาย (5 Hazard Attitude) ก็ยังมีอยู่แยะมากในสังคมไทย...
........ เช่น กรณีทางจักรยาน รถประเภทอื่นจอดขวาง ไม่ว่าจะเป็น รถมอเตอร์ไซค์พ่วงข้าง หรือรถอื่นๆ ทำให้รถจักรยานต้องเบี่ยงออกไทางขวา เข้าไปในเลนของรถยนต์ หากกรณีรถยนต์จอดกระทันหันในเลนจักรยาน กอปรกับจักรยานเบรคไม่อยู่ ก็ต้องหักหลบออกไป หากรถยนต์ด้านหลังวื่งมาด้วยความเร็ว โอกาสการเกิดการเฉี่ยวชนย่อมเกิดขึ้นได้ ตามหลักการของกระบวนการประเมินความเสี่ยงแล้ว การเกิดภาวะอันตรายลักษณะนี้ความรุนแรงที่จะเกิดความเสียหายต่อชีวิตร่างกายนั้นสูง ถึงขั้นเสียชีวิตได้ แม้จะมีโอกาสเกิดน้อยที่สุดก็ตาม จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องจัดให้มีมาตรการลดหรือหลีกเลี่ยงความเสี่ยงโดยพลันคือทำทันทีคือจะรอมิได้ และหากอุบัติเหตุจักรยานถูกรถยนต์ชนนั้น เกิดขึ้นในเลนของรถยนต์เพราะจักรยานจำเป็นต้องออกนอกเลนที่ถูก ไปทางขวาแล้วถูกรถที่มาตรงเลนถูกต้องชนนั้น จะกลายเป็นจักรยานประมาทเองทันที ความเสียหายที่เกิดขึ้นกับผู้ขี่จักรยาน รถที่จอดขวางก็ปฏิเสธความรับผิดชอบได้หรือจะรับผิดได้แค่การจอดขวางทางการจราจรของจักรยานก็อาจเป็นไปได้.....
ไม่มีความเห็น