การจัดกิจกรรมการเคลื่อนไหวประกอบบทเพลงพื้นเมืองสำหรับเด็กปฐมวัย ที่มีต่อความเข้าใจจังหวะ


ปฐมวัย

การจัดกิจกรรมการเคลื่อนไหวประกอบบทเพลงพื้นเมืองสำหรับเด็กปฐมวัย ที่มีต่อความเข้าใจจังหวะ

บทที่ 1 บทนำ

1.ความเป็นมา/หลักการและเหตุผล/แนวคิดทฤษฎี

ในปัจจุบันโลกมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาวัฒนธรรมถือเป็นมรดกของมนุษย์ชาติ สามารถสืบต่อกันได้รุ่นต่อรุ่น การดำรงชีวิตอยู่ในสังคมใดก็ตามจะได้รับการอบรมทั้งทางตรงและทางอ้อมตั้งแต่เกิดจนไปตลอดชีวิตดนตรี และ เพลงพื้นเมืองถือเป็นวัฒนธรรมประจำชาติ ( เลอพงศ์ กัณหา.2554 ) เด็กอายุต่ำกว่า 6 ปีหรือเด็กในช่วงปฐมวัยเป็นเวลาที่สำคัญในการวางรากฐานทางความคิด ความรู้สึก เพราะเป็นช่วงที่ระบบประสาทและสมองเติบโต ในอัตราถึง ร้อยละ 80 ของวัยผู้ใหญ่ เป็นวัยที่กำลังจดจำและเรียนรู้สิ่งรอบตัว ผ่านกิจกรรมต่างๆ เพื่อพัฒนาร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติ ปัญญา ซึ่งทักษะเหล่านี้เป็นองค์ประกอบทางความรู้ที่จะหล่อหลอม ให้เด็กเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ดังนั้นการเลือกกิจกรรมให้เหมาะสมกับ เด็กปฐมวัยจึงเป็นเรื่องสำคัญอย่างมาก เนื่องจากสิ่งที่เรียนรู้ในช่วง วัยนี้จะเป็นข้อมูลฝังรากลึกเป็นพื้นฐานติดตัวเด็กไปชั่วชีวิต

ดนตรีเป็นประสบการณ์หนึ่งที่เด็กปฐมวัยควรได้รับ ไม่ว่า จะเป็นประสบการณ์ดนตรีโดยตรง หรือการใช้ดนตรีเพื่อช่วยในการ พัฒนาการเรียนรู้ทั้ง 4 ด้านได้แก่ ด้านร่างกาย ด้านอารมณ์และ จิตใจ ด้านสังคม และด้านสติปัญญา ที่เหมาะสมกับช่วงอายุและพัฒนาการในช่วงอายุนั้นจากการศึกษา ดนตรี ถือเป็นศาสตร์ประเภทแรกที่เด็กควรได้รับการพัฒนา โดยในช่วงอายุ 2 – 6 ปี ความสามารถด้านดนตรีสามารถพัฒนาได้ ถึงร้อยละ 50  ซึ่งหากไม่ได้รับการพัฒนาที่ดี อาจจะทำให้ความ สามารถของเด็กลดลงจากศักยภาพเดิมที่มี จึงควรส่งเสริมพัฒนาการพร้อมๆกันทุกด้าน เพื่อให้เด็กจดจำซึมซับ และก่อให้เกิดทักษะที่ดีฝังอยู่ภายใน ความคิดสร้างสรรค์สามารถพัฒนาได้ด้วยการสอน ฝึกฝน และปฏิบัติที่ถูกวิธี และถ้าส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์แก่เด็กตั้งแต่เยาว์วัยได้เท่าใด ก็ยิ่งเป็นผลดีมากขึ้นเท่านั้น เพราะช่วงวัยเด็ก 6 ปีแรกของชีวิตเป็นระยะที่เด็กมีจินตนาการสูง ศักยภาพด้านความคิดสร้างสรรค์กำลังพัฒนา สอดคล้องกับ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (2549: 10-11) กล่าวถึงโอกาสแห่งการเรียนรู้ (Windows of Opportunity) ว่าเด็กปฐมวัย ชาวงอายุ 3-5 ปี จะมีความรู้ความสามารถด้านการใช้กล้ามเนื้อเล็ก ภาษา และจินตนาการเปิดรับการเรียนรู้อย่างสูงสุด ด้วยเหตุนี้จึงมีการทำการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์อย่างหลากหลายรูปแบบ เช่น สุภาวดี เพชรชื่นสกุล (2547) ทำการวิจัยเรื่อง ผลการเรียนจากการใช้กิจกรรมเกม ดนตรี และนิทาน ที่มีต่อความคิดสร้างสรรค์ของเด็กว เบญจมาศ หาญกล้า (2548) ได้ทำการวิจัยเรื่อง ผลการจัดกิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะโดยใช้อุปกรณ์ที่มีต่อความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย โรงเรียนอนุบาลฤทธิยะวรรณาลัย กรุงเทพมหานคร ตลอดจนถึง นันทัชพร จิรขจรชัย (2551) ทำการวิจัยเรื่อง ความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมวาดภาพประกอบเสียงเพลงไทยเดิม

เนื้อหาในด้านองค์ประกอบของดนตรี ประกอบด้วย 1) จังหวะ (Rhythm) 2)ทำนอง (Melody) 3)เสียงประสาน (Harmony) 4)รูปแบบ (Form) 5)ลักษณะเสียง (Characteristic of Sound) 6) สีสัน (Tone Color) 7)รูปพรรณ (Texture ) ซึ่ง จังหวะเป็นองค์ประกอบที่สำคัญอันดับต้นๆที่เด็กควรได้รับการ พัฒนา เนื่องจากจังหวะเป็นผู้ควบคุมองค์ประกอบอื่นๆ ของ บทเพลง โดยผู้เรียนควรทราบความแตก ต่างระหว่างจังหวะทำนอง (Rhythm) และจังหวะตก (Beat) โดย เปลี่ยนแปลงไปความเร็วของจังหวะ (Tempo) ก็จะเห็นความแตก ต่างของจังหวะแต่ละรูปแบบการเรียนดนตรีสำหรับเด็กปฐมวัยคือ ทักษะการเคลื่อนไหว ดังนั้น

กิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะจึงเป็นกิจกรรมหลักสำหรับเด็กในวัยนี้ โคดายได้ ให้ความสำคัญกับการใช้เพลงพื้นบ้านในการเรียนดนตรีตั้งแต่เริ่มต้นเนื่องจากโคดายเชื่อว่าเพลงพื้นบ้านจะใช้ภาษาที่เป็นภาษาพ่อ และภาษาแม่ของเด็กทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ทั้ง ด้านสาระดนตรี และคุณค่าของเพลงพื้นบ้านที่นำมาใช้ในการเรียน 

ดังที่ได้กล่าวมานี้ปัจจุบันสังคมไทยรูปแบบความแปรผันสูง เพราะเป็นสังคมของโลกยุคใหม่พัฒนาการของสิ่งต่างๆที่อยู่รอบตัวของเด็กจึงมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไม่จบไม่สิ้น  การคงอยู่ของวัฒนธรรมเกิดขึ้นได้หลายสาเหตุ “ การเปลี่ยนแปลงของวัฒนธรรมย่อมเปลี่ยนแปลงตามเงื่อนไขของกาลเวลา เมื่อมีการประดิษฐ์หรือค้นพบสิ่งใหม่ๆวิธีใหม่ๆก็จะตอบสนองความต้องการของสังคมได้ดีกว่าย่อมทำให้เกิดความนิยมและเลิกใช้ วัฒนธรรมจึงต้องปรับปรุงรูปแบบให้ทันสมัย” (ศรีจันทร์ น้อยสะอาด.2544:22) ดังนั้นรูปแบบการจัดกิจกรรมการเคลื่อนไหวประกอบบทเพลงสำหรับเด็กปฐมวัย ที่มีต่อ ความเข้าใจจังหวะดนตรี จะทำให้เด็กได้เรียนรู้เรื่องดนตรีโดย เฉพาะอย่างยิ่งในด้านจังหวะ ทั้งด้านจังหวะตบ(Steady Beat) ด้าน กระสวนจังหวะ(Rhythm) และค่าตัวโน้ต(Note Duration) ด้วย กิจกรรมที่เหมาะสมกับช่วงวัยและช่วยให้พัฒนาการของเด็กเป็นไปอย่างสมบูรณ์ผ่านบทเพลงพื้นเมือง

2. สถานการณ์ปัจจุบัน/แนวโน้มในอนาคต

ณัชชา เตชะอาภรณ์ชัย (2560) ทำการวิจัยเรื่อง ผลการจัดกิจกรรมการเคลื่อนไหวประกอบบทเพลงพื้นเมืองสำหรับเด็กปฐมวัย ที่มีต่อความเข้าใจจังหวะ โดยมีวัตถุประสงค์คือ 1)เพื่อนำเสนอกิจกรรมการเคลื่อนไหวประกอบบทเพลงพื้นเมืองสำหรับเด็กปฐมวัย ที่มีต่อความเข้าใจด้านจังหวะ 2)เพื่อศึกษาผลของการใช้กิจกรรมการเคลื่อนไหวประกอบบทเพลงพื้นเมืองสำหรับเด็กปฐมวัย ที่มีต่อความเข้าใจด้านจังหวะ กลุ่มตัวอย่างในงานวิจัยนี้ได้แก่ นักเรียนชั้นอนุบาล 3 โรงเรียนวัดกัลยาณมิตร จำนวน 18 คน โดยแบ่งนักเรียนออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 9 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1)แผนการจัดกิจกรรมการเคลื่อนไหวประกอบบทเพลงพื้นเมืองไทย ที่มีต่อความเข้าใจด้านจังหวะ 2)แผนการจัดกิจกรรมการเคลื่อนไหวประกอบบทเพลงพื้นเมืองนานาชาติ ที่มีต่อความเข้าใจด้านจังหวะ 3)แบบสังเกตการตอบสนองต่อจังหวะดนตรี 4)แบบสังเกตการเต้นรำพื้นเมือง การดำเนินการวิจัยประกอบด้วยการศึกษาจากเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องและเป็นผู้ช่วยฝึกสอน สร้างเป็นแผนการจัดการเรียนรู้ จากนั้นนำรูปแบบดังกล่าวทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่าง จากนั้นวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้โดยการวิเคราะห์เนื้อหาและสถิติเชิงบรรยาย คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าที(t-test)

ผลการวิจัยมีดังนี้

1.กิจกรรมการเคลื่อนไหวประกอบบทเพลงพื้นเมืองสำหรับเด็กปฐมวัย ที่มีต่อความเข้าใจด้านจังหวะ สามารถแบ่งออกเป็น 2 ด้าน คือ 1.1)กิจกรรมเพื่อพัฒนาจังหวะ อันได้แก่จังหวะตก(Steady Beat) จังหวะทำนอง(Rhythm) และค่าตัวโน้ต(Note Duration) 1.2)กิจรรมการเคลื่อนไหวประกอบบทเพลงพื้นเมืองด้วยเพลงขั้นต้น 1 เพลง และขั้นกลาง 1 เพลง

  1. ผลของการใช้กิจกรรมการเคลื่อนไหวประกอบบทเพลงพื้นเมืองสำหรับเด็กปฐมวัย ที่มีต่อความเข้าใจด้านจังหวะ พบว่าคะแนนรวมอยู่ในเกณฑ์ดีมากโดยกลุ่มที่ใช้บทเพลงพื้นเมืองไทยมีคะแนนสูงกว่ากลุ่มที่ใช้บทเพลงพื้นเมืองนานาชาติ (M = 4.68 , SD =  .22), (M = 4.45, SD = .39)
หมายเลขบันทึก: 658633เขียนเมื่อ 9 ธันวาคม 2018 19:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 ธันวาคม 2018 19:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้าจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท