แนวคิดท้าทาย..?


    การท้าทายคือการอยากทำ  อยากชนะ  อยากสร้างคนให้มีปัญญา นโยบายก็เป็นเพียงลมพัดผ่าน แค่เราทำยังไม่ทันเสร็จก็เปลี่ยนแล้ว  อย่างนี้คงปลูกได้แค่ถั่วงอก จะปลูกไม้ใหญ่โตยาก  มีคำถามว่า  What  is  a  University..?  อาจตอบว่า  สถานที่มีสรรพศาสตร์  สถานที่ชุมนุมของคนเก่ง  สถานที่ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สถานที่น่ารื่นรมย์  สถานที่เหมือนสวนสาธารณะที่พักผ่อนหย่อนใจ  สถานที่มีอากาศสดชื่น  ฯลฯ  นึกถึงภาพพระพุทธเจ้าทรงดำเนินชีวิตอยู่ในสวนป่าถูกท้าทายว่าทรงตรัสรู้อะไรบ้าง..?


    การท้าทายในมหาวิทยาลัยคือ  จริงไหมในมหาวิทยาลัยไม่สามารถจะหาความรู้ใหม่ได้..?และทิศทางของมหาวิทยาลัยชัดเจนแค่ไหน..?

        ในอดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยคนแรกคือ พลาโต้  ท่านสอนลูกศิษย์โดยใช้ห้องเรียนธรรมชาติคือบริเวณสวนมะกอก  นั่นคือทุกมหาวิทยาลัยที่ดัง ๆ ในปัจจุบันเน้นสิ่งแวดแวดล้อมทางการศึกษา  เพื่อเสริมสร้างวิถีชีวิตผู้เรียนให้มีคุณค่ามีคุณภาพและมาตรฐาน  และทุกมหาวิทยาลัยต่างก็ชัดเจนในเรื่องความคาดหวังให้ครูคือผู้ออกแบบ  ทำให้คนเป็นมนุษย์


        อย่าลืมนะว่าทุกสิ่งล้วนเชื่อมสัมพันธ์กัน ( อิทัปปัจจยตา ) ด้วยความสุขของเราก็เชื่อมโยงสัมพันธ์อย่างลึกซึ้งกับผู้อื่น  ทำนองเด็ดดอกไม้สะเทือนถึงดวงดาว 

ปัจจุบันมีสิ่งหนึ่งเกิดขึ้นมาในมหาวิทยาลัยคือ  มคอ.  (  มัดคออาจารย์ ) จะดิ้นหลุดหรือไม่มันต้องเกิดการเชื่อมโยงกัน  อย่าลืมนะว่าอดีตเป็นปัจจุบันมันอยู่ที่ช่วงรอยต่อเท่านั้น 

        แง่คิดช่วงพระนางชูสีไทเฮาประเมินข้าศึกพวกอังกฤษที่นำกองเรือรบเข้ามาประชิดจีนว่า อย่าไปสนใจเหล็กรอยน้ำได้อย่างไร..?  เมื่อค้นดูแผ่นที่อังกฤษก็แค่ลูกชิ้นลอยน้ำเล็กนิดเดียวจะกลัวทำไม..?  เราคือหนึ่งเดียวอัตตาสูงมากผลเป็นไงละ  ประเทศออสเตเรีย มีคนหลากหลายเข้าไปอยู่ทั้งคนเก่งทั้งกองโจร  ประเภทกูเก่งประเทศกูดีเลิศไม่ต้องพึ่งพิงใคร ๆ จนไม่มีใครคบหา  ต่อมาเริ่มแปลกใจเริ่มทบทวนตนว่า  ข้าหลงผิดไปแล้วอยู่พักหนึ่ง  คือไม่คบใคร  จำเป็นต้องเปิดประตูสู่โลกกว้าง  สุดท้ายเราต้องคบเพื่อน  เราต้องใจกว้าง  เราต้องลดอัตตาตนเองลงเราต้องยอมรับในความแตกต่างสิ

        มหาวิทยาลัยเราเหมือนเรือที่ออกวิ่งตามหลัง  ด้วยรัฐไม่นิ่งเราจะนิ่งได้อย่างไร  ผมว่ารื้อแนวคิดแค่มหาวิทยาลัยให้อาจารย์จงสร้างคนให้ได้เหมือนเป็นสัปปุริสธรรม   ดูมหาวิทยาลัยนันยางที่สิงคโปร์ติดอันดับต้น ๆ ของโลกเขาหันมาตรวจดูข้อสอบเพื่อรู้อะไรบางอย่าง 

        แง่คิด...หัวนั้นมันแพ้ใจนะครับ  มีศาสตราจารย์เดินทางมาพบท่านถามว่า  ที่คุณอยู่เรียนประเทศเรานั้น 5 ปี  คุณได้อะไรบ้าง..?  มหาวิทยาลัยในปัจจุบันในอนาคตท้ายที่สุดแล้วจะเหลือวิชาอะไร..?

        อันคนคิดเป็นนั้นแค่ตั้งคำถามไม่เกิดการเรียนรู้ดอก  ต้องตั้งคำถามที่จะก่อให้เกิดการเรียนรู้สิ  จริงอยู่เราอาจเกิดความเคยชินเหมือนลูกนกอ้าปากหนอนก็มาอยู่ในปากที่แม่มันป้อนเหยื่อให้  พอลูกนกน้อยเจอเจ้าหนอนตัวจริงก็คอยแต่อ้าปาก  แต่ไม่มีหนอนตัวใดไต่มาเข้าปากมันไงละ  นี่คือการเลี้ยงลูกไม่ให้รู้จักช่วยเหลือตนเอง  นี่คือเราไม่ได้ถูกฝึกให้เป็นคนกล้าคิด  ชีวิตตั้งแต่เด็กมาแล้วมักถูกหลอกให้กลัวนั่นกลัวนี่อยู่ตลอดเวลา  บางครั้งมหาวิทยาลัยต้องเข้มแข็งในจุดตน  เตือนให้ผู้เรียนระลึกเสมอว่า  ทุกคนที่เข้ามาเรียนคือคุณอยากมาเรียนเองนะ

ภาวะความเป็นครู  บางครั้งต้องโหดด้วยความกรุณาและขอทิ้งท้ายว่า...ทุกคนต้องมีหลักปักตั้งไว้ให้เป็นเหมือนเช่นขอบฟ้า  ถามว่าแล้วมีขอบฟ้าเอาไว้ทำไม  ตอบว่า...เอาไว้หลอกล่อให้คุณเดินตามไงละ..ฮา ๆ.

......................................................

ขอบคุณครับ  ผมได้สะเก็ดมุมคิดนี้จาก  ท่านวิทยากรคือ  รศ. ดร. สุนทร  โสตถิพันธุ์  อดีต  อธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, อดีตอธการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา .

หมายเลขบันทึก: 658399เขียนเมื่อ 29 พฤศจิกายน 2018 22:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 พฤศจิกายน 2018 22:34 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท