สภามหาวิทยาลัยทำอะไร



วันที่ ๒๖ - ๒๗ ตุลาคม ๒๕๖๑ สภามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  และทีมผู้บริหารมหาวิทยาลัย ไปประชุมกันแบบ retreat ภายใต้หัวข้อ “แนวทางการปฏิบัติหน้าที่ของสภามหาวิทยาลัยในการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน”    ที่ ขนอม ซันไรซ์ รีสอร์ท  อ. ขนอม  จ. นครศรีธรรมราช   ผมไปร่วมตลอดสองวันเต็ม

โจทย์ของมหาวิทยาลัยคือ มหาวิทยาลัยออกนอกระบบราชการมาระยะหนึ่งแล้ว    จะต้องปรับตัวรับสภาพการเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับรัฐอย่างไร  

 โจทย์ของผมคือ สภามหาวิทยาลัย ทำ/ไม่ทำ อะไร  ในสถานการณ์ปัจจุบัน  

ในการประชุมวันแรก ท่านอุปนายกสภา ทำหน้าที่แทนนายกสภา (ซึ่งป่วย) คือ ศ. ดร. นักสิทธ์ คูวัฒนาชัย บอกว่า ทำหน้าที่ขับเคลื่อนการทำหน้าที่ IEE ของมหาวิทยาลัย    I = Innovation, E = Engagement, E  Entrepreneurial    ซึ่งผมเห็นด้วยอย่างยิ่ง    และตีความต่อว่า ในยุคของท่านอธิการบดี ผศ. ดร. นิวัต แก้วประดับ นี้    ภารกิจเชิงกลยุทธ์คือการสร้างการเปลี่ยนแปลงมหาวิทยาลัย จากรูปแบบที่เราคุ้นเคย ไปสู่มหาวิทยาลัยที่ทำหน้าที่ IEE    เป็นยุคที่เน้น change management     เปลี่ยนมหาวิทยาลัย ไปจากรูปแบบเดิมๆ    ที่เรียกว่า สร้าง transformation  

ใช้กำปั้นทุบดิน บอกได้ว่า เปลี่ยนระบบ กับ เปลี่ยนคน

เปลี่ยนระบบ จากระบบวิชาการแยกตัว โดดเดี่ยว วิชาการเพื่อวิชาการ    ไปสู่ระบบวิชาการ IEE  วิชาการเพื่อบ้านเมือง    มหาวิทยาลัยทำหน้าที่เป็นหุ้นส่วนขับเคลื่อนประเทศไทย ๔.๐   ในสภาพเช่นนี้ ระบบข้อมูล  และทักษะการทำงาน  ต้องเพื่อ “รู้เขา”  “รู้ความต้องการของเขา”    ‘เขา’ ในที่นี้คือบ้านเมือง สังคม และโลก    และคนมหาวิทยาลัยต้องออกไปทำงานกับเขา    เพื่อความแข็งแรงของตนเอง    เพื่อทำหน้าที่ได้อย่างมีผลงานที่คุณภาพสูง   

เปลี่ยนคน คือเปลี่ยนทักษะ  เปลี่ยน mindset    และเปลี่ยนวิธีการปฏิบัติภารกิจ   

ตามที่ฝ่ายบริหารมหาวิทยาลัยเสนอแนวทางและประเด็นสัมมนา retreat    เน้นที่การเปลี่ยนจากมหาวิทยาลัยส่วนราชการ    เป็นมหาวิทยาลัยในกำกับรัฐ    แต่ผมคิดว่าส่วนนั้นน่าจะมีน้ำหนักเพียงร้อยละ ๔๐ (เป็นส่วนที่มีกฎหมายกำกับ)    อีกร้อยละ ๖๐ เป็นการ transform มหาวิทยาลัยสู่สังคมหรือโลกยุคใหม่    ซึ่งไม่มีกฎหมายกำกับ    นี่เป็นความเห็นส่วนตัวของผมนะครับ   ไม่ใช่สาระจากการประชุม   

สภามหาวิทยาลัยมีหน้าที่ตั้ง/ชี้/กำหนด เป้า    ช่วยหรือร่วมกับฝ่ายบริหารในการกำหนดยุทธศาสตร์เพื่อบรรลุเป้า     รวมทั้งจัดระบบเฝ้าระวังอนาคต     และช่วยให้มหาวิทยาลัยเปลี่ยนแปลงได้เร็วและถูกทาง     เพราะโลกและสังคมยุคปัจจุบันมีสภาพ VUCA   

ดร. ประสาร ไตรรัตน์วรกุล ชี้ให้เห็นว่า ในการทำหน้าที่กำกับดูแล (governance)   มีหลักการทำงานตาม 4 quadrant    โดยมีเส้นแบ่งแนวดิ่งเป็น ภายนอก – ภายใน    และเส้นแบ่งแนวนอนเป็น อดีตและปัจจุบัน – อนาคต    แล้ว ศ. ดร. กนก วงษ์ตระหง่าน ออกมาเติมวงกลมแห่งการขับเคลื่อน  เป็นรูปที่ ๑    ได้หลักการว่า กลไกกำกับดูแล เริ่มจาก quadrant ขวาบน ที่สนองภายนอกและอนาคต เป็นการกำหนดยุทธศาสตร์ (strategies)     วนสู่ quadrant ขวาล่าง ที่สนองภายในและอนาคต  เป็นการกำหนดนโยบาย (policy)     วนสู่ quadrant ซ้ายล่าง ที่สนองภายในและปัจจุบันและอดีต เป็นกิจกรรม ติดตามและตรวจสอบ (compliance & audit)   วนสู่ quadrant บนซ้าย ที่สนองภายนอกในปัจจุบันและอนาคต เป็นกิจกรรมเพื่อแสดงความรับผิดรับชอบ เพื่อความน่าเชื่อถือ (accountability)    

การประชุมกลุ่ม ใช้วิธี World Café   ทุกคนได้ประชุมทั้ง ๓ หัวข้อคือ  (๑) ด้านวิชาการและวิจัย   (๒) ด้านบุคลากร   และ (๓) ด้านการเงินและทรัพย์สิน    ผมตีความจากรายงานสรุปผลการประชุมว่า    คนมหาวิทยาลัยยังมองภาพการทำงานของมหาวิทยาลัยในรูปแบบเดิมๆ     ยังต้องการใช้สภาเป็นเพียงเพื่อภารกิจ fiduciary mode   ไม่เข้าใจ้ strategic mode และ generative mode ของ governance    

ผมเสนอให้ใช้สภามหาวิทยาลัยเพื่อช่วยสร้าง “ความยั่งยืน” โดยการ transform สู่สภาพที่เห็นคุณค่าชัดเจนในบริบทสังคมแบบใหม่    และมีทรัพยากรสนับสนุนจากการทำงานเป็นหุ้นส่วนพัฒนาบ้านเมือง    ไม่ใช่จากการแบมือขอจากรัฐอย่างในอดีต     

วิจารณ์ พานิช

๒๗ ต.ค. ๖๑

สนามบินนครศรีธรรมราช



1 แนวทางทำหน้าที่กำกับดูแล ๔ มิติ

2 บรรยากาศในห้องประชุมใหญ่วันที่สอง

3 ถ่ายอีกมุมหนึ่ง

4 บรรยากาศการประชุมกลุ่ม

หมายเลขบันทึก: 658394เขียนเมื่อ 29 พฤศจิกายน 2018 19:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 พฤศจิกายน 2018 19:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

Thank you for the ‘good news’ on a university .

I wonder if anyone readเมื่อปริญญาไร้ความหมาย! https://www.thaipost.net/main/detail/23035หากไม่ปรับไม่เปลี่ยน มหาวิทยาลัยก็กลายเป็นตึกร้าง https://www.thaipost.net/main/detail/23117

It seems that in IT world (trade) ‘certificates of competency’ (to do certain jobs) mean a lot more than ‘university degrees’. And this ‘Earn-while-You-Learn’ is fast becoming popular channel to develop one’s life and career.

What this trend may mean also is that ‘university degree teachers’ would have to train for (trade) ‘competency’ in the topic/subject they teach. Otherwise it would be better for (experienced) practitioners to teach (as masters of the trade).

All the better for people of this century.

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท