มัทนา
มัทนา (พฤกษาพงษ์) เกษตระทัต

ขี้หลงขี้ลืมขนาดไหน ถึงจะเรียกว่าผิดปกติ


"หมอว่าคุณผิดปกตินะ"

เมื่อเช้าเจอ อ.เก่าที่เคยสอน coursework วิธีวิจัยเชิงคุณภาพโดยบังเอิญ เพราะอ.มาประชุมที่คณะ

อ.เด๊บบรา คนนี้อยู่คณะสังคมสงเคราะห์ค่ะ นอกจากเชี่ยวชาญเรื่องวิธีวิจัยแล้ว ยังชี่ยวชาญเรื่องการดูแลผู้ป่วย และ ญาติผู้ป่วยโรงสมองเสื่อม (dementia) ด้วย

ยืนคุยกัยตรงทางเดินกันสามคน ผู้เขียน อ.เด๊บ แล้วก็ อ.ไมเคิล ที่ปรึกษาของผู้เขียน อ.เด๊บ บอกว่า ตึกคณะทันตะนี่น่างงจริงๆกว่าจะหาห้องประชุมเจอ ซับซ้อนมาก อ.พูดเล่นๆว่า เนี่ยะ เดี๋ยวนี้เวลาไป conference คนชอบคุยกันเรื่อง MCI หรือ Mild cognitive impairment พวกหมอก็หวังดีจะพยายามหาทางตรวจวินิจฉัยให้สามารถเจอความผิดปกติได้แต่เนิ่นๆ จะได้เริ่มช่วยได้เร็ว อ.เด๊บบอกว่า เนี่ยะ เค้ากลัวว่าถ้ามีหมอมาตรวจเค้า เค้าต้องเข้าข่ายผิดปกติ (MCI) แน่ๆเลย อ.ไมเคิลก็เออออไปด้วย (ไมเคิลนีขี้ลืมมากค่ะ  ในฐานะที่เป็น advisee ยืนยันได้ ฮะฮ่าๆ)

เราสามคนก็เลยคุยกันต่อว่า การเลื่อนเกณฑ์ที่ตัดสินว่า คุณปกติหรือผิดปกติ มานั้น เป็นสิ่งที่ดี หรือ ไม่ดีกันแน่

อ.ไมเคิลบอกว่า ที่ไอร์แลนด์ พอคนแก่หลงๆลืมๆ ก็ไม่เห็นว่ามันจะผิดปกติ ก็เรียนกันว่าคนนี้เป็น "gaga"

ความแตกต่างกันของหลงๆลืมๆเพราะอายุมาก กับ โรคสมองเสื่อมนั้น คือใน dementia  จะมีความผิดปกติในการใช้เหตุผลหรือมีปัญหาในการใช้ภาษาด้วย

อ.ทั้งสองคนถึงแม้จะไม่พูดออกมาเต็มปากเต็มคำ แต่ก็ดูเหมือนจะไม่เห็นด้วยกับการที่หมอมาตัดสินว่าใครปกติ ใครผิดปกติในกรณีเรื่องความหลงๆลืมๆนี้ 

การที่หมอพยายามตั้งชื่อโรค ตั้งชื่อความผิดปกติให้กับอาการต่างๆนั้นบางทีก็ไม่ใช่เรื่องที่ดีเสมอไป

ท่านผู้อ่านคิดเห็นยังไง แลกเปลี่ยนกันได้นะคะ

 

 

หมายเลขบันทึก: 65418เขียนเมื่อ 6 ธันวาคม 2006 09:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 14:04 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ขอขอบคุณอาจารย์มัทนา...

  • บันทึกของอาจารย์ทำให้นึกถึงเมืองไทย... เมืองที่กำลังจะมีคนสูงอายุเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

เรียนเสนอให้อาจารย์นำเรื่องคนสูงอายุมาเล่าสู่กันฟังอีกครับ

น้องมองว่า... คนเราโดยธรรมชาติก็ไม่ชอบให้ใครมาว่าหรอกว่าผิดปกติัยังไง โดยเฉพาะเมื่อความผิดปกตินั้นมันออกไปในแนวลบ ถ้าโรคนั้นๆเกี่ยวข้องกับความผิดปกติในส่วนอื่นของร่างกายที่ไม่ใช่ได้เชื่อมโยงกับสมองหรือความคิด การที่หมอจะพยายามวินิจฉัยตั้งชื่อโรคให้กับอาการผิดปกตินั้นๆ แม้แต่ตอนเนิ่นๆ ประเภทเข้าข่ายน่าจะเป็น ก็คงไม่ค่อยมีคนขัดเท่าไหร่  แต่ในกรณีที่ความผิดปกตินั้นมันเกี่ยวข้องโดยตรงกับสมอง มีผลกระทบต่อภาพพจน์ทางปัญญา ความคิด ธรรมชาติคนก็มักจะไม่ค่อยยอมรับสภาพความผิดปกตินั้นๆหรอก นอกจากว่ามันจะหนักจริงๆแบบใครๆก็เห็นได้ ไอ้ครั้นจะตกอยู่ในประเภท "เข้าข่ายน่าจะเป็นMCI" นี่ คนธรรมดาทั่วไปก็คงไม่ค่อยอยากจะเข้าข่ายนี้เท่าไหร่หรอก (ดูท่าแล้วอ.ไมเคิลก็คงไม่อยากเหมือนกัน.. ฮาฮา)

ที่สำคัญคือ... ถ้าเกิดหมอวินิจฉัยว่าคนไข้น่าจะเข้าข่ายเป็น MCI แต่สุดท้ายๆไม่ได้เป็นนี่ หมออาจจะแย่เองได้นะนั่น (หรือหมอจะบอกว่า.. โอ้ว... เพราะว่าวินิจฉัยได้แต่เนิ่นๆเลยรักษาหายได้เร็วครับ?)

 

 

  • ผมหลงลืมมากเลยครับเข้าข่าย dementia  ไหมครับ
  • หุงข้าวหาฝาหม้อไม่เจอ หนอย ดันเอาไปไว้ในตู้เย็น ขอบคุณมากครับ
  • สงสัยเป็น galu  นี้คงจะดูดีกว่า อัลไซเมอร์นะครับ
  • ขอบคุณครับ
  • อ.หมอวัลลภค่ะ แล้วหนูจะนำเรื่องราวผู้สูงอายุมาบันทึกเรื่อยๆค่ะ มีเรื่องน่าสนอีกมากที่อยากมาเล่า โดยเฉพาะประสบการ์ณที่ได้จากการ ไปนั่งคุยกับผู้สูงอายุตามโรงพยาบาลต่างๆที่นี่
  • อ.ขจิตนี่ เอาหมอหุงข้าวไปไว้ในตู้เย็น! ไม่เบานะคะเนี่ยะ  : ) แต่เขียนบึนทึกได้บ่อยๆดีแบบอาจารย์ ถึงอายุมากขึ้น สมองอ.ก็คงยังทำงานได้ดีค่ะ
  • ยินดีที่ได้รู้จักนะคะ  คุณ ดิศกุล
  • ใหม่นี่น้องสาวผู้เขียนเองค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท