หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารกระบวนการยุติธรรม คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 1/2561


หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารกระบวนการยุติธรรม คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประจำภาคการศึกษาที่ 1/2561 ได้เชิญ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ บรรยายหัวข้อ แนวคิดเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลสำหรับองค์กรด้านกระบวนการยุติธรรม ในวันอาทิตย์ที่ 9 กันยายน 2561 ณ ห้องจิตติ ติงศภัทิย์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์

เอกสารบรรยาย

บทความ

รายการวิทยุ

รายการโทรทัศน์

รายการโทรทัศน์ 2

ภาพ

สรุปบรรยายหัวข้อ  แนวคิดเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลสำหรับองค์กรด้านกระบวนการยุติธรรม

โดย

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

 

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

หัวข้อเน้นแนวคิดเรื่องคนประยุกต์กับกระบวนการยุติธรรม มีตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ ได้เคยไปบรรยายองค์การยุติธรรมหลายแห่ง เคยเป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม จากการอยู่ในกระบวนการศาล ทำให้ทราบว่า กระบวนการคิดยังแคบ

การคิดเรื่องคนต้องกว้าง เพราะคนเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดในการบริหารจัดการ

มีทุน 4 ชนิดในการทำงาน คือ เงิน เทคโนโลยี ทรัพยากรธรรมชาติ ทรัพยากรมนุษย์

คนไทยมองการบริหารงานบุคคลว่าต่ำต้อยที่สุด คนเก่งไปเรียนหรือทำงานด้านอื่น งานบริหารงานบุคคลจึงไม่ได้ถูกมองว่า เป็นงานยุทธศาสตร์

จากการทำงานสถาบันทรัพยากรมนุษย์ ก็ได้สร้างค่านิยมว่า งานเรื่องคนเป็นงานที่มีค่า ปัจจุบันนี้ บริษัทชั้นนำของโลก เช่น Google Microsoft ก็เลือกคนมีความสามารถเพราะคนเป็นตัวตัดสินให้องค์กรเป็นเลิศ กระบวนการยุติธรรมก็ต้องเน้น performance อาจารย์ต้องทำให้ลูกศิษย์เก่ง

เรื่องคนมีหลักสองข้อ สีจิ้นผิงพูดเรื่องคนได้ดี ถ้าจะบริหารคนจีนให้เป็นเลิศ ต้องเน้น

1.คุณธรรม จริยธรรม

2.ความเป็นมืออาชีพ ซึ่งต้องมีในคนทุกระดับ

เมื่อมีแนวคิด ต้องนำไปประยุกต์กับความจริง ปฏิบัติให้ได้

ความคาดหวังนักศึกษา

คนที่ 1 อาจารย์สอนรัฐธรรมนูญ มรภ.สุราษฎร์ธานี

ประยุกต์ใช้แนวคิดไปบริหารในองค์กร

คาดหวังความเท่าเทียมกันในการทำงานและสังคม

คนที่ 2 เลขานุการสนช.

นำแนวคิดไปประยุกต์กับชีวิต

คนที่ 3 อาจารย์รัฐประศาสนศาสตร์ มรภ.สุราษฎร์ธานี

ประยุกต์ใช้บริหารในองค์กร

รัฐประศาสนศาสตร์เกี่ยวกับบริหารคนและองค์กร

มหาวิทยาลัยยังมีความไม่เท่าเทียม หลักการยอมรับความสามารถมักถูกจำกัด ไม่ได้มองคุณสมบัติ ความเหมาะสม

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

คนไม่เหมือนเครื่องจักร คนบริหารเครื่องจักรการันตีได้ว่าจะเป็นอย่างไร คนเรียนสูงกลับมาก็ล้มเหลวเพราะคิดว่า ปริญญาคือปัญญา จริงๆแล้วต่างกัน บางทีเจ้านายก็ไม่ใช้งาน

ต้องทำให้คนภูมิใจในราชภัฏ

การบริหารคน ต้องใช้คนให้เป็น ต้อง Empower บางครั้งเจ้านายก็ควบคุม สั่งการ ควรมี autonomy ให้คนได้ทำงานเต็มที่

ต้องยกย่องให้เกียรติคน คนคิดและวิเคราะห์ได้ ต่างจากเครื่องจักร การเป็นเจ้านายที่ดีก็สำคัญ

คนที่ 4 ตำรวจ

บริหารคนยากที่สุด เรามีผู้บังคับบัญชาที่ต้องบริหารด้วย

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ต้องศึกษาคนให้ถ่องแท้ทั้งข้างนอกและใน

ต้องศึกษา Mindset

วันนี้ควรได้หลัก 2-3 เรื่อง

คนที่ 5 อาจารย์นิติศาสตร์ แม่ฟ้าหลวง

นำองค์ความรู้ไปวิเคราะห์งานบุคคลตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำว่า ใช้คนเกิดประสิทธิภาพสูงสุดหรือไม่

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ควรมี special lecture เรื่องคน

อาจทำวิทยานิพนธ์เรื่องนี้

ในยุคต่อไป ผู้พิพากษาต้องมีความรู้กว้างขึ้น

วิธีการคิดของกต.ก็มีปัญหา บางบครั้งก็ผิดมาก

คนที่ 6 นางพัชร์ศร ศิริสรรพ์ จากตุลาการทหาร

นำความคิดไปใช้ในหน่วยงาน

ระบบทรัพยากรมนุษย์ควรมีการปรับปรุง คนมีความสามารถต่างกัน แต่คำสั่งมาจากผู้บังคับบัญชา

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

แต่ละแห่งมีวัฒนธรรมต่างกัน

ต้องจุดประกายร่วมกันว่า ทุกอย่างต้องเปลี่ยนแปลง นำความจริงมาดู แล้วชนะเล็กๆ

ใช้ Ladder Theory ค่อยๆขึ้นบันได ต้องเดินไปด้วยกัน

อยากให้นักศึกษารวมกลุ่มกัน อ่านหนังสือ

โจทย์ถูกต้อง คือ ต้องมีการเปลี่ยนแปลงในวงการทหารด้วย ต้องเปลี่ยนแปลงให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมแล้วรักษาจุดแข็งไว้

ประเทศไทยโชคดีที่มีสถาบันที่เข้มแข็งช่วยกันทำงาน เป็นจุดแข็ง

นี่เป็นประเด็นสำคัญ ถ้านำการเปลี่ยนแปลงเข้ากองทัพ แล้วก็ใช้วิจัยวิชาการ

ต้องอาศัยบารมีในการทำงาน

คนที่ 7 พล.ต.ดร.เจนวิทย์ ยามะรัตน์ จากศาลรัฐธรรมนูญ

วิชานี้เป็นประโยชน์มากต่อไทย ถ้าได้แนวคิดก็ทำให้องค์กรก้าวหน้า

อยากนำไปใช้ในศาลรัฐธรรมนูญซึ่งถูกโจมตี อยากนำไปทำให้สังคมยอมรับ ทำให้องค์กรเป็นที่เชื่อถือมีความโปร่งใส

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ความคิดทั้ง 7 ท่าน สุดยอด

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

รู้สึกเป็นเกียรติที่ได้มา ทุกท่านก็จะเป็นเสาหลักของบ้านเมือง

วิชาอาจารย์กว้าง

กระบวนการยุติธรรมครอบคลุมคนมาก รวมถึงประชาชน และคนอื่นนอกองค์กร

ตอนนี้ไทยเป็น 4.0 ขับเคลื่อนด้วย value-based economy ตรงกับ 3V’s

Value Added

Value Creation

Value Diversity

อาจารย์สอนเรื่องคนโดยรวม

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

แนวคิดเรื่องคนของอาจารย์มี 4 เรื่อง

1.มอง Macro ไปหา Micro อย่ามองแค่องค์กร ต้องมองตั้งแต่เกิด เข้าเรียน ทำงาน ถึงตาย เป็น HR Architecture ถ้าครอบครัวดูแลไม่ดี เก่งเท่าไรก็มีจริยธรรมไม่ดี วันนี้มีแรงงานอพยพด้วย ในอนาคตจะวุ่นวาย

2.ปลูก คือ ปลูกฝัง Human Capital ตั้งแต่เกิด เข้าเรียน ทำงาน ทำตลอดชีวิต คือ lifelong learning ต้องรู้ว่า พัฒนาคนอย่างไร

3.เก็บเกี่ยว คือ แรงจูงใจ Incentives บริหารคนเพราะคนขับเคลื่อนด้วย Incentives ตอนนี้ไม่ใช่แค่เรื่องเงิน แต่รวมเกียรติและศักดิ์ศรีด้วย เมื่อให้ Incentives ผลประกอบการต้องดีด้วย

4.เอาชนะอุปสรรค รู้ว่า อุปสรรคมีอะไรบ้าง ราชการมีการเล่นพรรคเล่นพวก ขาด teamwork

ตัวอย่างเช่น เรื่องกีฬา ถ้าเล่นฟุตบอล ยิงได้ลูกแรก ก็เป็น incentives อาจจะนำไปสู่การชนะก็ได้

3V’s

Value Added เพิ่มมูลค่าจากเดิม

Value Creation ความคิดสร้างสรรค์

Value Diversity นำความหลากหลายมาเป็น Harmony ไม่ใช่ความขัดแย้ง

ควรทำวิทยานิพนธ์เรื่องการเก็บเกี่ยวในวงการทหารและตำรวจ บางคนได้ทุกอย่างแต่ไม่ทำงาน

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

ปลูก เก็บเกี่ยว ทำให้สำเร็จ ทำให้กรอบของคนง่าย

ปลูกคือ สร้าง

เก็บเกี่ยวคือบริหารจัดการ

ทั้งสามเรื่องต้องทำตลอดเวลา

ต้องเรียนรู้ตลอดเวลา เรียนกฎหมายก็มีการแก้กฎหมาย ต้องเรียนแล้วเรียนอีก แต่ละกฎหมายก็ต้องมีตัวละคร 4 กลุ่มมาเกี่ยวข้อง

รัฐวางกรอบ

ภาควิชาการเป็นผู้ปลูก ท่านเรียนปริญญาเอกก็ต้องเป็นนักวิชาการด้วย ต้องตามกระบวนการรัฐให้ทัน

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

วิชาการทหารถูกมองว่า เล็ก ดูจากคนสอนมีตำแหน่งไม่สูง

วิชาการคือการทำวิจัย ไม่ใช่แค่อยู่ในมหาวิทยาลัย

อาจจะต้องเปลี่ยนแปลงความคิดในองค์กร

วิชาการต้องไม่รู้จักทฤษฎีเท่านั้นแต่ต้องทำวิจัยได้

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

กลุ่มเอกชน ก็สำคัญ ต้องสนใจกฎหมายพาณิชย์ เอกชนรู้กว้าง จะเลี่ยงกลุ่มนี้ไม่ได้

ต้องทำให้ประชาชนอยู่ได้

ต้องมีความรู้กว้าง

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

GDP ไม่ใช่ตัวชี้วัดที่สมบูรณ์แบบ ต้องช่วยรัฐบาลอธิบายให้ประชาชนเข้าใจเรื่องนี้

GDP เป็นองค์รวม แต่ไม่ใช่ไม่ดีทั้งหมด

ต้องมีปัญญาแล้ววิเคราะห์ได้

มหาวิทยาลัยต้องพูดกับชาวบ้านได้ ซึ่งต้องสัมผัสกับประชาชนด้วย

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

ต้องกล้าคิดและกล้าเปลี่ยน

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

Trump ขึ้นมาเพราะคนดำดูแลมา 8 ปี จึงเกิดการเปลี่ยนแปลง Trump ขึ้นมาเพราะคนขาวยังมีความเหยียดผิว

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

เมื่ออาจารย์สอน ก็ได้แนวคิด

ต้องใช้เวลาในการสร้างสิ่งต่างๆ

กลุ่มท่านจะเป็นเสาหลักต่อไป

อาจารย์จะพูด 3 เรื่องที่คาบเกี่ยวกันตลอด

เข้าใจกฎหมายหลักแล้วก็ต้องปลูก เรียนรู้ต่อ

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ต้องเน้นการเอาชนะอุปสรรคด้วย

เขียนแผนแล้วต้องนำไปทำด้วย

ในการแก้ปัญหา ต้องทำเป็นขั้นและมีพี่เลี้ยง

หลักสูตรนี้สอนให้คิด

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

ปลูกคือ HRD Human Resource Development

เก็บเกี่ยวคือ Human Resource Management

ก้าวข้ามอุปสรรค

คิดแบบผู้นำ

เรื่องผู้นำต้องมีบารมี คือ

1.คิดทำโอ่อ่า หรูหรา

2.แม้ตัวเงียบ แต่งานต้องดัง มีการเผยแพร่ผ่านสื่อ

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ยุคนี้ Be media ตัวคุณเป็นสื่อ เรียนจบแล้วเขียนว่า ได้อะไร

อาจนำสิ่งที่อาจารย์แนะนำไปใช้ได้

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

ต้องคิดถึงตัวละคร ต้องสนใจต่างประเทศด้วย เพราะมีแรงงานข้ามชาติเข้ามา

ต้องเข้าใจ 3 เสาหลัก บวก 4 ตัวละคร

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

Michael Hammer กล่าวว่า “The world is changing very fast and unpredictable” ต่อไป โลกเต็มไปด้วยการเปลี่ยนแปลงที่เร็ว ไม่แน่นอนและทายไม่ได้

Michael Porter กล่าวว่า “Comparative advantage of countries or economies depend on the quality of human resources.”     ต้องสนใจคุณภาพคน เช่น วงการตำรวจต้องพัฒนาตำรวจชั้นผู้น้อยด้วย

SCG กำหนดให้ทุกคนเรียนโดยไม่นับเป็นวันลา 7 วัน และลงทุนสูงด้านค่าใช้จ่ายต่อหัวในการพัฒนาคน

สิ่งสำคัญต้องมีความเชื่อมั่นในคน ถ้าลงทุนเรื่องคนเป็น คนก็จะมีคุณค่า

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ กล่าวว่า “ทรัพยากรที่สำคัญที่สุดในปัจจุบัน ไม่ใช่เงิน สิ่งของหรือเครื่องจักร 

แต่เป็นคน เช่น สิงคโปร์ หรืออิสราเอล”

ลีกวนยูมี CEO Forum ให้สนใจเรื่องคน

ต้องดึงศักยภาพคนออกมาให้ได้ ปัญหาคืออธิการบดีไม่สนใจเรื่องคน แต่สนใจบริหารตำแหน่งวิชาการ

CEO ของ Microsoft กล่าวว่า His philosophy of work is “curiosity and thirst for learning.” ควรหิวการเรียนรู้ ต้องเป็นองค์กรการเรียนรู้ ปัญหาคือคนไม่สนใจเพราะเป็นการวางแผนระยะยาว

เรื่องคนต้องใช้เวลาในการเปลี่ยนพฤติกรรม

คนเก่งมักเข้ามาทำงานเรื่องคนเพราะมีแต่ปัญหา

                                              

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

ตอนนี้รัฐบาลยังไม่มียุทธศาสตร์เรื่องคน กลุ่มนี้อาจจะคิดต่อได้

เมื่อวานนี้ นายกรัฐมนตรีพูดเรื่องการมีหมอไปดูแลสุขภาพคนในชุมชน ก็คือเรื่องคน แต่ไม่ได้บอกว่าเป็นยุทธศาสตร์

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ไม่ควรนำคนมีตำแหน่งกระทรวงแรงงานและกระทรวงศึกษาธิการไปพูดเรื่องคนเพราะรู้ไม่จริง

เวลาทำงานเรื่องคน ต้องมองกว้าง ปัญหาคือ เด็กไทยมักลงลึกเร็ว แต่ต่างประเทศ คนต้องเรียนสาขาอื่นก่อนจึงไปเรียนกฎหมาย ไม่ใช่เริ่มเรียนกฎหมายทันที เหมือนกรณีคลินตัน

ถ้าเราไม่เปลี่ยนแปลง เราก็ตาย ต้องเปลี่ยนก่อนถูกบังคับให้เปลี่ยน

 

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

เราต้องรู้ว่าจะเรียนอะไร

Learning how to learn สำคัญที่ learn, share, care

เรียนรู้แล้วแลกเปลี่ยนกัน คนเรียนมาจากที่ต่างกันต้องแบ่งปันกัน เรียนรู้จากกัน

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

รัฐบาลนี้นำเงินไปลงชุมชนมากแต่ขาดบรรยากาศในการแลกเปลี่ยนความเห็น

ควรมีเวลาไปเยี่ยมชุมชน

ควรนำกรณีศึกษามาประยุกต์ใช้

การทำประชารัฐ ราชการต้องฟังชาวบ้านด้วย ต้องสร้างให้มีบรรยากาศการแลกเปลี่ยนกัน

ต้องนำบริษัทใหญ่ที่เป็นทุนกระจุกมาช่วยทำงานกับชุมชนด้วย

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

ทฤษฎี 3 วงกลมสำคัญต่อการบริหารจัดการองค์กร

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ควรนำทฤษฎี 3 วงกลม และ HRDS ไปคิดต่อเป็นวิทยานิพนธ์ก็ได้

การบริหารคนที่สำเร็จจริงต้องดูที่ Tangible and Intangible ต้องมองคนจากข้างใน

เน้น Visible and Invisible มองคนแล้วเข้าใจคนหรือไม่ เช่น ความต้องการของคน ซึ่งเรื่องนี้สำคัญที่สุด

ในสหรัฐอเมริกาขณะนี้เรียนวิชาความสุขมากที่สุด วิชาที่สำคัญที่สุดคือ ธรรมะ คนไทยยังไม่สนใจธรรมะ ฝรั่งสนใจ Mindfulness ซึ่งคือ วิปัสสนา สมาธิ ต้องอ่านหนังสือทิเบต ที่ท่านดาไลลามะเขียน

วิธีการเรียนแบบ 4L’s

Learning Methodology   มีวิธีการเรียนรู้ที่ดี

Learning Environment   สร้างบรรยากาศในการเรียนรู้

Learning Opportunities   สร้าง/เกิดโอกาสจากการเรียนรู้ ปะทะกันทางปัญญา

Learning Communities   สร้าง/เกิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ อย่าหยุดการเรียนรู้ จะเรียนอะไรหลังจากที่อาจารย์ไม่อยู่แล้ว

บริหารคนด้วย 2R’s

Reality - มองความจริง คือ ดูสภาพแวดล้อม    

Relevance – ตรงประเด็น คือ เลือกสิ่งสำคัญที่สุด

AI ไม่มี 2I’s

Inspiration – จุดประกาย

Imagination – สร้างแรงบันดาลใจ

การบริหารจัดการคนต้องทำให้คนมีความเป็นเลิศแล้ว perform เกิด 3V’s ขึ้นมา

Value Added    สร้างมูลค่าเพิ่ม

Value Creation    สร้างคุณค่าใหม่

Value Diversity    สร้างคุณค่าจากความหลากหลาย

ทฤษฎี  3 วงกลมเพื่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์อย่างมีประสิทธิภาพ

1.รู้บริบทองค์กร

2.สมรรถนะคือ ปลูก

3.เก็บเกี่ยว

ถ้าทั้งสามวงทับกัน ก็จะเป็นเลิศ

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

ทฤษฎี  3 วงกลมใช้ได้ทุกแห่ง ถ้าคนมีคุณภาพ ระบบต่างๆไปด้วยดี แต่คนต้องทำงาน ก็ต้องอาศัย Motivation

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

วงกลมที่ 2 มีหลักคือ ภาวะผู้นำ แต่สิ่งที่คนลืมคือ จิตวิญญาณผู้ประกอบการ ต้องสามารถบริหารความเสี่ยง ฉกฉวยโอกาส ปัญหาคือคนไทยไม่ทำ 3 V’s

จิตวิญญาณผู้ประกอบการต้องเน้น low cost and shift demand หาลูกค้าใหม่และเป็นเลิศได้

Macro and Global Competency มหาวิทยาลัยต้องสอนเด็กให้มองกว้าง อย่าลงลึกอย่างเดียว

ศาลก็ต้องมองกว้าง จะได้ตัดสินไม่ผิดพลาด หลักสูตรศาลก็ต้องกว้าง

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

เวลาทำวิทยานิพนธ์ ควรนำ 3 วงกลมเข้าไป เพราะเกี่ยวกับคน

Motivation ทำให้คนทำงานเต็มความสามารถ

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ถ้าจะฝึกให้คนมีศักยภาพมากขึ้น ต้องดูว่า คนต้องการอะไร

ธรรมศาสตร์ใช้ระบบความไว้เนื้อเชื่อใจ ให้อิสรภาพแก่นักวิชาการ

วัฒนธรรมองค์กรต้องไม่ทำให้คนขาดขวัญกำลังใจ ควรทำวิทยานิพนธ์เรื่องนี้

การบริหารคนด้วย HRDS

Happiness แบ่งปันความสุข

Respect นับถือกัน

Dignity มีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์

Sustainability ความยั่งยืนเป็น Intangible

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

ความยั่งยืนคือ ทำแล้ว ทำอีก ทำให้ดีขึ้น และทำต่อเนื่อง

Dignity เป็นค่านิยมที่ปลูกฝังเข้าไป

วิชาที่รุ่นนี้เรียนมีนวัตกรรม ถ้ามีการควบคุมมาก นวัตกรรมไม่เกิด อย่างไรก็ตาม ก็ควรแยกกลุ่มออกมาทำนวัตกรรม ต้องไม่ทำลายนวัตกร แล้ว HRDS จะช่วย

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

HR ในวงการตุลาการกำลังปรับจาก Routine Personnel มาเป็นยุทธศาสตร์เพื่อเพิ่ม Performance และ 3V’s ทำให้คนมีคุณภาพสูงแบบมี 3V’s

IT มาทำงานแทนกองการเจ้าหน้าที่ได้ แต่สร้างมูลค่าเพิ่มไม่ได้

การทำงานเรื่องคนต้องมองเป็นยุทธศาสตร์ที่ต้องมีการลงทุน เรื่อง lifelong learning สำคัญที่สุด

การลงทุนเรื่องคนต้องมองตั้งแต่เกิด ทุกวันนี้คนถูกสื่อมวลชนมอมเมาด้วยค่านิยมที่ผิด

ครอบครัวมีบทบาทมากในการลงทุนช่วงแรกของชีวิต บางครอบครัวดูแลลูกไม่ได้ ทำให้คนไม่มีคุณภาพ มีเด็กเร่ร่อนและออกจากระบบการศึกษา ควรจะมองในระดับประเทศด้วย ประชากรแบ่งเป็นกี่กลุ่ม แต่ละกลุ่มก็เกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรม

ปัจจุบันนี้ ก็ไม่ได้มีการปลูกคนแค่ในวัยเรียน

ทุนทางอารมณ์สำคัญ ต้องควบคุมอารมณ์ให้ได้

HR ต้องแก้ปัญหาได้

ราชการมีปัญหาคือ เจ้านายไม่ให้ความสำคัญคน มีระบบอุปถัมภ์ ความรู้ไม่ต่อเนื่อง แรงจูงใจไม่เน้น Intangible

Dave Ulrich กล่าวว่า HR ยุคใหม่ต้องทำ 4 อย่าง

1.HR ต้องสร้างการเปลี่ยนแปลงให้ได้ คือต้องบริหารการเปลี่ยนแปลง

2.อย่าทำงานคนเดียว ต้องเป็น Strategic Partners กับคนในองค์กร เช่น CEO หรืออธิบดีหรือคนในหน่วยงานที่ทำหน้าที่ซึ่งเรียกว่า Non-HR

3.ต้องเน้นคุณค่าของคน คือ เป็น Employee Champion

4.ต้องมีระบบการบริหารจัดการ HR ที่ทันสมัย คิดเป็นยุทธศาสตร์ คือ อย่าใช้กฎระเบียบแบบราชการ ต้องให้มีเสรีภาพมากขึ้น หรือ มีการมอบอำนาจ คือ Empowerment

Peter Senge ก็เน้นองค์กรแห่งการเรียนรู้ มี 5 เรื่อง คือ

1.Personal Mastery รู้อะไร รู้ให้จริง

2.Mental Models มีแบบอย่างทางความคิด

3.Shared Vision มีเป้าหมายร่วมกัน

4.Team Learning เรียนรู้เป็นทีม ช่วยเหลือกัน

5.Systems Thinking มีระบบการคิด มีเหตุมีผล

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

การเปลี่ยนงาน HR จาก Routine มาเป็นยุทธศาสตร์ ต้องนำ vision, mission มาบวก trend ทำนายอนาคตได้

คำถามจากนักศึกษา

Gen Y, Z จะทำอย่างไรให้ลดช่องว่างกับ Gen นี้ เราพยายามรับคนใหม่ที่มีความสามารถ เวลาส่งคนไปเรียนแล้ว เขาก็ย้ายงาน ทำให้ขาดความเชี่ยวชาญ เขาไปเพื่อหาเงินเดือนและความก้าวหน้าที่สูงกว่า

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

ต้องมีการปรับงาน

งานโรงไฟฟ้ายังคาบเกี่ยว 3.0

ธุรกิจครอบครัวก็เป็นโรงไฟฟ้า ต้องมีการทำงานประสานกับคนรุ่นเก่า ต้องเก็บกลุ่มคนมีทักษะไว้เป็นคลังสมอง แล้วจัดให้เป็นคนควบคุมระบบ คนใหม่ออกไป ระบบก็ยังอยู่ได้ ต้องให้เกียรติและศักดิ์ศรีแก่คนรุ่นเก่าด้วย

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ต้องมีการทำวิจัยว่า แต่คนใน Gen เดียวกันอาจจะไม่เหมือนกัน

 

Workshop

กลุ่มซ้าย

1.อุปสรรคในการปรับ HR Personnel มาเป็น HR แบบใหม่ 3 เรื่องในกระบวนการยุติธรรมคืออะไร ทางออกที่เหมาะสมคืออะไร ยกตัวอย่างที่สำเร็จ 3 เรื่อง

 

อุปสรรค

ทางออก

Standalone ในอดีต คดียุติธรรมเป็นเรื่องของรัฐทำให้คดีมีมากล้นศาล คำพิพากษายุติธรรมตามกฎหมาย แต่ความพึงพอใจของคู่ความอาจจะไม่เป็นไปตามนั้น

 

Partnership ตั้งกระบวนการยุติธรรมชุมชน อยู่ภายใต้ยุติธรรมจังหวัด ดำเนินการโดยชุมชน มีผู้นำเกษตรกร ประธานชุมชนจากเทศบาล อบต.และคนที่ได้รับการยอมรับในชุมชน

ตอบสนอง Partnership และ HRDS มีการเคารพนับถือ ให้เกียรติและนำไปสู่ความยั่งยืน

 

กระบวนการยุติธรรมชุมชนเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพชุมชน คนมีส่วนร่วมในการตัดสินปัญหา ลดต้นทุนในการเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม เป็นการลงทุนให้สังคมมีความสุข

ในสุราษฎร์ธานีมียุติธรรมชุมชน ตอนนี้ก็สนใจจะพัฒนาให้มีประสิทธิภาพ

 

มรภ.สุราษฎร์ธานีมีการให้ความรู้ชุมชนเรื่องยุติธรรมชุมชน

 

 

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ต้นทุนคดีเข้าสู่ศาลแพง จึงมี out-court settlement ประนีประนอม

ภาระอยู่ที่ศาล ตอนนี้มีหลายเรื่อง

กลุ่มนี้มองเรื่องคนในมุมกว้าง ไม่ได้มองแค่ในองค์กร ซึ่งเป็นเรื่องดี

ต้องจับประเด็นให้ได้แล้วเลือกประเด็นสำคัญไปประยุกต์กับความจริง

อยากให้ไทยเป็นสังคมมีกฎหมายที่ยุติธรรมต่อทุกคน ไม่ให้คนจนเสียเปรียบ

กรรีนี้มีตัวละคร ตอนเรียนต่างประเทศ ก็ได้อ่านผลงานเชคสเปียร์ คนเก่งเมืองนอกเรียนวรรณคดีอังกฤษแล้วมาเรียนการเงิน แต่คนไทยสนใจสิ่งไร้สาระ เด็กป.1 ต้องเรียนเลขป.3

ต้องจับประเด็นไปต่อยอด

ชอบที่นำ HRDS เข้ามา เศรษฐกิจพอเพียงทำให้คนอยู่รอด ค่าใช้จ่ายลดลง

เวลาเรียนกฎหมายต้องสนใจศาสตร์อื่นด้วย ต้องมีการควบคุมค่าใช้จ่ายเรื่องกฎหมาย

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

ฟังแล้วปลื้มมาก ถือเป็นนวัตกรรมทางกระบวนการยุติธรรม ชอบที่สุดที่เข้าใจว่า คนในชุมชนอยู่ด้วยกัน เรื่องถึงศาลทำให้คนแตกแยก ทำให้เห็นตัวละคร 4 กลุ่ม รัฐ วิชาการช่วยเสริมกระบวนการยุติธรรมให้ประชาชนเข้าใจ ถ้าเป็นเรื่องทำมาหากิน ก็เกี่ยวกับเอกชน ยุติธรรมชุมชนขยายไปได้

เก่งมาก นำความจริงไปจับกับวิชาการที่เรียน ทำให้ได้เรียนรู้และสนใจเรื่องอื่น

 

กลุ่มขวา

2.แนว Chira’s Way, Ulrich และ Peter Senge และ Kotter จะผสมกันอย่างไร เหมาะกับระบบยุติธรรมในเมืองไทยหรือไม่อย่างไร จุดแข็ง จุดอ่อนของ 4 ท่าน คือ อะไร อธิบาย จะนำไปใช้กับ Reality ของระบบยุติธรรมไทยอย่างไร

 

Chira’s Way

3 วงกลม

3V’s

ปลูก เก็บเกี่ยว Execution

3 วงกลม

ทำให้เห็นว่า แต่ละองค์กร standalone ผลักภาระให้คนอื่น ตำรวจมุ่งเน้นแต่ปิดคดี ไม่ได้อำนวยความยุติธรรมจริง อัยการดูแค่ยกฟ้อง ศาลดูแค่พยานหลักฐาน ไม่เร่งสอบสวนเพิ่ม แต่ละองค์กรมีตัวเลขคดีองค์กรเป็นหลัก

 

ความรู้ของคนแต่ละองค์กร เช่น อัยการและศาลรู้ลึกแต่กฎหมายแต่ไม่กว้าง แต่เวลาเป็นผู้พิพากษาต้องรู้กว้าง

เวลาคดีเข้ามาสู่ศาล ก็มีมาก เพราะกฎหมายใช้กับคนหมู่มาก ต้องมีการพัฒนาให้บุคลากรรู้จริง

อาจให้คนเรียนจบสาขาอื่นมาก่อนเรียนนิติศาสตร์ จะทำให้มีความรู้กว้างขึ้น

 

วงกลมสุดท้ายคือแรงจูงใจ

คนที่เข้ากระบวนการยุติธรรม เป็นเพราะคาดหวังค่าตอบแทน ความมั่นคง เกียรติ

ได้ข้อมูลจากการถามลุกศิษย์ว่าเรียนแล้วอยากเป็นอะไร คำตอบคือผู้พิพากษา เป็นการนำความฝันของคนอื่นมาเป็นของตนเอง

 

Motivation จากระบบต่างประเทศ การทำให้คนใช้ประสิทธิภาพเต็มที่ทำงาน การขึ้นไปทำตำแหน่งสูงขึ้นจะวัดเป็น KPIs เสนอให้มีการจ้างผู้พิพากษาแบบ Contract

วิธีนี้อาจจะเป็นแรงจูงใจในกระบวนการยุติธรรม

 

Peter Senge

สิ่งที่นำมาใช้ได้คือ

รู้อะไรให้รู้จริง เมืองไทยมักเน้นการได้ปริญญาแต่ไม่มีความรู้ แต่ในสหรัฐเน้นการปฏิบัติได้จริง จึงจะได้เข้าทำงาน

 

การมีแบบอย่างความคิด ชอบความคิดอาจารย์เรื่องปลูกพัฒนาคนทั้งชีวิต สิงคโปร์มีต้นแบบที่ดีคนจึงเสียสละและทำให้ประเทศเจริญ แต่ประเทศไทยยังขาดต้นแบบที่ดี

 

การมีเป้าหมายร่วมกัน ลพบุรีและอยุธยานำชุดไทยมาเป็นจุดขาย คนไทยแต่งชุดไทยเข้าชม มีรายได้มหาศาล

 

ที่เบตง และจังหวัดชายแดนภาคใต้มีการฆ่ากัน ประชาชนร่วมกับรัฐทำให้เป็นเมืองท่องเที่ยวน่าอยู่ คนอยู่อย่างสงบ เศรษฐกิจมั่นคง

 

การทำงานเป็นทีม เช่น การช่วยทีมหมูป่า ถ้านำมาใช้ ประเทศไทยก็เจริญ ใช้เวลาไม่กี่อาทิตย์ก็ทำงานได้สำเร็จ

 

การมีเหตุมีผล ทำให้มองตามความเป็นจริงแต่การตัดสินทำให้คนไม่เข้าใจ เช่น  การตัดสินคดีแพรวาขับรถชนรถตู้ตาย ศาลตัดสินให้รอลงอาญา ต้องมีการปฏิรูปให้ระบบมีเหตุผล มองถึงความจริงและความจำเป็น ควรคัดสินให้สอดคล้องความเป็นจริงและมนุษยธรรม

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

3 วงกลมทำให้ทุกอย่างรวมกัน แต่ในความเป็นจริงแต่ละหน่วยอยู่แยกจากกัน

เป็นการเปิดประเด็นที่ดี การเรียนยุคใหม่ต้องเลือกประเด็น

ทั้งสองกลุ่มก็มีหลักการที่เป็นประโยชน์

การมองคนในมุมกว้างไปช่วยบริหารคนในวงการยุติธรรมในภาพใหญ่ด้วย

ข้อเสนอนี้ก็ควรจะนำมาเขียนขึ้นมา

เรื่องความรู้ของคนในแต่ละหน่วยงานขึ้นกับการปลูก ต้องปลูกให้ผู้พิพากษารู้กว้างขึ้น มีมุมมองที่ดี

วันนี้มีประเด็นดีมาก ควรเผยแพร่ให้คนทราบมากขึ้น อาจมีการอธิบายความเพิ่มเติม

นอกจากเรียนปริญญาเอกแล้ว ควรมีพลังเอาชนะอุปสรรค

สิ่งสำคัญคือเรื่องทุนมนุษย์ ใครจะเป็นผู้ริเริ่ม อาจจะเป็น Self-learning

Leonardo Da Vinci บอกว่า คนเรียนวิทยาศาสตร์ต้องรู้สังคมศาสตร์ด้วย

ต้องมี Scientific Mind คิดเป็นเหตุผล

เรื่อง contract ผู้พิพากษาก็อาจจะใช้ในหน่วยงานอื่นด้วย ควรเขียนวิทยานิพนธ์เรื่องนี้

ผู้พิพากษามักทำงานแบบเดิม

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

ทั้งสองข้อเป็นการถ่ายทอดความรู้ เป็นตัวอย่างการนำเสนอ Execution

ทั้งสองข้อต่างกัน มีการนำเสนอต่างกัน

ทั้ง 7 ท่านมีส่วนร่วมการทำงานเสริมซึ่งกันและกัน

กลับไปสู่ Learn share and care ประเทืองปัญญา บางเรื่องไม่ทราบมาก่อน ก็มีคนอธิลาย

การหารือในกลุ่มเป็นชุมชนการเรียนรู้ เมื่อฝึกไป จะเป็น Learning Organization

การอำนวยความยุติธรรมควรมีการหารือกัน

สิ่งสำคัญคือ สิ่งที่นำเสนอคือความงอกงาม เป็นการกระเด้ง แม้ไม่มีทิศทางก็จะทำให้เกิดสิ่งใหม่

Value Diversity สำคัญที่สุดทำให้เดินไปได้ทุกอย่าง

วันนี้ทำให้ได้เรียนรู้มาก

หมายเลขบันทึก: 651887เขียนเมื่อ 7 กันยายน 2018 13:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 ตุลาคม 2018 11:16 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท