@Moui
ภูมิจิต ศิระวงศ์ประเสริฐ

ช่องสารคดีในดวงใจ National Geographic Channel กับสารคดีสุดยอดตอน ' Flight Science '


มนุษย์ใช้ร่างกายเป็นอาวุธ เพื่อต่อสู้กับสัตว์ร้าย หรือมนุษย์ด้วยกันมานานแล้ว

มนุษย์ใช้ร่างกายเป็นอาวุธ เพื่อต่อสู้กับสัตว์ร้าย หรือมนุษย์ด้วยกันมานานแล้ว แต่ไม่เคยมีใครใช้วิทยาศาสตร์เข้ามาพิสูจน์ ความรุนแรง และความอันตรายของการต่อสู้ในรูปแบบต่างๆ จนที่สุด ผู้ผลิตสารคดีชื่อดังอย่าง National Geographic Channel ก็ทำการถ่ายทอดงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ ในเรื่อง Fight Science ออกมาเป็นสารคดีที่คนรักสารคดีไม่ควรพลาด

ขออนุญาตบอกเล่าข้อมูลเพิ่มเติม สำหรับผู้ที่สนใจอยากติดตามรายละเอียดได้ค่ะ

  1. Fight Science 
  2. Martial Artists' Moves Revealed in "Fight Science" Lab

เนื่องจากดูแล้ว 'อิน' มาก สารคดีชุดนี้ ยาวประมาณ 2 ชั่วโมงค่ะ ความประทับใจที่ได้ดูมีมากถึงมากที่สุด เป็นหนึ่งในสุดยอดสารคดีที่ควรติดตามเลยทีเดียว

ที่มาของสารคดีชุดนี้ เข้าใจว่าเกิดจาก นักวิทยาศาสตร์ผู้ทำการวิจัย สงสัยว่า คำร่ำลือต่างๆ นานา ที่บอกว่า การชก, เตะ, จี้จุดตาย ที่ทำเพียงครั้งเดียวนั้น มันเป็นแค่เรื่องบอกเล่า หรือเป็นเรื่องจริง  จึงทำการวิจัยเพื่อพิสูจน์ข้อสงสัยนี้ (แหม ถ้าคนไทยสงสัย ก็คงจะเดา แล้วก็บนบานกับเทวดาฟ้าดิน มากกว่าจะมาทำวิจัยเป็น series ขนาดนี้ค่ะ)

การทำวิจัยของเขาก็น่าทึ่งค่ะ ผู้วิจัย (เป็นทีมขโยงเบ้อเริ่ม) นำหุ่นที่เป็นที่ยอมรับแล้ว เป็นหุ่นที่ใช้ในการทดสอบรถยนต์เมื่อต้องชนกับวัตถุต่างๆ ด้วยแรงแตกต่างระดับกัน (รวมถึงชนในมุมต่างๆ ด้วย) หุ่นตัวนี้มีความสมจริงเหมือนมนุษย์ค่อนข้างมาก ในลักษณะของข้อ กล้ามเนื้อ จุดอ่อนของร่างกายจุดต่างๆ ในบางการทดสอบบางช่วง ก็ต้องใช้ยางซิลิโคนทำเป็นหุ่นแทน และหุ่นทุกตัวมีการฝัง censor ไว้ตรวจวัดความรุนแรงจากการประทะในระดับต่างๆ ตัวเลขเหล่านี้ มีความสำคัญต่อการนำมาประมวลผลเพื่อทำการวิจัย แปลง่ายๆ ว่า ตัวเลขเยอะแยะ ที่นักวิทยาศาสตร์ ทดลองขึ้นมาเพื่อให้ได้มานี้ จะถูกนำมาอธิบายเป็นภาษาที่คนดูอย่างเราๆ เข้าใจได้ทันที

ยกตัวอย่างเช่น ความเร็วของหมัดนักมวยสากลมืออาชีพที่ระดับ 985 mph (mile per hour) นั้น เทียบได้กับ ความรุนแรงของที่รถวิ่งด้วยความเร็ว 35 mph วิ่งเข้าชนกำแพง ซึ่งความแรงระดับนี้ จะก่อให้เกิดอันตรายต่ออวัยวะร่างกายส่วนใด อย่างไร เป็นต้น

งานวิจัย เป็นงานที่อาจจะสนุกสำหรับผู้ทำ แต่มันจะน่าเบื่อมาก สำหรับผู้ดูที่ไม่มีมีความรู้ หรือมีความสามารถในการทำความเข้าใจผลวิจัยแตกต่างกัน ตรงนี้นี่เอง ที่ NAT GEO ได้เข้ามาแสดงความสามารถในการ 'แปลงานวิจัย' ให้เป็นภาพสารคดีให้คนดูเข้าใจได้ง่าย และน่าติดตามเป็นอย่างยิ่ง ไม่ว่าจะเป็นการตัดต่อ เรียบเรียงลำดับของการต่อสู้แต่ละประเภท มุมกล้องที่สวยสดไม่มีหลุด ฉากแสง ความพร้อม รวมไปถึงเบื้องหลังของการทำงานของนักวิจัย ที่กว่าจะได้ตัวเลขสักตัว กว่าจะได้ตัวเลขมากพอจะประมวลผลเป็นข้อมูลออกมาได้

เราได้เห็นความเหนื่อยยากของนักวิจัย เห็นความยุ่งยากของคนทำงานตัดต่อ และที่สุด ได้เห็นถึงความมานะพยายามของนักสู้แต่ละคน กว่าจะได้มาเป็นสุดยอดของการต่อสู้แต่ละประเภทได้ มันไม่ได้มาจากความฟลุ๊ค แต่มันมาจากกำลังกาย กำลังใจ และความอดทนที่จะฝึกฝนอย่างต่อเนื่อง การต่อสู้ทุกประเภท นักสู้ต้องฝึกมากกว่ากว่า 10 ปี บางอย่างต้องฝึกต่อเนื่องอย่างไม่มีวันสิ้นสุด เพื่อคงความเป็นสุดยอดในยุทธนั้นๆ

การต่อสู้ที่ถูกนำมาใช้ในงานวิจัยได้แก่ (จำไม่หมดนะคะ เอาที่จำได้)

  • มวยไทย (ได้เป็นสุดยอดการเตะค่ะ เข่าเดียวตาย)
  • มวยสากลอาชีพ (สุดยอดการต่อย knock out มีจริง)
  • นินจา (สุดยอดการเอาตัวรอด หมัดเดียวถึงชีวิต)
  • กังฟู
  • คาราเต้
  • เทควันโด
  • หมัดเมา
  • การฝึกฝนร่างกายอย่างหนัก (Heavy Body Training)
  • การสู้ด้วยไม้พลอง
  • การสู้ด้วยไม้ 3 ท่อน
  • การสู้ด้วยการปา - ใช้ดาวกระจาย
  • การสู้ด้วยธนู
  • การสู้ด้วยมีดยาวของจีน (มีคมสองด้าน)
  • การสู้ด้วยมีดแบบปังตอของจีน (คม 1 ด้าน ทื่อ 1 ด้าน
  • การสู้ด้วยดาบซามูไร (สุดยอดแห่งดาบ ดาบเดียวปลิดชีพ)

อยากให้คนที่ขาดโอกาสได้ดูลองติดตามดูจาก VDO Clip ที่มีคนนำมาเผยแพร่เป็นช่วงๆ ไว้นะคะ อาจจะทำให้เข้าใจได้ว่า ที่ว่าสุดยอดสารคดีนั้นเป็นเช่นไร

สุดท้าย ในการต่อสู้ทั้งหลายที่ถูกนำมาวิจัยนั้น เกือบทุกการต่อสู้ เป็นการต่อสู้ที่มีแหล่งกำเนิดในเอเซียเกือบทั้งสิ้น ปลื้มที่เกิดเป็นคนเอเซีย แหล่งอารยธรรมจริงๆ

VDO Clip ชวนติดตาม 

  1. National Geographic Channel - Fight Science Trailer
  2. National Geographic Channel: Fight Science
  3. Fight Science - Balance of a Ninja
  4. National Geographic Fight Science - Weapons Stick
  5. National Geographic's Fight Science - Weapons Japanese Bo
  6. Fight Science - Jiu Jitsu
  7. Fight Science - Hard Body Training
  8. National Geographic's Fight Science - Flexible Weapons
  9. Fight Science- Projectiles
  10. National Geographic Fight Science - Drunk Boxing
  11. National Geographic Fight Science - Kung Fu



ความเห็น (2)
  • ชอบค่ะชอบ ขอบคุณค่ะที่แนะนำ (ดีใจจังที่มีใน youtube)
  • คนเราโดยทั่วไปนี่ใช้ร่างกายและจิตใจได้ไม่เต็มประสิทธิภาพเลยเนอะคะ
  • ส่วนตัวศึกษา เรื่อง chi หรือ ki หรือ prana หรือ ลมปราณ ด้วย เสียดายสารคดีนี้ไม่ค่อยเน้นเรื่องนี้เท่าไหร่นะคะ วัดแต่แรงความเร็วที่ออกมา อธิบายเรื่องกายภาพและชีวกลศาสตร์ของ กล้ามเนื้อ กระดูก และเส้นประสาทซะมาก อยากให้ National Geo ทำภาคต่อจังค่ะ ให้ใช้เทคโนโลยี่ การวัดพลัง ความร้อน (ประมาณเครื่องวัดออร่า) แล้วแสดงให้เห็นพลังลมปราณภายในของปรมาจารย์ต่างๆ
  • ถ้าคุณมินิสยามเคยเห็นสารคดีแบบนี้ที่ไหนรบกวนช่วยส่งข่าวมาด้วยนะคะ
  • ขอบคุณอีกที่คะ

ดีใจที่ได้เพื่อนคอเดียวกันนะคะคุณมัทนา

เรื่องของการใชัพลังลมปราณ พลังความร้อน เค้าพูดถึงน้อยจริงตามที่ตั้งข้อสังเกตไว้ค่ะ (เป็นมุมมองที่ดีจัง) กำลังคิดว่า อาจจะเป็นเพราะมันวัดยากมั้งคะ เดาเอานะ หรือว่า ทีมวิจัย เค้าเป็นทีมเชี่ยวชาญด้านการปะทะ มากกว่าจะใช้เรื่องของพลังจากภายในมังคะ ทำให้คิดวิธีวัดพลังยากกว่าวัดแรงปะทะแบบที่เห็นได้ชัดเจน

และจะว่าไปแล้ว สารคดีของ NAT GEO รายการถัดไป (ของวันนั้น) ก็น่าสนใจนะคะ เรื่องของ Tornado น่ะคะ่ ได้ดูไหมคะ ไว้มี mood จะมาเล่าเพิ่ม เรื่อง tornado นี่เป็นแรงบรรดาลใจของดิฉันเหมือนกัน ทำให้สนใจเรื่องของภัยพิบัติเพิ่มขึ้นอย่างมากเลยค่ะ 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท