เก็บตก: งานมหกรรมการจัดการความรู้ ครั้งที่ 3 (“หลุมดำ” ตำใจ 2)


ไม่ใช่เรื่องน่าอาย ที่เรารู้สึกตัวว่าเรา “ตกหลุมดำ” เพราะเท่ากับว่าโอกาสในการพัฒนากำลังจะเกิดขึ้น

       เมื่อเสร็จภารกิจของผมในห้องปูนแก่งคอยแล้ว ก็มองนาฬิกา เออ ยังพอมีเวลานี่นา ไปเดินห้องหลุมดำต่อดีกว่า  พอเดินออกจากห้องปูนแก่งคอย มองไปที่ห้องหลุมดำ เห็นมีสุดยอดปรมาจารย์ 5 ท่าน กำลังนั่งล้อมวงกันอยู่ ในนั้นมี อาจารย์วรภัทร์  อาจารย์ประพนธ์  ส่วนอีก 3 ท่านต้องขออภัยเป็นอย่ายิ่งครับผมไม่รู้จัก ก็ย่องๆเข้าไปดูใกล้ๆ เห็นมีกระดาษอยู่กลางวงแผ่นหนึ่ง วาดเป็นรูปหยิน หยาง เหล่าปรมาจารย์กำลังคุยกันอย่างเมามัน ผมเห็นเป็นโอกาสดี อาจารย์ประพนธ์  ทิ้งห้องแล้ว  เรารีบย่องไปตีท้ายครัว เอ๊ย ไปเก็บเกี่ยววิชา จากหลุมดำดีกว่า ว่าแล้วไม่รอช้ารีบจรรี เข้าไปห้องหลุมดำ

     ตั้งใจไปดูต่อจากช่วงแรกครับ เห็นเป็นรูปปลา หัวปลาไม่สอดคล้องกับภาพใหญ่ ไปคนละทิศละทาง หัวปลาไม่ชัดเจน อาจารย์คงจะสื่อให้เห็นถึง ทิศทางการจัดการความรู้ที่ไม่ชัดเจนตั้งแต่แรก พอเดินต่ออีกนิด สะดุดตาสะดุดใจ ด้วยตัวหนังสือสีแดง ทำเพื่อผ่าน  กพร.  ใช่เลยครับ หลุมนี้คงมีคนตกกันเยอะ ครับ เพราะการทำอะไรก็แล้วแต่หากเป็นการทำด้วยคำสั่ง หรือทำโดยไม่เต็มใจ ก็เพียงแค่สักแต่ว่าทำ เหมือนกับที่บอกไว้ว่าทำเพื่อให้มีรายงานส่งเจ้านาย ส่วนผลจะเป็นอย่างไรก็ช่างมัน  สุดท้าย KM องค์กรนั้นก็ ไร้จิตวิญญาณ ขาดชีวิต ตายสนิท KM ก็เลยกลายเป็นอนุสรณ์ความรู้ คนนั่งหน้าเศร้า เฝ้าคอมพิวเตอร์ คอยนำเสนอแก่ผู้ที่ผ่านมา ว่านี่คือ KM แต่ไม่ได้นำไปใช้อะไรได้เลย ต่อไปอีกนิด มองที่พื้น เห็น ภาพแม่ปู สอนลูกปูเดิน KM ก็คงเหมือนกันหากเอาคนที่รู้ไม่จริงมาทำ ก็คนไม่ต่างจากแม่ปูสอนลูกปู เป็นแน่เลย มองต่อไปอีกนิดเห็นเป็นภาพใยแมงมุม  ที่สื่อให้เห็นถึง KM ที่ขาดชีวิต ขาดความต่อเนื่อง ขาดทิศทางที่ชัดเจน สุดท้ายก็ จบเพราะระบบยากต่อการใช้งาน ไม่มีคนเข้ามาใช้งาน มาถึงช่วงสุดท้ายของห้อง ชอบมากครับ แค่มองรูปที่สื่อไว้ด้านล่างก็ชัดเจนแล้วว่า หากทำ KM โดยขาดทิศทางที่ชัดเจน  ขาดตัวชี้วัด  หรือทำแต่ขอไปที ทำสักแต่ว่าทำ ก็ไม่ต่างจาก การพายเรือในอ่าง ไม่ไหนไม่ได้ซักที

       โดยรวมแล้ว ห้องหลุมดำ  เป็นการนำเสนอที่สะท้อนให้เห็นถึง อุปสรรคของการทำ KM  เมื่อออกจากห้องมาได้ยินหลายคน พูดกันว่า เราตกหลุมนั้น ตกหลุมนี้ บางคนก็บอกว่าตกทุกหลุมเลย แล้วก็หัวเราะกัน รูสึกดีครับที่เราดูแล้วก็สามารถสะท้อนตัวเองได้ว่าเราบกพร่องตรงไหน และก็เชื่อว่าหลายท่านคงจะได้นำไปเป็นแนวทางในการปรับปรุงพัฒนาแนวทางการทำ KM ต่อไปได้ สำหรับผมคิดว่าไม่ใช่เรื่องน่าอาย ที่เรารู้สึกตัวว่าเรา ตกหลุมดำ เพราะเท่ากับว่าโอกาสในการพัฒนากำลังจะเกิดขึ้น  แต่ ถ้าดูแล้วยังไม่รู้ว่าเราตกหลุมไหน  นั่นแหละครับลำบาก เท่ากับว่าเรามองไม่เห็นทิศทางในการพัฒนาซะแล้ว

      ต้องขอขอบคุณอาจารย์ประพนธ์  และทีมงาน สคส.  ครับ ที่จัดให้มีห้องหลุมดำขึ้นมาให้ชาว KM ได้ไปสำรวจตัวเอง เปรียบไปแล้วห้องหลุมดำก็คงเหมือนกระจกที่ให้ทุกคนที่เข้าไปไดส่องดูตัวเอง ครับ เว้นแต่ว่า ถ้าดูไม่เป็น  ดูไม่เห็น ก็ยากยิ่งที่จะอธิบายให้เข้าใจได้ เพราะมันคือ หลุมดำ ครับ

หมายเลขบันทึก: 65090เขียนเมื่อ 4 ธันวาคม 2006 11:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:36 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
ชอบมากค่ะ ขอบคุณอีกครั้งนะคะ
ตามมาอ่านอีกครั้งค่ะ...ชอบคุณ....อุ๊ยไม่ใช่....ขอบคุณค่ะ....จะมีตอนที่ 3 4 5 หรือเปล่าคะ...ชักสนใจ...สคส. จัดให้มีห้องหลุมดำขึ้นมาให้ชาว KM ได้ไปสำรวจตัวเอง เปรียบไปแล้วห้องหลุมดำก็คงเหมือนกระจกที่ให้ทุกคนที่เข้าไปไดส่องดูตัวเอง ครับ  เว้นแต่ว่าถ้าดูไม่เป็นดูไม่เห็น ก็ยากยิ่งที่จะอธิบายให้เข้าใจได้ เพราะมันคือ หลุมดำ คมคายจริงๆ....ดิฉันว่าจะดูให้เห็น ดูให้เป็นต้องลงมือทำสักระยะ จะเห็นชัดยิ่งขึ้นค่ะ...  มาถึงวันนี้ดิฉันเลิกเสียใจที่ไม่ได้เข้าห้องหลุมดำ ค่ะ...เพราะมีคนทำหน้าที่ลิขิตมาฝากแบบนี้...ทุเลาความเสียดายลงได้

ขอบคุณทุกท่านนะครับ ที่ให้กำลังใจมือใหม่อย่างผมครับ

คุณเมตตา

       ...ตอนที่ 3 ,4 ,5 ยังม่ได้เขียนครับ พอดีช่วงนี้กำลังเขียน บทความ (AAR) ลงมาจดหมายข่าว  ถ้ามีเวลาจะเขียนมาเล่าตอนต่อๆไปครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท