ผลลัพธ์การเรียนรู้ ๘ ระดับ (จากหนังสือ สอนอย่างมือชั้นครู ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช)


หนังสือชื่อ "สอนอย่างมือชั้นครู" ที่ศาสตราจารย์ นพ.วิจารณ์ พานิช ตีความจากหนังสือชื่อ Teaching as its Best: A Research-based Resource for College Instructors ที่เขียนโดย Linda B. Nilson หนังสือเล่มนี้แบ่งระดับผลลัพธ์การเรียนรู้ออกเป็น ๘ ระดับ โดย ระดับที่ ๑ ถึง ระดับที่ ๖ มาจากทฤษฎีลำดับขั้นการเรียนรู้ด้านพุทธิพิสัย (Cognetive Domain) ของบลูม (Bloom's Taxonomy) ระดับที่ ๗ มาจากทฤษฎีของ William G. Perry (Perry's Scheme) ระดับที่ ๘ มาจาก Nelson ....  ผมไม่รู้ว่า Nelson คือใคร ค้นหาในอินเตอร์เน็ตก็ไม่พบ หากผู้อ่านทราบ กรุณาแนะนำด้วยครับ 

ศึกษาแล้ว ผมเข้าใจว่า 

  • ระดับ ๑ ถึง ๖ ตามทฤษฎีของบลูม เป็นเหมือนคัมภีร์ของนักการศึกษา การพัฒนาการศึกษาทั้งหมดไม่ต่อต้านหลักการนี้ 
  • ระดับ ๗ ไม่น่าจะแยกขาด หรือ เหนือกว่าทฤษฎีของบลูม เพียงแต่เป็นการมองในมุมใหม่ ที่ให้ความสำคัญกับการเรียนรู้จากผู้อื่น ด้วยการคิดวิเคราะห์ความสัมพันธ์สิ่งแวดล้อมหรือธรรมชาติของสรรพสิ่ง (รวมทั้งคน) ต่างจากบลูมที่แบ่ง ๖ ระดับนี้จากลำดับการคิดด้วยตนเอง แต่ก็ใช้หลักเดียวกันคือ เรียนจากง่ายไปยาก  ผมตีความว่า แบบแผนการเรียนรู้ของ Perry (Perry's Scheme) สอดคล้องและขยายทฤษฎีของบลูมลำดับที่ ๔ ๕ และ ๖  
  • ส่วนผลลัพธ์ระดับ ๘  เกิดเปลี่ยนกระบวนทัศน์ของผู้เรียนนั้น ก็ไม่น่าจะอยู่เหนือทฤษฎีของ Perry เช่นกัน เพราะ การเปลี่ยนจากการมองโลกเป็นสองขั้ว (Dualism) ไปสู่ความเข้าใจว่า สรรพสิ่งนั้นไม่แน่นอน นั้น ก็ถือได้ว่า ผู้เรียนเกิดการเปลี่ยนกระบวนทัศน์ไปแล้ว 

ผมเข้าใจว่า ในพระพุทธศาสนา ไม่ได้เรียงลำดับความรู้ไว้แบบนี้  แต่แบ่งความรู้เป็น ๒ ประเภท แยกจากกันชัดเจน คือ ความรู้ทางโลกและความรู้ทางธรรม ทรงสอนว่า 

  • ความรู้ทางโลกนั้น ไม่มีสิ้นสุด เกิดขึ้นได้จาก ๓ ทาง คือ "การฟัง" "การคิด" และ "การลงมือปฎิบัติ" 
  • ความรู้ทางธรรม หรือ โลกุตรธรรม ความรู้แบบนี้มีจุดสิ้นสุด คือการเข้าถึงความจริงแท้ของธรรมชาติ ( รู้แจ้ง อริยสัจ ๔)  ได้จาก ๓ ทาง เช่นกันคือ "การฟัง" "การคิด" และ "การภาวนา" (วิปัสสนา) ทรงสอนหนทางแห่งการไปถึงไว้ชัดเจนโดยพิสดาร

โปรดสังเกตว่า การได้มาซึ่งความรู้ตามทฤษฎีของผู้รู้ทางตะวันตก จะอยู่ภายในขอบเขตของการ "การฟัง" "การคิด" และ "การลงมือปฏิบัติ" ยังไม่กล่าวถึงหนทางแห่งการเข้าถึงองค์ความรู้แห่งโลกุตระเลย ... ตราบใดที่เรายังไม่ทิ้งวัฒนธรรม "นำหลัง" นักการศึกษาตะวันตก เราก็จะตามหลังเขาต่อไป  แม้จะมี "ของดี" อยู่ในประเทศไทยเราเอง  

โปรดหยุดโมเมนตัมการศึกษาที่เน้นอ้างอิงตำราตะวันตก (ยกเว้นวิทยาศาสตร์)...  หันมาพาลูกหลายเราศึกษาพุทธธรรมอย่างจริงจัง

หมายเลขบันทึก: 650057เขียนเมื่อ 19 สิงหาคม 2018 20:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 สิงหาคม 2018 21:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ผมตีความว่า แบบแผนการเรียนรู้ของ Perry (Perry’s Scheme) สอดคล้องและขยายทฤษฎีของบลูมลำดับที่ ๔ ๕ และ ๖ ———-ดิฉันเห็นด้วยค่ะ

ดังนั้น มันไม่ควรมี 8 ระดับ เพียงแต่ Perry’s scheme ช่วยให้เห็นความสำคัญของ ระดับ 4 5 และ 6 ของ บลูม ช่วยเสนอแนะ แนวการสอน การจัดกิจกรรม การตั้งคำถาม เพื่อพัฒนา การคิด และแนวทางการวัดผล

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท