นโยบายนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา


นโยบาย

              จากการศึกษานโยบายของรัฐบาล นโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข นโยบายปลัดกระทรวงสาธารณสุข นโยบายผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เขต 13  นโยบายผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา (ผู้ว่า CEO)  ในส่วนสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา จึงขอกำหนดทิศทางการดำเนินงานด้านสาธารณสุข ประจำปี 2550 ดังต่อไปนี้
1. การดำเนินงานกระจายอำนาจด้านสุขภาพ   โดยมุ่งเน้นการกระจายอำนาจด้านสุขภาพให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตามแนวนโยบายและทิศทางการกระจายอำนาจของกระทรวงสาธารณสุขและคณะกรรมการกระจายอำนาจ โดยลำดับแรกให้ดำเนินการกระจายสถานีอนามัยหรือศูนย์สุขภาพชุมชน ให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตามแนวทางที่คณะกรรการกระจายอำนาจและกระทรวงสาธารณสุขกำหนด โดยในช่วงเปลี่ยนผ่านจะดำเนินการตามรายละเอียดในเอกสารที่แนบ

2.การดำเนินงานสุขภาพดีถ้วนหน้าอย่างยั่งยืน(สดถ.ย)และเมืองไทยแข็งแรง(Healthy Thailand ) ประจำปี 2550  โดยขณะนี้ สดถ.ย ได้เข้าสู่การคิดเองทำเอง ดังนั้นการประเมินผลจึงเป็นการประเมินผลแบบเสริมสร้างการเรียนรู้ร่วมกันของพื้นที่ ผู้นิเทศ และผู้บริหารของจังหวัดฯ ส่วนการดำเนินงานเมืองไทยแข็งแรงนั้น ให้ยึดเป้าหมาย 2 ตำบลต่ออำเภอโดยผ่านตัวชี้วัดของตำบลทุกตัว โดยจำนวนหมู่บ้านในตำบลนั้นๆ จะต้องผ่าน 75 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนหมู่บ้านและผ่านตัวชี้วัดระดับหมู่บ้านทุกตัวชี้วัด 
3.การดำเนินงานหลักประกันสุขภาพ    โดยมุ่งเน้นให้ประชาชนมีหลักประกันสุขภาพครบทุกคน  ได้รับการคุ้มครองสิทธิ์   ได้รับบริการในสถานบริการที่ได้มาตรฐาน และสถานบริการที่เข้าโครงการหลักประกันสุขภาพจะได้รับงบประมาณอย่างเข้าถึง และเป็นธรรม โดยมุ่งเน้นให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงาน และเปลี่ยนแปลงการจัดสรรเงินตามแนวทางของสำนักงานหนักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช)
4.การพัฒนาคุณภาพสถานบริการ โดยมุ่งเน้นการพัฒนาโรงพยาบาลทุกแห่งให้ได้มาตรฐาน
HA,,สำหรับสถานีอนามัยหรือศูนย์สุขภาพชุมชนมุ่งเน้นการพัฒนาให้ได้มาตรฐาน HCA,โดยมีกระบวนการพัฒนาและประเมินรับรองอย่างเป็นระบบและมีคุณภาพ เชื่อถือได้
5.การพัฒนาคุณภาพหน่วยบริหาร 
โดยมุ่งเน้นการพัฒนาสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา และสำนักงานสาธารณสุขอำเภออย่างน้อยโซนละ 1 แห่ง โดยใช้ระบบ การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ (PMQA )อย่างต่อเนื่อง
6.การดำเนินงานเสริมสร้างความเข็มแข็งของอาสาสมัครสาธารณสุข(อสม.)/แกนนำสาธารณสุขประจำครอบครัว (กสค.)และเครือข่ายด้านสุขภาพ
 โดยมุ่งเน้นการเสริมสร้างความรู้ในอาสาสมัครสาธารณสุข การเสริมสร้างความรัก ความสามัคคีและอุดมการณ์ร่วมกันระหว่างอาสาสมัครสาธารณสุขและเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ตามคำขวัญ อสม เจ้าหน้าที่ สามัคคีอุดมการณ์ ’’ การจัดองค์กรหมู่บ้าน ตำบลและการสร้าง กสค.ในระดับครอบครัว  และมุ่งเน้นการเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของเครือข่ายด้านสุขภาพ การเสริมสร้างความเข้มแข็งของเครือข่ายสุขภาพทุกเครือข่าย
7.การดำเนินงานอาหารปลอดภัย   โดยมุ่งเน้นการดำเนินงาน ตลาดสดทุกแห่งจะต้องผ่านเกณฑ์ตลาดสดน่าซื้อ ร้านอาหารและแผงลอย ได้มาตรฐาน CFGT  อาหารสดปราศจากสารปนเปื้อน และสถานที่ผลิตอาหารจะต้องได้มาตรฐาน GMP
8.  การดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภค   โดยมุ่งเน้นการควบคุมสถานที่จำหน่ายยาแผนปัจจุบันและแผนโบราณ     คลีนิคแพทย์   คลีนิคสัตว์     ร้านสปา   ให้ได้มาตรฐาน
9.การดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคติดต่อและโรคอุบัติใหม่อุบัติซ้ำ   โดยมุ่งเน้นการเฝ้าระวังและควบคุมโรคที่เป็นปัญหาในจังหวัดนครราชสีมา ได้แก่ โรคไข้เลือดออก โรคเอดส์ โรคอุจจาระร่วงอย่างแรง โรคเลปโตสไปโรซีส โรควัณโรค โรคเรื้อน และกลุ่มโรคที่ป้องกันด้วยวัคซีน   และความควบคุมป้องกันโรคอุบัติใหม่อุบัติซ้ำ ได้แก่โรค ไข้หวัดนก  โรคมือเท้าปาก ( Hand Foot Mouth Disease )   โดยการเสริมสร้างและพัฒนาระบบเครือข่ายการเฝ้าระวัง การควบคุมโรคและการสอบสวนโรคในระดับพื้นที่
10.การดำเนินงานควบคุมโรคไม่ติดต่อและสุขภาพจิต โดยมุ่งเน้นการเสริมสร้างสุขภาพให้กับประชาชนในทุกรูปแบบ เน้นการป้องกันโรคไม่ติดต่อจากพฤติกรรมที่ไม่ถูกต้องหรือมีพฤติกรรมเสี่ยง เพื่อควบคุมโรคเบาหวานและหลอดเลือดและปัญหาสุขภาพจิต  การค้นหาผู้ป่วยโรคมะเร็ง   รวมทั้งให้มีการดำเนินการเกี่ยวกับผู้พิการโดยมีการสร้างเครือข่ายการดำเนินงานทั้งภาครัฐ   ภาคเอกชน(ชมรมผู้พิการ   มูลนิธิผู้พิการ)
11.การดำเนินงานอุบัติเหตุและสาธารณภัย   โดยมุ่งเน้นพัฒนาระบบ
OZOU ให้ครบทุกโซนตาม GIS ,การพัฒนาศูนย์ปฏิบัติการร่วมอุบัติเหตุ (1669 )โดยเน้นการประชาสัมพันธ์ให้ทั่วถึง ,การพัฒนาระบบส่งต่อผู้ป่วย   เพื่อลดอัตราการตายด้วยอุบัติเหตุ
12.การดำเนินงานเสริมสร้างผู้สูงอายุ 
โดยมุ่งเน้นการเสริมสร้างชมรมผู้สูงอายุ ให้เชื่อมองค์กรชมรมผู้สูงอายุกับระดับ ตำบล อำเภอและจังหวัดให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน โดยเชื่อมประสานกับศูนย์การพัฒนาศูนย์คุณภาพชีวิตและประชาชน(ศพน.) ตามระยะเวลา (Phase 1-4 ) รวมทั้งการเชื่อมประสานกับคณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ
13.การดำเนินงานยาเสพติด   โดยมุ่งเน้นการรักษาผู้ป่วยที่ติดสารเสพติดรายใหม่และรายเก่าไม่ให้กลับไปเสพซ้ำ และ การลดประชาชนที่ติดบุหรี่และเหล้า โดยเน้นการดำเนินงานวัดปลอดเหล้า ครอบคลุมทุกพื้นที่ และเป็นตัวอย่างแก่พื้นที่อื่นได้
14. การดำเนินงานแพทย์แผนไทย    โดยมุ่งเน้นการอบรมแพทย์แผนไทยให้กับอาสาสมัครในระดับพื้นที่ โดยงานแพทย์แผนไทย โดยพื้นที่ลงทะเบียน เพื่อส่งเสริมอาชีพและรายได้ และส่งเสริมการจัดบริการในโรงพยาบาลและสถานีอนามัย
15.  งานอาชีวอนามัย    โดยมุ่งเน้นในการจัดการสภาพแวดล้อมตามเกณฑ์สำนักงานน่าอยู่   (Healthy  Work  place)      5 ส.  และมุ่งเน้นการดำเนินงานลดอัตราป่วยจากโรคที่เกิดจากการประกอบอาชีพ   เช่น  สารพิษจากอาชีพเกษตร    อาชีพโรงงานฯลฯ 
16.การดำเนินงานที่มุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ของงาน (RBM)  และการดำเนินงานมาตรการประหยัด   
โดยมุ่งเน้นการพัฒนาระบบข้อมูล (MIS) มีการจัดเก็บข้อมูลการรักษาพยาบาลและรายงานต่าง ๆ มีการส่งผ่านข้อมูลด้วย Electronic File (E-Mail) ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ การดำเนินงานด้านสาธารณสุขโดยใช้GIS(GIS ระบบบริการ, GIS ระบบ EMS ฯลฯ)  การบูรณาการแผน CEO  การจัดทำแผนยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการแบบ RBM    การบูรณาการแผนชุมชน การลดระยะเวลาและขั้นตอนการดำเนินงานของหน่วยบริหารและหน่วยบริการทุกระดับ การประหยัดงบประมาณและพลังงาน   การจัดทำเกณฑ์บัญชีคงค้าง    การจัดทำ Unit Cost โดยใช้หลักการบริหารแบบธรรมาภิบาล
17.   การดำเนินงานด้านการประชาสัมพันธ์    โดยมุ่งเน้นการจัดวิทยุผ่านรายการวิทยุ      โดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข    การเสริมสร้างวิทยุชุมชน การสร้างเครือข่ายของวิทยุชุมชน(ให้มีการจัดตั้งกรรมการวิทยุชุมชน)   การจัดทำจดหมายข่าว     การประชาสัมพันธ์ศิลปินพื้นบ้าน  และการสร้างเครือข่ายการประสานงานองค์กรต่างๆ  เช่น อสม., ผู้สูงอายุ,แพทย์แผนไทยฯลฯ
18.การสร้างขวัญและกำลังใจบุคลากรสาธารณสุข   เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจบุคลากรสาธารณสุขในโรงพยาบาลชุมชน สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ  สถานีอนามัย ซึ่งปัจจุบันมีความเปลี่ยนแปลงและการปฎิรูปมากมายที่ยังไม่มีความแน่นอน เกิดความสับสนและเกิดความหวั่นไหวในการปฏิบัติงาน ดังนั้นนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมาและสสจ.โซนจะออกเยี่ยมเยือนบุคลากรทุกระดับ เพื่อรับฟังข้อเสนอและตอบปัญหาด้วยตนเอง ตลอดปีงบประมาณ 2550

หมายเลขบันทึก: 65005เขียนเมื่อ 3 ธันวาคม 2006 20:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 14:07 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท