ชีวิตที่พอเพียง 3231a. ชีวิตในยุคปัญญาประดิษฐ์


ไม่ว่าจะมีมาตรการเข้าแทรกแซงเพื่อผลประโยชน์สาธารณะแค่ไหน เป็นที่ชัดเจนว่า ในระยะยาว เทคโนโลยี AI จะทำให้ชีวิตของคนเราไม่เหมือนเดิม

บทความ Unmasking A.I.’s Bias Problem (1)ลงพิมพ์ในนิตยสาร ฟอร์จูน ฉบับประจำเกือน กรกฎาคม ๒๕๖๑   น่าอ่านมาก   

เป็นเรื่องราวของบริษัทไอทียักษ์ใหญ่ทั้งหลาย ที่กำลังพัฒนา AI ขึ้นมาใช้งาน    โดยจะต้องพัฒนาก้าวข้ามอคติของมนุษย์     อ่านแล้วผมเกิดความรู้สึกว่า     เรากำลังจะสมาทานความเชื่อว่า AI จะให้คำแนะนำ ที่แม่นยำกว่ามนุษย์    ซึ่งผมไม่เชื่อ   ยิ่งนับวันผมก็ยิ่งคิดว่า เราอยู่ในโลกที่เพิ่มความซับซ้อน และไม่ชัดเจน หรือกำกวมมากขึ้นเรื่อยๆ    มนุษย์เราต้องพัฒนาตนเองให้รู้เท่าทันสภาพดังกล่าว     และมีวิจารณญาณในการรับสารไม่ว่าจากมนุษย์ หรือจากหุ่นยนตร์ หรือจากระบบไอที    

บทความนี้เล่ามิติของการพัฒนา AI ที่น่าชื่นชมมาก ที่เขานำเอาปัญหาหรือความล้มเหลวในอดีตมาเป็นข้อเรียนรู้    ซึ่งประสบการณ์หลักมาจากบริษัท ไมโครซอฟท์ ในปี2016  ที่นำระบบAI สำหรับโต้ตอบในระบบโซเชี่ยลมีเดีย ( “social chatbot”)   ชื่อ Tay ออกมาให้คนใช้งาน  เพื่อให้เครื่องจักรเรียนรู้จากการปฏิสัมพันธ์กับผู้คน    ปรากฏว่าล้มเหลวไม่เป็นท่า    เพราะโดนคนประสงค์ร้ายสอน Tay ให้พูดคำหยาบคาย     

วงการ AI จึงต้องตั้งหลักกันใหม่ ให้ระมัดระวังยิ่งขึ้นกว่าเดิมอย่างมากมาย  

AI และmachine learningมุ่งสร้าง deep learning ให้แก่ระบบ    โดยที่ต้องตระหนักว่า ในสังคมมนุษย์ มีสิ่งที่เรียกว่า อคติ (bias) มากมาย  และแฝงเร้รอยู่ลึกมาก    หากไม่ระวัง machine learning ก็จะยึดเอาสิ่งที่เป็นอคติเป็นมาตรฐาน เช่นอคติว่าคนที่เป็นเพศชาย เป็นคนขาว เป็นคนที่มีความสามารถเหนือคนผิวสีอื่นเพศอื่น   เป็นต้น 

ผมตีความว่า AI ยังอยู่ในขั้นเริ่มต้นเท่านั้น    และงานวิจัยและพัฒนานวัตกรรมด้านนี้  มุ่งประโยชน์ด้านธุรกิจเป็นหลัก    วงการวิชาการแ  วงการสาธารณกุศล  และภาครัฐ น่าจะรวมพลังกัน สร้างระบบ AIเพื่อใช้ในกิจการสาธารณะที่ไม่มุ่งผลกำไรเป็นหลัก  

รวมทั้งต้องมีกระบวนการสื่อสารสาธารณะให้รู้เท่าทันระบบAI   อย่าให้ผู้คนโดนมันหลอกหรือต้มตุ๋น

ไม่ว่าจะมีมาตรการเข้าแทรกแซงเพื่อผลประโยชน์สาธารณะแค่ไหน    เป็นที่ชัดเจนว่า ในระยะยาว เทคโนโลยี AI จะทำให้ชีวิตของคนเราไม่เหมือนเดิม   

 วิจารณ์ พานิช

๔ ส.ค. ๖๑

 

 

หมายเลขบันทึก: 649328เขียนเมื่อ 4 สิงหาคม 2018 08:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 สิงหาคม 2018 08:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท