เทคนิคการจำคำที่ไม่ประวิสรรชนีย์


คำที่ไม่ประวิสรรชนีย์

คำที่ไม่ประวิสรรชนีย์ คือ คำที่ประสมด้วยสระ “อะ” แต่ไม่มีรูปสระ “อะ” ให้เห็น เมื่ออ่านออกเสียง จะอ่านออกเสียง “อะ” เพียงกึ่งเสียง เราเรียกคำนั้นว่าเป็นคำที่ไม่ประวิสรรชนีย์

ตัวอย่างคำที่ไม่ประวิสรรชนีย์

กากบาท อ่านว่า กา-กะ-บาด

กาลเทศะ อ่านว่า กา-ละ-เท-สะ

ขย่อน อ่านว่า ขะ-ย่อน

ขยับ อ่านว่า ขะ-หยับ

ขโมย อ่านว่า ขะ-โมย

ชโลม อ่านว่า ชะ-โลม

จริต อ่านว่า จะ-หริด

จารชน อ่านว่า จา-ระ-ชน

ขยิบ อ่านว่า ขะ-หยิบ

กฐิน อ่านว่า กะ-ถิน

โลกนิติ อ่านว่า โลก-กะ-นิด

สมาคม อ่านว่า สะ-มา-คม

กลาโหม อ่านว่า กะ-ลา-โหม

ขนม อ่านว่า ขะ-หนม

ขนาด อ่านว่า ขะ-หนาด

ผสม อ่านว่า ผะ-สม

ฉกาจ อ่านว่า ฉะ-กาด

เนรมิต อ่านว่า เน-ระ-มิด

บิณฑบาต อ่านว่า บิน-ทะ-บาด

พลการ อ่านว่า พะ-ละ-กาน

ศตวรรษ อ่านว่า สะ-ตะ-วัด

อุณหภูมิ อ่านว่า อุน-หะ-พูม

ดาษดา อ่านว่า ดาด-สะ-ดา

ดุลพินิจ อ่านว่า ดุน-ละ-พิ-นิด

ชันษา อ่านว่า ชัน-นะ-สา

โฆษณา อ่านว่า โคด-สะ-นา

เจรจา อ่านว่า เจ-ระ-จา

ทุจริต อ่านว่า ทุด-จะ-หริด

ปฐมวัย อ่านว่า ปะ-ถม-มะ-ไว

ขมีขมัน อ่านว่า ขะ-หมี-ขะ-หมัน

จักจั่น อ่านว่า จัก-กะ-จั่น

ฯลฯ

หลักการสังเกตคำที่ไม่ประวิสรรชนีย์

1. เป็นคำที่เป็นอักษรนำ

ขนม อ่านว่า ขะ-หนม

ขนาด อ่านว่า ขะ-หนาด

ตลาด อ่านว่า ตะ-หลาด

สอาด อ่านว่า สะ-อาด

สนาม อ่านว่า สะ-หนาม

สมุด อ่านว่า สะ-หมุด

2. เป็นคำที่เป็นคำสมาส ที่มีเสียง อะ อยู่กลางคำ

อิสรภาพ อ่านว่า อิด-สะ-ระ-พาบ

พลศึกษา อ่านว่า พะ-ละ-สึก-สา

คณิตศาสตร์ อ่านว่า คะ-นิด-ตะ-สาด

รัฐสภา อ่านว่า รัด-ถะ-สะ-พา

ธุรกิจ อ่านว่า ทุ-ระ-กิด

จิตวิทยา อ่านว่า จิด-ตะ-วิด-ทะ-ยา

พลศึกษา อ่านว่า พะ-ละ-สึก-สา

3. เป็นคำที่มาจากภาษาบาลี และภาษาสันสฤต ที่ออกเสียง อะ พยางค์หน้า

กวี อ่านว่า กะ-วี

พยัคฆ์ อ่านว่า พะ-ยัก

4. เป็นคำที่มาจากภาษาต่างประเทศที่ ออกเสียง อะ พยางค์หน้า

สลัด อ่านว่า สะ-หลัด

สเกต อ่านว่า สะ-เก็ด

สปริง อ่านว่า สะ-ปริง

5. เป็นคำไทยบางคำที่ใช้มานาน

ณ อ่านว่า นะ หมายถึง คำที่แสดงถึงเวลาหรือสถานที่

ฯพณฯ อ่านว่า พะ-นะ-ท่าน หมายถึง คำนำหน้าชื่อหรือตำแหน่งบุคคลตั้งแต่ระดับรัฐมนตรีขึ้นไป

หมายเลขบันทึก: 649060เขียนเมื่อ 21 กรกฎาคม 2018 08:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 กรกฎาคม 2018 08:46 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท