การเขียนย่อความและบทความทางวิชาการ


จากการอบรมการเขียนบทความทางวิชาการ  โดยการบรรยายของ รศ.ดร.ประยุทธ ไทยธานี  เมื่อวันอาทิตย์ที่ 3 มิถุนายน 2561 นั้น 

สรุปความรู้ได้ดังนี้

ประเภทของบทความทางวิชาการ แบ่งเป็น 3 ประเภท

1. บทความวิชาการ คือ เอกสารที่เรียบเรียงจากผลงานทางวิชาการของตนเองหรือผู้อื่นในลักษณะที่ เป็นการวิเคราะห์วิจารณ์หรือเป็นบทความที่เสนอแนวความคิดใหม่ ๆ จากพื้นฐานทางวิชาการนั้น ๆ

2. บทความวิจัย คือ บทความที่เขียนขึ้นจากงานวิจัยของตนเอง มีการกำหนดปัญหาและวัตถุประสงค์ ที่ชัดเจน มีการรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ สรุปและอภิปรายผลการวิจัย อันนำไปสู่ความก้าวหน้าทางวิชาการ

3. บทความวิจารณ์ คือ บทความที่ศึกษาผลงานหรือแนวคิดอย่างใดอย่างหนึ่งโดยละเอียด รวมทั้งมี การวิเคราะห์และอภิปรายผลของเรื่องที่ศึกษาให้เห็นแนวโน้มว่าควรเป็นไปในทางใด มีข้อดีข้อเสียอย่างใด แสดงการเคลื่อนไหว การเกิดของความรู้ใหม่อย่างชัดเจน

สำหรับในการบรรยายครั้งนี้จะเน้นที่การเขียนบทความวิจัย

 

ส่วนประกอบของการเขียนบทความวิจัย (ไม่เกิน 15 หน้า)

1. บทคัดย่อ เป็นเนื้อหาสาระส่วนที่นำเสนอวัตถุประสงค์การวิจัย วิธีการวิจัย และผลการวิจัย โดยสรุป (รวมทั้งข้อเสนอแนะในการวิจัย) เพื่อให้ผู้อ่านได้เห็นภาพรวมงานวิจัยทั้งฉบับ และมีคำสำคัญ 2 -5 คำ (Keywords) ไว้ด้วย

2. ส่วนหน้า ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 4 ส่วน

          ส่วนแรก การบรรยายให้ผู้อ่านได้รู้ว่าบทความวิจัยนี้พัฒนามาจากผลงานวิจัยที่มีมาก่อนอย่างไรในที่นี้หมายถึงความเป็นมาและความสำคัญของปัญหาในการวิจัย

          ส่วนที่สอง กล่าวถึงปัญหาวิจัยและวัตถุประสงค์การวิจัย

          ส่วนที่สาม คือ รายงานเอกสารที่เกี่ยวกับการวิจัยเฉพาะส่วนที่เป็นทฤษฎีและงานวิจัยที่สำคัญเพื่อ นำไปสู่การสร้างกรอบแนวคิด ตลอดจนสมมติฐานการวิจัย

          ส่วนที่สี่ เป็นรายงานระบุเหตุผลพร้อมเอกสารอ้างอิงในการเลือกวิธีดำเนินการวิจัยที่จะใช้ในบทความวิจัยนี้เพื่อให้สามารถเชื่อมโยงความคิดกันเนื้อหาสาระ

3. ผลการวิเคราะห์ข้อมูล คือส่วนสำหรับบรรยายว่าจะเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลอย่างไร และนำเสนผลการวิเคราะห์ข้อมูลพร้อมทั้งการตีความ โดยมีการนำเสนอตารางและภาพประกอบเท่าที่จำเป็น ผลการวิเคราะห์ที่สำคัญในตารางหรือภาพประกอบต้องมีการบรรยายในส่วนที่เป็นข้อความ

4. การอภิปราย/การสรุปผล เป็นการบรรยายสรุปข้อค้นพบที่ได้จากการวิจัยประกอบการอธิบายว่า ยังค้นพบมีความขัดแย้งสอดคล้องกับสมมติฐานการวิจัยและผลงานวิจัยในอดีตอย่างไร พร้อมทั้งเหตุผล

5. การลงวิปรายข้อจำกัด ข้อบกพร่อง ข้อดีเด่น ซึ่งนำไปสู่ข้อเสนอแนะในทางปฏิบัติและข้อเสนอแนะในการวิจัยต่อไป

6. ส่วนล้างลิง/ภาคผนวก

          ส่วนอ้างอิง ประกอบด้วย รายการอ้างอิง และเชิงอรรถ

          ส่วนที่เป็นภาคผนวก ส่วนที่ผู้วิจัยนำเสนอสาระที่ผู้อ่านควรได้รับรู้เพิ่มเติมนอกเหนือจากที่นำเสนอในบทความ เช่น ตัวอย่างเครื่องมือวิจัย เป็นต้น

แนวทางการเขียนบทความวิจัย

1. จะต้องเป็นบทความที่ลดรูปหรือนำงานวิจัยมาเขียนใหม่ และผู้เขียนต้องมีความเข้าใจ กระจ่างแจ้ง ในรายงานการวิจัยที่จะนำมาเขียน

2. เริ่มต้นจากการทำโครงร่าง การจัดลำดับความคิด การเรียบเรียงเนื้อหาสาระ เขียนเป็นฉบับร่าง จากนั้นทิ้งไว้ 1-2 สัปดาห์ จึงนำมาอ่านเพื่อปรับปรุงทบทวนและภาษา ตลอดจนแบบการเขียนให้ ถูกต้องตาม แบบของบทความวิจัย การใช้ภาษาทางการที่เป็นมาตรฐาน มีความเหมาะสมกับผู้อ่านที่เป็นนักวิชาการ และ ใช้ภาษาถูกต้องตามหลักภาษา

3. ต้องมีข้อคิดเห็นที่ชัดเจนโดยนำประเด็นที่เด่นที่สุดในงานวิจัยมาเขียนเพียง 1 หรือ 2 ประเด็น ดังนั้น จะต้องปรับชื่อเรื่องและเนื้อหาให้มีความสอดคล้องกับบทความที่เขียนขึ้นใหม่ ขณะที่เนื้อหาในบทความ ต้องมีความสมบูรณ์ในแบบมาตรฐานของงานวิชาการ การนำเสนอเนื้อหา ควรนำเสนอสาระสำคัญของงานวิจัย อย่างตรงไปตรงมา ชัดเจน ถูกต้องและสมบูรณ์จนผู้อ่านสามารถทําวิจัยในลักษณะเดียวกันได้

4. บทความวิจัยไม่ใช่สรุปย่องานวิจัย การเขียนจะต้องกะทัดรัด ตรงประเด็น บอกกระบวนการ มีสาระที่ชัดเจน มีระบบอ้างอิงที่ถูกต้อง ให้ข้อมูลตามหลักวิชาที่ถูกต้อง

5. การลำดับเนื้อหาควรเป็นไปตามหลักการวิจัย มีความต่อเนื่องตั้งแต่ต้นไปจนถึงการสรุป และ อภิปรายผลการวิจัย แต่ละย่อหน้ามีประโยคสำคัญ และมีความเชื่อมโยงถึงกัน การใช้คำศัพท์ควรใช้คำศัพท์ที่มี การบัญญัติศัพท์เป็นทางการหรือคำศัพท์ที่ได้รับการรับรองใช้กันแพร่หลาย

6. การเขียนประโยค ควรเป็นประโยคสมบูรณ์ และพยายามใช้ประโยคสั้น หลีกเลี่ยงประโยคซ้อน ควรระมัดระวังเครื่องหมายวรรคตอนให้ถูกต้องทุกประโยค

 

เขียนบทความแบบไหนให้ได้ตีพิมพ์

การเขียนบทความ หลาย ๆ คนมักบ่นว่าทำไมถึงเขียนยาก เขียนลำบากขนาดนี้ วันนี้เลยมาแบ่งปันประสบการณ์ให้พวกเราเอาไปทำตามได้เลย

1. เลือกบทความที่เราจะลงพิมพ์ แล้วดู template และรูปแบบการพิมพ์มาอ่านก่อน

2. ให้เอางานวิจัยที่ได้ลงตีพิมพ์แล้วมาดูว่าเค้าเขียนอย่างไรให้ได้ตีพิมพ์ อย่าไปสนใจถ้าคนจะว่าเรา copy เราเพียงแต่ดูวิธีการของคนสำเร็จว่าเค้าทำอย่างไรเท่านั้น

3. ลองคิดชื่อเรื่องเล่น ๆ โดยเอาคำสองสามคำที่มีความสัมพันธ์และสามารถเชื่อมโยงหากันได้มาวาง ที่สร้าง แล้วลองเขียนคำเชื่อมเล่น ๆ เช่น

           นักเรียนออทิสติก

           พฤติกรรมก้าวร้าว

           การฝึกการแทนที่ความก้าวร้าว

เห็นหรือไม่ว่า 3 คำที่มีความสัมพันธ์กันอย่างไร ลองเอามาผสมกัน ลองนึกเล่น ๆ โดยการเอาคำมาเชื่อมกันว่าถ้า 3 คำนี้อยู่ด้วยกันจะเกิดอะไรขึ้น แล้วลองลงมือเขียนตู อย่าเพิ่งพิมพ์ ให้ลองเขียนดูก่อนเมื่อได้แล้วค่อยเริ่มวางโครง

4. เริ่มวางโครง โดยแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ บทนำ เนื้อหา และสรุป ซึ่งในการเขียนบทความของ แต่ยาว 15สารจะมีข้อจำกัดว่าเขียนได้ไม่เกินหน้า เช่น 10-15 หน้า 15-20 หน้า เราต้องรู้ด้วยเพื่อนำมาวางโครงในแต่ละส่วนให้ชัดเจน

4.1 บทนำ (ความสำคัญและปัญหาการวิจัย รวมถึงแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง วัตถุประสงค์ของการวิจัย คำถามการวิจัย (ถ้ามี) สมมติฐานการวิจัย (ถ้ามี) ขอบเขตของการวิจัย (ประชากร/กลุ่มตัวอย่าง ตัวแปรที่ศึกษา ระยะเวลาดำเนินการ)

4.2 เนื้อหา (วิธีดำเนินการวิจัย เครื่องมือวิจัย การดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลหรือการทดลอง วิเคราะห์ข้อมูล ผลการวิจัย)

4.3 สรุป (สรุปและอภิปรายผล ข้อเสนอแนะ และรายการอ้างอิง) วางโครงไปเรื่อย ๆ จนพอใจ ถ้ายังไม่พอใจก็สามารถปรับได้ แต่ตอนนี้ขอให้วางไว้ก่อน

5. จากนั้น ให้วางโครงในแต่ละย่อหน้าของแต่ละส่วนว่าเราจะเขียนกันแบบไหน และจะเอา รายละเอียดอะไรมาใส่ และให้เลือกรูปแบบการเขียนเลยว่าจะเขียนแบบ copy & paste, Copy & develop หรือ integrate เลือกเอาแบบที่เราเขียนแล้วคิดว่าจะได้ตีพิมพ์ ถ้าเขียนแล้วไม่ได้ตีพิมพ์ อย่าเอามาเสียเวลา

6. การอ้างถึง กรณีไม่เกิน 10 - 15 หน้า ควรอ้างอิง 10-15 คน ถ้า 15-20 หน้า ควรอ้างอิง 20-30 คน โดยควรอ้างถึงแนวคิดของคนที่มีชื่อเสียงในวงการนั้น ๆ งานวิจัยก็ควรจะทันสมัย (ไม่เกิน 10 ปี) จะช่วยสร้าง ความน่าเชื่อถือและเพิ่มความหนักแน่นให้แก่งานเราเป็นอย่างมาก ส่งผลให้งานเราได้ตีพิมพ์

7. สิ่งประกอบที่ควรมีในการเขียนบทความ

         ภาพประกอบ จะทำให้งานน่าอ่าน

         ตาราง จะเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับเรา เพราะมีการนำเสนอในแบบที่เป็นการสรุปมา

         กราฟ จะแสดงความเป็นปัจจุบันให้กับเราว่าเอามามันตรวจสอบกลับไปได้

8. สิ่งสำคัญอีกอย่างคือ รูปแบบการอ้างอิง ต้องตรงตามกำหนดของวารสารที่เราจะลงตีพิมพ์

9. นำส่งอาจารย์ที่ปรึกษาก่อนจะส่งเข้าระบบ เพราะอาจารย์ต้องมีชื่อในงานของเราด้วย เราเขียนดี อาจารย์ได้หน้า แต่ถ้าเราเขียนไม่ดี อาจารย์เสีย และแสดงถึงคุณภาพนักศึกษาด้วย

10. ปรับแก้จนพอใจแล้ว ส่งเข้าระบบได้เลย

11. วารสารจะใช้เวลาอ่าน และให้ผู้ทรงคุณวุฒิอ่าน แล้วจะส่งมาให้เราแก้ไข เราก็แก้ โดยจะใช้เวลา ประมาณ 2-3 เดือน เราจะได้ตีพิมพ์ ซึ่งในเบื้องต้นวารสารจะส่งหนังสือตอบรับมาให้ก่อน จากนั้นเราจะได้ ตีพิมพ์

หมายเลขบันทึก: 648580เขียนเมื่อ 28 มิถุนายน 2018 10:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 มิถุนายน 2018 10:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท