ชีวิตที่พอเพียง 3204. กลไกสมองว่าด้วยความจำ



บทความเรื่อง Portrait of a Memory (1)  ลงพิมพ์ในนิตยสาร Scientific American Mind ฉบับเดือนพฤษภาคม ๒๕๖๑   บอกความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์สมอง ว่าด้วยความจำ     สรุปว่าความจำเกิดจากหลายส่วนของสมองเชื่อมต่อกัน    ไม่ใช่ผลงานของสมองส่วนเดียวที่เรามักพูดกันว่าสมองส่วน hippocampus ทำหน้าที่ความจำ

ความจำเรื่องใดเรื่องหนึ่งเรียกว่า engram    มีคนพยายามทำวิจัยค้นหาสมองส่วนที่ควบคุมความจำในสมองส่วนหน้าของหนู    ทำอยู่นานมาก แล้วสรุปว่า หาข้อสรุปไม่ได้   

เวลานี้เป็นที่ชัดเจนแล้วว่า หน่วยความจำ (engram) เป็นเครือข่ายใยสมอง หรือเครือข่ายเซลล์สมอง    ไม่ใช่บริเวณสมอง    ความจำแต่ละประเภทมีเครือข่ายที่แตกต่างกัน    และส่วนของสมองที่เป็นปัจจัยร่วมของความจำคือ hippocampus    ซึ่งอยู่นอกสมองส่วนหน้า   

เวลานี้นักวิทยาศาสตร์ทางสมองเชื่อกันว่า เมื่อประสบเหตุการณ์หนึ่ง มีผลให้เซลล์สมองในเครือข่ายหนึ่งเปล่งกระแสสื่อประสาท  เปลี่ยนแปลงการทำงานของยีนภายในเซลล์  สร้างการเชื่อมต่อใยประสาทใหม่  และเปลี่ยนแปลงพลังของการเชื่อมต่อ   ซึ่งมีผลต่อการเก็บความจำไว้    และเมื่อผู้นั้นระลึกถึงเหตุการณ์นั้น หรือทบทวนความจำนั้น สิ่งที่เกิดในสมองจะเหมือนตอนประสบเหตุการณ์     

การวิจัยเพื่อตรวจสอบบทบาทของแต่ละเซลล์สมองต่อหน่วยความจำเพิ่งทำได้ในช่วงสิบปีมานี้    โดยทดลองในหนู    โดยพบว่าโปรตีนความจำชื่อ CREB   รวมทั้งเริ่มเข้าใจว่า ในระหว่างเหตุการณ์จะมีเซลล์สมองบางเซลล์แสดงอาหาร “ตื่นตัว” พร้อมจะเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของ engram   

Engram  ที่มีการศึกษามากคือ fearful foot-shock engram ในหนู   ซึ่งยังศึกษาได้เพียงบางส่วน    ใน ๑๐ – ๓๐ จุดของสมองในเครือข่าย    โดยเทคนิคที่ช่วยให้ศึกษาได้เรียกว่า MVPA ((multiple voxel pattern analysis)  โดยศึกษาภาพ fMRI ของสมอง

เมื่อเอา MPVA – fMRI มาศึกษาในคน    ก็พบ pattern ความจำต่อสิ่งหรือเรื่องราวต่างๆ    ที่มีลักษณะคล้ายกันในต่างคน   การศึกษานี้ช่วยให้เข้าใจว่าความจำเกิดขึ้นอย่างไร    และน่าจะนำไปสู่ความเข้าใจว่าความจำแต่ละเรื่องมีปฏิสัมพันธ์กันอย่างไร ได้ด้วย     

 ในบทความมีรายละเอียดมาก    เล่าการทดลองในหนูและในคนมากมาย    เอามาปะติดปะต่อกัน    เพื่อให้เห็นว่า เทคนิค MPVA – fMRI ช่วยให้เข้าใจกลไกความจำ และกลไกที่ความจำต่างชุดมาสัมพันธ์หรือเชื่อมต่อกัน

วิจารณ์ พานิช

๖ พ.ค. ๖๑  และ ๑๔ พ.ค. ๖๑


 

 

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 648534เขียนเมื่อ 25 มิถุนายน 2018 22:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 มิถุนายน 2018 22:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท