โครงการจินตคณิตพิชิตใจ


โครงการ  จิตคณิตพิชิตใจ

หลักการและเหตุผล                                                                                            

             หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน  พุทธศักราช  2551  (ฉบับปรับปรุง 2560) เป็นการจัดการศึกษาเพื่อปวงชนที่เปิดโอกาสให้นักเรียนทุกคนได้เรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์อย่างต่อเนื่องและเหมาะสมตลอดชีวิตและตามศักยภาพ  ให้ผู้เรียนเป็นผู้เรียนที่มีความรู้ความสามารถทางคณิตศาสตร์เพียงพอที่จะสามารถนำความรู้  ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ที่จำเป็นไปพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดียิ่งขึ้น  ซึ่งต้องสามารถนำไปเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้สิ่งต่างๆ  และเป็นพื้นฐานสำคัญสำหรับการศึกษาต่อในระดับชั้นที่สูงขึ้นไป

             การฝึกทักษะกระบวนการคิดคำนวณเลขได้คล่องแคล่ว รวดเร็วและถูกต้องแม่นยำ  นับว่ามีความสำคัญ  เพราะในชีวิตประจำวันของมนุษย์ต้องประสบกับปัญหาต่าง ๆ มากมาย  มนุษย์จึงต้องมีความรู้ความสามารถในการคิดคำนวณ ซึ่งเป็นความสามารถขั้นพื้นฐานของมนุษย์เพื่อให้ปรับตัวอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข  ดังนั้น ความสามารถในการคิดคำนวณจึงต้องปลูกฝังให้เกิดขึ้นในตัวของนักเรียนตั้งแต่เด็ก โดยบูรณาการเข้ากับการจัดกิจกรรมหลังเลิกแถวเคารพธงชาติโดยใช้เวลาวันละ 15 นาทีก่อนเริ่มเรียนในรายวิชาแรก

          จากเหตุผลและความสำคัญดังกล่าว จึงได้ทำโครงการนี้ขึ้น เพื่อฝึกให้นักเรียนมีทักษะในการคิดคำนวณเลขได้อย่างถูกต้อง รวดเร็วและแม่นยำ เป็นการฝึกสมาธิของนักเรียนและยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนให้สูงขึ้น

วัตถุประสงค์

เชิงคุณภาพ

                  เพื่อให้นักเรียนมีทักษะในการคิดคำนวณทางด้านการเรียนคณิตศาสตร์

                   เพื่อให้นักเรียนมีสมาธิในการเรียนมากขึ้น เชื่อว่าหากนักเรียนมีสมาธิจะสามารถเรียนรู้ได้ดีในทุกวิชา

                   นักเรียนมีเจตคติที่ดีต่อวิชาคณิตศาสตร์

เชิงปริมาณ

เพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน

          เพื่อให้นักเรียนสามารถคิดคำนวณบวก  การลบ  การคูณและการหารเลขได้อย่างรวดเร็วถูกต้อง

เป้าหมาย

               นักเรียน มีทักษะการอ่าน การเขียนตัวเลข และสามารถสื่อความหมาย อีกทั้งมีทักษะในการคิดคำนวณการบวก การลบ การคูณ และการหารเลขได้อย่างรวดเร็ว ถูกต้องและแม่นยำ ตามเวลาที่กำหนด

ได้อย่างน้อยร้อยละ 70

          

 

เนื้อหา

จินตคณิตคือการใช้นิ้วมือ ซึ่งเป็นสื่อการเรียนการสอน ที่ติดตัวมาตั้งแต่เกิด สามารถนำมาใช้ได้ทุกที่ ทุกเวลาที่ต้องการ สามารถทำให้เด็กคิดเลขได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ ทั้งกระบวนการบวก การลบ การคูณ การหาร ช่วยพัฒนาสมาธิ ช่วยพัฒนาความจำให้ดีขึ้น และช่วยให้มีทัศนคติที่ดีต่อวิชาคณิตศาสตร์อีกด้วย   โดยมุ่งพัฒนาระดับสติปัญญาของนักเรียนเป็นหลัก สนับสนุนส่งเสริมให้นักเรียนรักการเรียนรู้ ไม่ปล่อยเวลาให้ผ่านไปโดยเปล่าประโยชน์ ซึ่งได้การจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับยุคสมัยในปัจจุบัน ตอบสนองความต้องการของเด็กยุคใหม่ เน้นกระบวนการคิดที่เป็นระบบ มีความคล่องแคล่ว รวดเร็ว ในการคิดการกระทำ ด้วยระบบกระบวนการเรียนการสอน การจัดกิจกรรมที่ไม่ซับซ้อนและสนุก ไม่เครียด ทำให้นักเรียนสามารถนำไปใช้ได้จริงทั้งในห้องเรียนและในชีวิตประจำวัน

หลักในการใช้นิ้วมือมี ดังนี้

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

วิธีดำเนินการ

วิธีการดำเนินงาน

ระยะเวลาดำเนินการ

งบประมาณ

ผู้รับผิดชอบ

ค่าวัสดุ

ค่าตอบแทน

ค่าใช้สอย

6.1 ขั้นวางแผนและเตรียมการ (Planning)

      6.1.1 วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อวางแผนดำเนินการ

      6.1.2 กำหนดยุทธศาสตร์การดำเนินการ

      6.1.3 วางแผนการดำเนินงาน

      6.1.4 เตรียมเอกสารและอุปกรณ์

มีนาคม–

เมษายน  2561

 

5000

-

-

นางสาวสุดารัตน์  พันหา

6.2 ขั้นลงมือปฏิบัติ (Implementation)

6.2.1 ลงมือปฏิบัติตามแผน

 

1 ภาคเรียน

 

 

 

คณะครูทุกท่าน

 

6.3 ขั้นการกำกับติดตาม (Monitoring)

ทุกๆ 1 เดือน

 

 

 

นายธนัชชัย   เสยกระโทก

นางดวงรักษ์  ณัฐครบุรี

นางสาวสุดารัตน์  พันหา

6.4 ขั้นการวัดและประเมินผล (Evaluation)

      6.4.1 ประเมินผล/ สรุปผล/ รายงาน

ตุลาคม 2561

และ มีนาคม 2562

 

 

 

นางสาวสุดารัตน์  พันหา

6.5 จัดเวทีแข่งขัน จินตคณิตในโรงเรียน

เดือนมีนาคม

 

 

5000

คณะครูทุกท่าน


 

ระยะเวลาในการดำเนินการ

วิธีดำเนินการ

ระยะเวลา

1. นักเรียนเรียนรู้เกี่ยวกับการใช้นิ้วมือแทนจำนวน 0-99

สัปดาห์ที่ 1

2. นักเรียนทำแบบฝึกหัด ทุกวัน โดยครูประจำชั้นต้องคอยจับเวลาในการทำทุกครั้ง เริ่มจาก mission 1 (การบวกจำนวนง่ายๆ) จนครบทั้ง 6 massion

สัปดาห์ที่ 2 - 8

3. หลังจากนั้นครูให้นักเรียนลองใช้ลูกคิดเพื่อช่วยในการคำนวณ

สัปดาห์ที่ 9 - 10

4. หลังจากใช้ลูกคิดจนคล่อง ครูจะเอาลูกคิดที่เป็นเพียงรูปภาพมาให้นักเรียนดีด

สัปดาห์ที่ 11 - 13

5. ครูเอากระดาษออก ให้นักเรียนดีดในอากาศเพียงอย่างเดียว

สัปดาห์ที่ 14 - 19

6. แข่งขันเชิงวิชาการ

สัปดาห์ที่ 20

 

งบประมาณ

          ค่าเอกสาร   (6 ชุด/คน)                      5,000  บาท

          ค่าจัดการแข่งขันและของรางวัล              5,000   บาท

ผู้รับผิดชอบโครงการ

          นางสาวสุดารัตน์           พันหา

การประเมินผล

ตัวบ่งชี้ความสำเร็จ

วิธีการวัด

เครื่องมือ

นักเรียนมีทักษะในการคิดคำนวณทางด้านการเรียนคณิตศาสตร์

การทำแบบฝึกคิดเลขเร็วได้ถูกต้อง แม่นยำ ทันตามกำหนดเวลา

แบบฝึกคิดเลขเร็ว

นักเรียนสามารถคิดคำนวณ

การบวก การลบ การคูณ การหารได้อย่างรวดเร็วถูกต้อง

การทำแบบฝึกคิดเลขเร็วได้ถูกต้อง แม่นยำ ทันตามกำหนดเวลา

แบบฝึกคิดเลขเร็ว

นักเรียนได้รับการพัฒนาปรับปรุงและยกระดับคุณภาพทางการศึกษา

แบบบันทึกความก้าวหน้าของแบบฝึกคิดเลขเร็วในแต่ละเรื่อง

แบบบันทึกความก้าวหน้าของแบบฝึกคิดเลขเร็วในแต่ละเรื่อง

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

           นักเรียนมีทักษะในการคิดคำนวณทางด้านการเรียนคณิตศาสตร์

           นักเรียนสามารถคิดคำนวณการบวก การลบ การคูณ การหารเลขได้อย่างรวดเร็วถูกต้อง

           นักเรียนได้รับการพัฒนาปรับปรุงและยกระดับคุณภาพทางการศึกษา

           นักเรียนมีเจตคติที่ดีต่อคณิตศาสตร์

หมายเลขบันทึก: 647744เขียนเมื่อ 28 พฤษภาคม 2018 21:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 พฤษภาคม 2018 21:24 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท