ชีวิตที่พอเพียง 3183. ไปโตเกียว ๒๕๖๑ ๖. การประชุม 2nd PMAC 2019 Preparatory Meeting Day 2


๑๙ เมษายน ๒๕๖๑   วันนี้อากาศดีมาก แดดจ้า   อุณหภูมิ ๑๖ องศา

เช้า    

การประชุมเริ่มด้วยการใช้เวลาสั้นๆ ในห้องรวมทำความเข้าใจว่า งานของห้องย่อยในช่วงเช้าคืออะไร    มีการทำความเข้าใจว่า ชื่อของการประชุมรวมคือ Coping with Political Economy of NCDs : A whole society approach ดังนั้นทั้ง 3 subtheme ต้องทำความชัดเจนเรื่อง political economy  ของ NCD  มองจาก ๓ มุมใหญ่ๆ    คือจาก มุม determinants: มุม health care, pharma, HRH; และจากมุม governance structure 

ผมไปเข้าห้อง 3 Governance    ซึ่งที่ประชุมตีความว่าหมายถึงกลไกในการดูแลให้ระบบ หรือภาพใหญ่ ทำงานได้ผลตามเป้าหมาย    ซึ่งในกรณีนี้เพื่อการควบคุมและบำบัดรักษา NCD  

ตกลงกันว่า  Subtheme 3 จะมี 4 PS + 1 Commissioned work

  • Multi-stakeholder engagement at the local and national levels : Challenges and opportunities
  • Financing of NCD response : Looking at ODA and beyond
  • NCD and legal environment : ทำความเข้าใจ international & local laws เกี่ยวกับ trade
  • Accountability of the governance system

Commissioned work : Framing for political commitment  

มีคนเสนอให้ใช้กลไกของ side meeting ช่วยทำให้สาระของการประชุมใหญ่เข้มข้นและได้ผลในทางปฏิบัติมากขึ้น    ทำให้ผมคิดว่า ใน PS 1 : Multi-stakeholder ควรมีเป้าที่ประชาชน   เชิญคนจากหลายกระทรวงมาเป็น panelist   โดยเชิญมาเข้า workshop เป็น side meeting  เพื่อเตรียมทำความเข้าใจเป้าหมายของประชาชนสัก ๓ เป้า    แล้วใน PS 1 ให้ panelist ให้ความเห็นว่าบทบาทของหน่วยงานเขาในการสนองเป้าหมายนั้นๆ ของประชาชนเป็นอย่างไร    คือต้องระวังไม่ใช่เชิญคนจากหลาย sector  มาสนองเป้าหมายด้านสาธารณสุขเท่านั้น    ต้องให้เขาบอกคนทางสุขภาพ ว่าเขาต้องการบรรลุเป้าหมายของ sector เขาอย่างไรบ้าง โดยทำอย่างไร   และต้องการความร่วมมือหรือสนับสนุนจาก sector อื่นอย่างไรบ้าง  

ในเรื่อง accountability ของ governance system ผมคิดถึง evidence-based governance system   ที่มีกลไกสร้างข้อมูลหลักฐาน (วิจัยระบบ/นโยบาย) ว่าแต่ละนโยบาย แต่ละกลไก มีผลบวกหรือผลลบต่อเป้าหมายอย่างไร    แล้วสื่อสารต่อสาธารณชน   ในลักษณะของทฤษฎีสามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา     เพื่อให้ประชาชนเป็นผู้ส่งเสียงบอกความต้องการ    ตามหลักการ accountable ต่อประชาชน  

บ่าย

นำเสนอผลประชุมกลุ่มของแต่ละ subtheme   รวม 3 subtheme  

กลุ่มที่ ๑   Subtheme 1 : สรุปหัวข้อเป็น Tackling the political economy of the determinants of NCDs   และตกลงชื่อของ 5 PS ตามแต่ละ determinant ดังนี้

  • Behavioral
  • Socio-cultural
  • Commercial / trade
  • Public / fiscal policy
  • Environmental

โดยแต่ละ determinants จับประเด็น ดังนี้

  • Implications for the risk factors
  • Interventions through the life course
  • Lessons learnt / country case studies
  • Knowledge gaps and research priorities
  • Recommendations

จะเห็นว่ากลุ่ม ๑ ได้ข้อสรุปอย่างเป็นระบบดีมาก   ได้โครงสร้างเป็น 5x5 matrix   แต่ยังไม่มีข้อเขียนบอกความหมายสั้นๆ เลย    กลุ่มนี้จึงต้องทำงานต่อเพื่อให้ได้ข้อเขียนสรุปแต่ละ PS เพื่อให้ PS Coordinator แต่ละคนไปทำงานต่อได้    และนำผลไปเสนอในการประชุมที่ มงเทรอซ์ ในเดือนพฤษภาคม

กลุ่มที่ ๒  Subtheme 2  : เปลี่ยนหัวข้อเป็น System approaches to address political economy of NCDs   มี 4 PS  และ 1 Commission work ดังต่อไปนี้

  • PS 1 : Strategic investment in NCD prevention and control
  • PS 2 : Health workforce and change agents development
  • PS 3 : Political economy of accessing to medicine and technology
  • PS 4 : Health policy advocacy and social mobilization
  • CW : Best buys, wasted buys and DIYs in prevention and treatment of NCDs

กลุ่มนี้เสนอชื่อของ PS coordination มาเรียบร้อย   น่าชื่นชมทีมรามามาก

กลุ่มที่ ๓   Subtheme 3 : ใช้ชื่อเดิมคือ Critical barriers and enablers : governance, financing and accountability for the prevention and control of NCDs   มี PS และ CW ตามที่เล่าแล้วในช่วงเช้า

ผมได้ความรู้ว่า สามารถมองกฎหมายเป็น determinant ได้    และได้เรียนรู้ 8 characteristics of good governance (1)  

มีการเสนอให้บูรณาการ surveillance เข้าไปใน governance   และเพิ่มประเด็น NCD in emergency response 

วิจารณ์ พานิช

๑๙ เม.ย. ๖๑

ห้อง ๕๖๗  โรงแรม แกรนด์ฮิลล์, โตเกียว 


 

หมายเลขบันทึก: 647739เขียนเมื่อ 28 พฤษภาคม 2018 19:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 พฤษภาคม 2018 19:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท