พระธรรมเทศนา (พระมงคล เทพมุนี)


            บัดนี้ท่านทั้งหลายทั้งเหญิงและทั้งชายได้สละเวลาอันมีค่า มาศึกษาในทางพระพุทธศาสนา นี้เป็นกิจส่วนตัวสำคัญทางพระพทุธศาสนา พระพุทธศาสนาแปลว่า คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าสอนให้สัตว์โลกทั้งหมด ละชั่วด้วยกาย วาจา ใจ ทำความดีด้วยกาย วาจา ใจ ทำใใจให้ใส่ ๓ ข้อนี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์ ทั้งอดีต ปัจจุบัน อนาคต ยืนยันเหมือนกันหมด เหตุนั้นท่านทั้งหลาย เมื่อตัวใจมั่นลงในพระพุทธศาสนาเช่นนี้ ก็เพ่อจะทำใจของตนให้ดีตามประสงค์

          ใทงพระุพุทธศาสนา การที่จะทำใจให้ดีนี้ มีบาลีเป็นตำรับตำราว่า เทฺวเม ภิกฺขเว วิชฺชาภาคิยา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วิชชามี ๒ อย่าง กตเม เทฺว ๒ อย่างอะไรบ้าง สมโถ จ สมถะ ความสงบระงับ อย่างหนึ่ง วิปสฺสนา จ วิปัสสนา ความเห็นแจ้ง อย่างหนึ่ง

           สมโถ ภาวิโต กิมตฺถมนุโภติ สมถะเป็นขึ้นแล้วต้องการอะไร จิตฺตํ ภาวิยติ ต้องการให้จิตเป็นขึ้น จิตฺตํ ภาวิยติ ต้องการให้จิตเป็นขึ้น จิตฺตํ ภาวิตํ กิมตฺถมนุโภติ จิตเป็นขึ้นแล้วต้องการอะไร โย ราโค โส ปหียติ ความกำหนัดยินดีอันใดที่มีอยุ่ในจิตใจ ความกำหนัดยินดีอันนั้นหมดไปด้วยสมถะความสงบระงับ

          วิปสฺสนา ภาวิตา กิมตฺถมนุโภติ วิปัสสนาเป็นขึ้นแล้วต้องการอะไร ปญฺญา ภาวิยติ ต้องการทำปัญญาให้เป็นขึ้น ปญฺญา ภาวิตา กิมตฺถมนุโภติ ปัญญาเป็นึ้นแล้วต้องการอะไร ยา อวิชฺชา สา ปหียติ ความไม่รู้จริงอันใดที่มีอยู่กับจิตใจ ความไม่รุ้จริงอันนั้นหมดไปด้วยความเห็นแจ้งคือวิปัสสนา

        ทางพระพุทธศาสนามีวิชชา ๒ อย่างนี้เป็นข้อสำคัญนัก บัดนี้ท่านทั้งหลายที่เสียสละเวลามาก็เพื่อมาเรียนสมถวิปัสสนาทั้ง ๒ อย่างนี้ สมถะ เป็นวิชชาเบื้องต้น พุทธศาสนิกชนต้องเอาใจใส่ คือแปลความว่า สงบระงับใจ เรียกว่า สมถะ วิปัสสนา เป็นขั้นสุงกว่าสมถะซึงแปลว่า เห็นแจ้ง เป็นธรรมเบื้องสูง เรียกว่าวิปัสสนา สมถะ วิปัสนา ๒ อย่างนี้ เป็นธรรมอันสุขุมลุ่มลึกในทางพระพุทธศาสนา ผู้พุดนี้ได้ศึกษามาตั้งแต่บวช พอบวชออกจากโบสถ์แล้วได้วันหนึ่ง ร่งุขึ้นวันหนึ่งก็เรียนที่เดียว เรียนสมถะที่เดียว ไม่ได้หยุดลย จนกระทั้งถึงบันนี้ บันดนี้ทั้งเรียนด้วย ทั้งสอนด้วย ในฝ่ายสมถวิปัสสนาทั้ง ๒ อย่างนี้ 

          สมถะมีภูมิแค่ไหน สมถะมีภูมิ ๔๐ กสิณ ๑๐, อสุภะ๑๐, พรหมวิหาร ๔ , อาหาเรปฏิกูลสัญญา ๑, จตุธาตุววัฎฐาน ๑, รูปฌาน ๔, อรูปฌาน ๔, ทั้ง ๔๐ เป็นภูมิของสมถะ

          วิปัสสนา มีภูมิ ๖ ขันธ์ ๕, อายตนะ ๑๒, ธาตุ ๑๘, อินทรีย์ ๒๒, อริยสัจ ๔, ปฏิจจสมุปบาทธรรม ๑๒ (ธรรมอาศัยซึ่งกันและกันเกิดขึ้น) นี้เป็นภูมิของวิปัสสนา ภูมิสมถะ ภูมิวปัสสนาทั้ง ๒ นี้เป็นตำรับตำราในทางพระพทุศาสนาได้ใช้กันสืบมา

         แ่ภูมิของสมถะที่เราจะเพ่ิงเรียนต่อไป เร่ิมต้นต้องทำใจให้หยุด จึงจะเข้าภูมิของสถะได้ ถ้าทำใจหยุดไม่ได้ก็เข้าภูมิสมพถพไม่ไ้ สมถะเขาแปลว่าสงบ แปลว่าระงับ แปลว่าหยุด แปลว่านิ่ง ต้องทำใจให้หยุด ใจของเราน่ะ อะไรที่เรียกว่า "ใจ" เห็น อย่างหนึ่ง, จำอย่างหนึ่ง, คิด อย่างหนึ่ง, รู้ อย่างหนึ่ง, ๔ อย่างนี้รวมเข้าเป็นจุดเดียวกัน นั่งแหละเรียกว่า "ใจ" 

       อยู่ที่ไหน อยู่ในเบาะน้ำเลี้ยงหัวใจ คือ ความเห็นอยุ่ที่ท่ามกลางกาย ความจำอยู่ที่ท่ามกลางเนื้อหัวใจ ส่วนคิดเป็นต้นของดวงจิต ส่วรู้เป็นต้นของดวงวิญญาณ

       "ดวงวิญญาณ" เท่าดวงตาดำข้างใน อยุ่ในกลางดวงจิต "ดวงจิต" เท่าดวงตาดำข้านอก อยู่ในกลางเนื้อหัวใจ "ดวงจำ" กว้างออกไปอีกหน่อยหนึ่ง เท่าดวงตาทั้งหมด "ดวงเห็น" อยุ่ในกลางกาย โตกว่าดวงตาออกไป นั้นเป็น ดวเห็น ดวงเห็น นั้นแหละ ธาตุเห็นอยู่ศูนย์กลางดวงนั้น นั้นแหละเรียกว่าเห็น เห็นอยู่ในธาตุเห็นนั้น ดวงจำ ธาตุรู้อยุ่นศุนย์กลางดวงนั้น เห็นจำคิด รู้ ๔ อย่างนี้แหละ เอาเข้ามารวมจุดเดียวกันเรียกว่า "ใจ" 

       ยองยากอย่างนี้เห็นไหมล่ะ คำที่เรียกว่า"ใจ" นั้นแหละ เวลานี้ เรานั่งอยู่นี้สอด (ส่งใจ) ไปถึงบ้านก็ได้ สอดไปถึงรกก็ได้ สอดไปถึงสวรรค์ก็ได้ สอดไปถึงนิพพานก็ได้ (เรานึก) สอดใจไปได้ มันลึกซึ้งอย่างนั้น เห็นไหมละใจ ถ้าว่ามันรู้แคบมันก็สอดไปได้แคบ ถ้ารู้กว่างสอดไปได้กว้าง ถ้ารู้ละเอียดสอดไปได้ละเอียด รู้หยาบก็สอดไปได้หยาบแล้วแต่ความรุ้ของมัน ความเห้นของมัน สำคัญนัก

         คำที่เรียกว่า "ใจ" นี่แหละ เราต้องบังัยให้หยุดเป็นจุดเดียวกัน เห้น จำ คิด รู้ ๔ อย่างี้ ต้องมารวมเป็นจุดเดียวกันอยุ่กลางกายมนุษย์  สะดือทะลุหลัง ขวาทะลุซ้าย กลางกั๊กข้าใน สะดือทะลุหลัง เป็นด้ายกลุ่มไปเส้นหนึ่ง ตึง ขวาทะลุซ้ายเป็นด้ายกลุ่มไปเส้นหนึ่งตรงกัน ดึง ดึงทั้ง ๒ เส้น ตรงกลางจรดกัน ที่กลางจรดนั่นแหละ เรียกว่า "กลางกั๊ก" กลางกั๊กนั้นและถูกลางดวงธรรมที่ทำให้มนุษย์ ใสบริสุทธิ์เท่าฟองไข่แดงของไก่ ถูกลางดวงพอดี ที่สอนให้เอาพระของขวัญไปจรดไว้กลางดวนั้นแหละ กลางกั๊กนั้นแหละ เราเอาใจของเราไปจรดอยุ่กลางกั๊กนั้นแหละ เห็น จำ คิด รู้ ๔ อย่างจรดอยุ่กลางกั๊กนั่น กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมุนษย์นั้น "ใจ" มีที่ตั้งแห่งเดียวเท่านั้น

         ที่เขาบอกว่า "ตั้งใจนะ " เราจะต้องเอาใจไปหยุดตรงนั้นที่เดียว ถึงจะถูกเป้าหมาย ใจดำ เขาบอกว่าตั้งใจนะ เวลานี้เอ็งจะทำบุญทำกุศล เราต้องตั้งใจตรงนั้น บันนี้เราจะรักษาศีล ก็ต้องตั้งใจตรงนั้น บัดนี้เราจะเจริญภานาละ เราก็ต้องตั้งใจตรงนั้นเหมือนกัน ต้องเอาใจหยุดตรงนั้นกลางเมื่อเอาใจไปหยุดอยู่กลางนั้นแล้ว เราก็ใช้สัญญาจำให้มั่น หยุดนิ่งบังคับให้นิ่งเชยว ถ้าไม่น่ิงก็ต้องใช้บริกรรมภาวนาบังคับไว้ บังคับใจให้หยุด บังคับหนักเข้าๆๆ พอถูกส่วนเข้ ใจหยุดนิ่ง ใจหยุด หยุด พอใจหยุดเท่านั้นแหละ ถูกตัวสมถะแล้ว นั้นแหละตัวสมถะ ไอ้หยุดนั่นแหละ หยุดนั่นเอง เป็นตัวสำเร็จ ทางโลกและทงธรรมสำเร็จหมด โลกที่จะได้รับคือความสุข ใจต้องตามส่วนของโลก ะรรมี่จะไดรับความสุขใจต้องหยุดตามส่วนของธรรม ท่านได้แนะนำไว้ตามวาระพระบาลีว่า นตฺถิ สนฺติปรํ สุขํ  สุขอื่นนอกจาหยุดจากิน่งไม่มี หยุดนั่งเองเป็นตัวสำคัญ เพราะเหตุนั้นต้องทำใจให้หยุด เมื่อใจของเราหยุดแล้ว เราก็ต้องหยุดในหยุดๆ ไม่มีถอยหลังกลับ หยุดในหยุดๆๆๆ อยู่นั่งเอง 

          ใจที่หยุดนั้นต้องถุกลาง นะ ถ้าไม่ถูกลางใช้ไม่ได้ ต้องหยุดเข้าสิบ เข้าศุนย์เข้าส่วน ถุกสิบ ถูกศูนย ถูกส่วน ถ้าหยุดกลางกายเช่นนั้นถูกสิบ พอถูกสิลบเท่านั้น ไม่ช้าจะเข้าถึงศุนย์ พอถูกสิบแล้วก็จะเข้าถึงศูนย์ที่เดียว โบราณท่านนพูดกันว่า 

           "เห็นสิบแล้วเห็นศุนย์ เป็นเค้ามูลสืบกันมา

            เที่ยงแท้แน่นักหนา    ตั้งอนิจจาเป็นอาจิณ

            จุติแล้วปฏิสนธิ          ย่อมเวยนวนอย่ทั้งสิ้น

            สังขาราไม่ยืนยิน         ราคีสิ้นเป็นต้นมา"

        สิบศนุย์นี้เป็นตัวสำคัญนัก สัตว์โลกจะเกิดในโลกได้ ต้องอาศัยเข้าสิบแล้วตกศุนย์จึงเกิดได้ ถ้าเข้าสิบไม่ตกศุนย์แล้วก็เกิดไม่ได้ นี่โลกับะรรมต้องอาศัยกันอย่างนี้ ส่วนทางธรรมเล่า ก็ต้องเข้าสิบ เข้าสิบแล้วก็ตกศูนย์ "ตกศูนย์" คือ "ใจหยุด" พอใจหยุดเรียกว่าเข้าสิบแล้ว เห็นเป็นดวงใสเท่านดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ ผุดขึ้นที่ใจหยุดนั่นแหละ นั่นตกศุนย์แล้ว เข้าสิบ แ้ว เห้นศุนย์แล้ว เรียกว่า "เข้สิบแล้วเห็นศุนย์" 

         พอเห็นศูนย์ ใจก็หยุดอยุ่กลางศูนย์นั่นเชยว กลางดวงใสเท่าดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ดวงนั้นและเรียกว่า "ดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฎฐาน"  หรืออีกนัยกนึ่ง ดวงนั้นเรียกว่า "ดวงปฐมมรรค" หนทางเบื้องต้น มรรคผลนิพพานน ถ้าจะไปสู่มรรคผลนิพพาน ต้องเข้ากลางดวงนั้นแห่งเดียว ไปได้ทางเดียว ทางอื่นไม่ไมี เมื่อเข้ากลางดวศุนย์นั้นได้แล้วเรียกว่า ปฐมมรรค นัยหนึ่ง อีกนัยหนึ่ง ดวงนั้นแหละเรียกว่า ไเอกายมรรค" แปลว่า "หนทางเอก ไม่มีโท สองไม่มี แปลว่า "หนทางหนึ่ง "สองไม่มี หนึ่งที่เดียว...

         บางส่วนจาก "หลักและวิธีเจริญสมถะและวิปัสสนาเบื้องต้นถึงธรรมกาย"

หมายเลขบันทึก: 646601เขียนเมื่อ 21 เมษายน 2018 10:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 เมษายน 2018 10:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท