ออเจ้าถาม Baldrige ตอบ 2


บทความเรื่อง ออเจ้าถาม Baldrige ตอบ (FAQs of Baldrige Criteria) ตอนที่ 2 นี้ นำมาจาก เว็บไซต์ของ Baldrige Award

ออเจ้าถาม Baldrige ตอบ 2 

 FAQs of Baldrige Criteria 2

พันเอก มารวย  ส่งทานินทร์

[email protected]

29 มีนาคม 2561

บทความเรื่อง ออเจ้าถาม Baldrige ตอบ (FAQs of Baldrige Criteria) ตอนที่ 2 นี้ นำมาจาก เว็บไซต์ของ Baldrige Award ที่ https://www.nist.gov/baldrige/examiners

ผู้สนใจเอกสารนี้แบบ PowerPoint (PDF file) สามารถ Download ได้ที่ https://www.slideshare.net/maruay/faq-of-baldrige-criteria-part-2-of-3

คำถามที่ 1 ถามว่า  ฉันถูกสอนให้เขียนความคิดเห็นโดยใช้สูตร "NERD" นั่นคือวิธีการที่เหมาะสมแล้วใช่หรือไม่?

  • "NERD" (Nugget-Examples-Relevance-Done) เป็นวิธีที่มีประโยชน์ในการจดจำ ขององค์ประกอบสามอย่าง (NER) เพื่อรวมไว้ในข้อคิดเห็น
  • แต่การเขียนความคิดเห็นทุกข้อตาม NER อาจ (1) ทำให้ผู้สมัครนอนหลับ และ (2) ที่สำคัญคือ ทำให้ความเห็นของคุณมีประสิทธิผลน้อยลง
  • ให้ลองพิจารณาลำดับ NRE คือ R ซ่อนภายใน N แล้วจึง E หรือแม้แต่ E ที่ซ่อนอยู่ภายใน N ตามด้วย R จะทำให้ข้อความมีความเข้มแข็งขึ้น
  • ให้ดูตัวอย่างการรายงานผลจากกรณีศึกษาของ Baldrige จะเห็นได้ว่า คุณไม่จำเป็นต้องทำลำดับ
  • ให้อ่านความคิดเห็นที่เขียน ว่ามีประสิทธิผลและความชัดเจน

คำถามที่ 2 ถามว่า  ในการเขียนโอกาสพัฒนา (OFI) คุณสามารถใช้คำว่า แม้ว่า/ในขณะที่/อย่างไรก็ตาม (เช่น "แม้ว่าผู้สมัครจะมีวิธีการแบบ X ที่เป็นระบบ แต่ไม่ได้แสดงหลักฐาน Y") ได้หรือไม่?

  • การเริ่มต้นความคิดเห็นของ โอกาสพัฒนา (Opportunity for Improvement – OFI) ที่มีข้อความขึ้นต้นว่า "แม้ว่า/ในขณะที่ (although/while)" ที่เน้น จุดแข็ง (strength) อย่างยืดยาวในตอนขึ้นต้นประโยคนั้น อาจส่งข้อความที่สับสนไปยังผู้สมัครได้ ("นี่เป็นจุดแข็งหรือ OFI?")
  • เราขอแนะนำให้แสดงความคิดเห็นในทันที โดยระบุที่จุดเน้นอย่างตรงเป้าของ OFI
  • ตัวอย่างเช่น แทนที่จะเป็น "ผู้สมัครใช้ข้อมูลเปรียบเทียบเพื่อประเมินผลประกอบการ อย่างไรก็ตาม ไม่พบวิธีการคัดเลือกมิติข้อมูลของผลประกอบการที่นำมาใช้" “
  • เราขอแนะนำให้ทำดังนี้ "ไม่เป็นที่ชัดเจนว่า ผู้สมัครมีวิธีการอย่างไรในการคัดเลือกมิติข้อมูลของผลประกอบการ มาใช้ในการเปรียบเทียบ"
  • ด้วยวิธีนี้ OFI จะมีความชัดเจนและตรงไปตรงมา และมีข้อมูลอื่น ๆ เป็นเพียงส่วนประกอบสำหรับ OFI (ถ้าจำเป็น)

คำถามที่ 3 ถามว่า  ทำไมผู้ตรวจประเมินจึงถูกขอให้เขียนความคิดเห็น "ประมาณ 6 ข้อ" ทำไมไม่มากหรือน้อยกว่านี้?

  • เราขอให้คุณเขียน "ประมาณ 6 ข้อ (around 6)" ความคิดเห็นเพื่อมุ่งเน้นเกี่ยวกับ จุดแข็งและ OFIs ที่สำคัญที่สุดขององค์กร โดยไม่ท่วมท้น
  • ซึ่งแตกต่างจากการปฏิบัติในบางโปรแกรม ซึ่งอาจขอให้เขียนได้เพียง 3 หรืออาจถึง 12 ข้อคิดเห็น

คำถามที่ 4 ถามว่า  ทำไมเราไม่ควรใช้ OFI เพื่อคาดการณ์สิ่งที่จะเกิดขึ้น หากองค์กรไม่ปรับปรุงอะไรบางอย่าง (เช่น "ความล้มเหลวในการทำ X จะส่งผลให้เกิด Y"?)

  • ข้อเสนอแนะของ Baldrige เป็นสิ่งที่ สามารถกระทำได้ (actionable) แต่ ไม่บอกวิธีแก้ไข และไม่คาดคะเนว่าจะเกิดอะไร  (nonprescriptive and nonpredictive)
  • ให้ใช้คำว่า "อาจ (may)" แทนคำว่า "จะ (will)“ เช่น "การทำ X อาจช่วยองค์กรเกิด Y" หรือ "การไม่ทำ X อาจส่งผลให้เกิด Y" หรือบางอย่างที่คล้ายกัน

คำถามที่ 5 ถามว่า  ในการเขียนความคิดเห็นผลลัพธ์ มีวิธีการทางคณิตศาสตร์สำหรับกำหนดว่า "เล็กน้อย" "มาก" และ "มากที่สุด" ตรงตามข้อกำหนด หรือปัจจัยการประเมินหรือไม่?

  • ไม่มี เพราะวิธีการทางคณิตศาสตร์ ไม่ได้คำนึงถึงความสำคัญของผลลัพธ์
  • ให้มองไปที่ผลลัพธ์ที่ เกี่ยวข้อง (relevant) กับเรื่องที่คุณกำลังเขียน และเกี่ยวกับ ปัจจัยที่สำคัญ (key factors) ขององค์กร และตัดสินใจแบบองค์รวมว่า ตอบสนองต่อข้อกำหนดและปัจจัยการประเมิน (LeTCI) ได้ดีเพียงใด

***************************

คำสำคัญ (Tags): #baldrige#award#faq#คำถาม
หมายเลขบันทึก: 646060เขียนเมื่อ 29 มีนาคม 2018 17:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 มีนาคม 2018 17:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท