วันนี้สรพ.ชวน facilitator และ note taker มาหารือเพื่อเตรียมการในการสนทนากลุ่มขอความเห็นประชาชนในการจัดทำคู่มือความปลอดภัยของผู้ป่วย เพื่อสื่อสารสำหรับประชาชน เป้าหมาย คือได้คู่มือความปลอดภัยที่มาจากประชาชน สื่อสารด้วยคำที่โดนใจ เข้าใจง่าย สร้างแรงบันดาลใจและปฏิบัติได้จริง เราจึงต้องเตรียมการเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ ตั้งโจทย์ให้แต่ละกลุ่ม SIMPLE โดยแต่ละกลุ่มจะมี fa 1 ท่าน Note taker 2 ท่าน มอบหมายหัวข้อตาม SIMPLE หารือและนำเสนอกระบวนการในการสนทนากลุ่ม มีประเด็นที่น่าสนใจที่สามารถนำไปใช้สำหรับการทำกระบวนการกลุ่มได้ ดังนี้
บทเรียนของการเป็น facilitator ที่ “เก๋า” ความเก๋า มีอะไรบ้าง
1. เก๋า ประสบการณ์ สร้างความกลมกลืน รื่นไหล การเริ่มสนทนาด้วยการสร้างสัมพันธภาพ สลายตัวตน รู้จักกันและกัน ที่สำคัญรู้เป้าหมาย วัตถุประสงค์เดียวกัน สามารถคุมสถานการณ์ได้
2. เก๋า ด้วยการวางแผน ตั้งแต่กระบวนการตั้งแต่ต้นจนจบ จะเริ่มอย่างไร ดำเนินการมีขั้นตอนอะไรบ้าง ใช้เวลาเท่าไร มี session อะไร วางแผนทรัพยากรที่จะใช้ ใครช่วย note taker จะทำอะไรบ้าง อุปกรณ์ที่จำเป็น สถานที่จะต้องจัดการอย่างไร
3. เก๋า ด้วยความเรียบง่าย สื่อสารด้วยภาษาง่ายๆ แปลศัพท์วิชาการให้เป็นภาษาชาวบ้าน เช่นความเสี่ยง แปลงเป็นความกลัว ความกังวล ความไม่ปลอดภัย med reconcile ใช้คำว่า ยาเก่า ยาเดิม เป็นต้น
4. เก๋า ด้วยความอ่อนน้อม ใช้การฟังอย่างตั้งใจ ให้เกียรติ เพื่อสร้างความเป็น เรา ให้เกิดความเห็นร่วม สร้างพลังให้กลุ่มได้เกิดฝันร่วมกัน ให้ทุกคนได้ประโยชน์จากสิ่งที่ทำ เห็นคุณค่าในสิ่งทีทำ
5. เก๋า ด้วยความคมชัด ตรงประเด็น มีความรู้และเข้าใจในประเด็น เข้าใจโจทย์อย่างลึกซึ้ง และเข้าใจเป้าหมายที่ต้องการ
6. เก๋า ด้วยเทคนิคแพรวพราวในการกระตุ้นความคิด สร้างสรรค์ การนำการสนทนาด้วยรูปแบบต่างๆ ใช้เครื่องมือคุณภาพเป็น จัดลำดับความสำคัญได้ การสรุปประเด็นสำคัญและสะท้อนกลับได้
7. เก๋า ที่ไม่ติดกรอบ ถึงจะมีกรอบ SIMPLE ในใจ แต่ไม่ยึดติด ใช้ประเด็นสำคัญของกลุ่มเป็นตัวตั้ง
Note taker ต้องเก่ง ความเก่งของ note นอกจากบันทึกได้ประเด็นครบถ้วนสมบูรณ์ ทันเวลาแล้ว note ต้องเป็นคนสังเกตรอบด้าน ทั้งวัจนภาษา และอวัจนภาษา ท่าทาง อากับกิริยาของ participant เพื่อสื่อสารให้ facilitator รับรู้รับทราบ note กับ Fa ต้องทำงานประสานกันเพื่อให้ได้ประเด็นสำคัญ เด่ว พรุ่งนี้มาดูผลงานการบันทึกประเด็นสำคัญกันนะคะ
ความ กล้า ของทีมนี้คือ ใช้ใจทำงาน กล้าอาสาทำงาน กล้าที่จะเริ่มขยับจากสิ่งยังไม่เคยมี ให้เกิดมี กล้าเรียนรู้และทดลองทำ กล้าที่จะสื่อสารในประเด็นที่ sensitive ต่อความรู้สึก และคาดเดาไม่ได้เลยว่า คนที่เข้ามาร่วมนั้นจะมีหน้าตาเป็นอย่างไร ต้องใช้ใจล้วนๆ ให้กำลังใจในการทำความดีเพื่อพี่น้องชาวไทยปลอดภัยกันค่ะ ทำด้วยใจ อะไรก็ดี ค่า