แนวคิดเชิงระบบของ Juan Enriquez-Cabot


Juan Enriquez-Cabot เป็นคนเขียน เมื่อหมาไล่กัดคุณ อุ๊บส์..ไม่ใช่ ต้องเป็น เมื่ออนาคตไล่ล่่าคุณ

เมื่อปี 2546 กรมการค้าของสหรัฐมีการเชิญใครต่อใครมาประชุมแล้วถอดคำพูดมาเผยแพร่ในเว็บในชื่อบทความ MADE IN AMERICA 2020: THE FUTURE FACE OF MANUFACTURING

http://www.manufacturingnews.com/resources/MadeInAmerica.doc

พูดถึงอนาคตสมรรถนะการแข่งขันได้ทางการค้าของสหรัฐ ซึ่ง Cabot ก็เป็นแขกรับเชิญด้วย

เรื่องที่น่าสนใจคิอวิธีคิดของ Cabot เป็นวิธีคิดเชิงระบบที่ชวนสะดุดใจ เพราะเป็นเหมือนเรื่องเล่า ที่กระตุกต่อมคิดของเรา

เขาพูดถึงวิธีการคำนวณครับ

เมื่อเราใช้ระบบเลขโรมัน นับเริ่มจากหนึ่ง ก็จะเห็น (i, ii, iii, iv, v, vi, vii, viii, ix, x, xi, ...)

ก็ไม่มีอะไรผิด อย่างน้อยก็นับสินค้าขายได้

แต่ถ้าจะคูณ ระบบเลขโรมัน ไม่อำนวยความสะดวกสำหรับการคูณ

คูณก็ยาก หารก็ลำบาก  

อย่าว่าแต่คูณหารเลย แม้บวกลบก็เป็นเรื่องยากแค้นแสนเข็ญ จะขยับทำอะไรสักนิด ต้องมีล่าม

อย่างเช่น 

MCMXCIX + I = MM

แปลว่า  1999 + 1 = 2000 ครับ

จะเห็นได้ ระบบเลขแบบนี้ เอื้อให้เกิดความรู้ไร้สาระได้ง่าย เพราะโครงสร้างของความรู้ มีความซับซ้อนกว่าโลกแห่งความเป็นจริง และทำให้มีขีดจำกัดมากมายถ่วงไว้ ไม่ให้ระบบจำนวนก้าวหน้า

ผลคือ เมื่อระบบเลขอาระบิคเกิดขึ้น จึงสามารถแซงหน้าไปได้ทางคณิตศาสตร์ ซึ่งในยุคกลางของยุโรปที่เป็นยุคมืด กลับเป็นยุคที่คณิตศาสตร์เฟื่องฟูงอกเงยในอาหรับ

ระบบเลขอาระบิคก็คือระบบจำนวนที่เราใช้กันทุกวันนี้นั่นแหละครับ

คณิตศาสตร์แข็งแกร่ง ก็เป็นฐานให้วิทยาศาสตร์ยืนได้มั่นคง 

จากระบบเลขอาระบิค สามารถทำให้เกิดความเข้าใจเรื่องเลขฐาน ซึ่งจากฐานสิบ ก็เกิดเลขฐานอื่น ๆ ตามมา ทำให้สามารถเล่นกับเลขฐานอะไรก็ได้ ตามใจชอบ 

เมื่อใช้ระบบเลขฐานสองควบตรรกศาสตร์ ผ่าน logic gate สิ่งที่เกิดขึ้นคือคอมพิวเตอร์

(รายละเอียด ผมเขียนไว้ที่หัวข้อสุดยอดฝีมือเรื่องเลขฐาน)

คอมพิวเตอร์เกิดขึ้นช่วงแรก เพื่อการทำสำมะโนประชากร และเพื่อการคำนวณทางวิทยาศาสตร์

กูรูทางคอมพิวเตอร์ในยุคแรก ๆ มองว่าวิวัฒนาการหน่วยความจำไม่น่าไปไกลเกิน 64K เพราะเกินความจำเป็นสำหรับมนุษยชาติ ทำนองว่า "มันจะใช้อะไรกันนักหนา ?"

แต่ขอโทษเถอะ เด็กเล่นเกมส์เดี๋ยวนี้ ใช้หน่วยความจำเครื่องเกินโควต้าที่เคยทำนายไว้แค่ "หมื่นกว่าเท่า" เอง..

ด้วยการใช้เลยอาระบิคแทนเลขโรมัน วิทยาศาสตร์ยุคใหม่จึงเกิดขึ้นได้

ด้วยการใช้เลขฐานสองแทนเลขอาระบิค คอมพิวเตอร์จึงเกิดขึ้นได้

ถามว่า เลข viii กับ (1000)ฐานสอง ต่างกันไหม

ไม่ต่างครับ

ลูกชิ้นไม้ละ viii บาท หรือไม้ละ 1000 (ฐานสอง) บาท หรือไม้ละ 8 บาท มันก็ลูกชิ้นไม้เดียวกันนั่นแหละ

เรื่องนี้สอนใจอะไรบ้าง ?

ส่วนตัวแล้ว ผมมองว่า นี่คือแนวคิดเรื่องการจัดการเชิงระบบครับ

ภาษา และ คำศัพท์ คือ โครงสร้างของการจัดการเชิงระบบรูปแบบหนึ่ง

คนที่เรียนรู้คำศัพท์ใหม่ ๆ เพื่อเปิดโลกทัศน์ จึงเป็นการฝึกฝนแนวคิดเชิงระบบอย่างไม่รู้ตัว

 

หมายเลขบันทึก: 64587เขียนเมื่อ 1 ธันวาคม 2006 10:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 22:17 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท