อบรมเชิงปฎิบัติการด้านดาราศาสตร์ขั้นต้น จ.มุกดาหาร วันแรก


   ในระหว่างวันที่ 9 – 11 มี.ค. 61 ได้มีโอกาสเข้ารวมอบรมทางดาราศาสตร์ขั้นต้น ณ โรงแรมพลอย พาเลช จ.มุกดาหาร ซึ่งจัดขึ้นโดยสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ(องค์กรมหาชน) ในระหว่างการอบรมก็ได้ทั้งความรู้ที่เกี่ยวกับการดูดาวขั้นต้น เช่น การลงดูดาวด้วยกล้องทั้งตอนกลางวันและกลางคืน การติดตามดวงดาว การใช้โปรแกรมดูดาวและเทคนิคต่างๆ ที่น่าสนใจอีกมากมาย

วันแรก           

   - วันแรกของการอบรมในตอนเริ่มแรกก็ได้เทคนิคการถามเลย พูดง่ายๆ เลยคือ ถ้าเราเป็นผู้บรรยายคนหนึ่ง ถ้าเราถามผู้เข้าร่วมบรรยายให้แสดงความคิดเห็นอาจจะได้รับความร่วมมือน้อย  ดังนั้น เทคนิคที่ช่วยนี้เรียกว่า A B C card

ด้านการใช้งานเราแค่พับเป็นหน้า A B C และ D  จากนั้น เราก็แค่กำหนดเงื่อนไขต่างๆ ตามที่เราจะถามผู้เข้าร่วม (อาจเป็นนักเรียนก็ได้นะครับ) เช่น A = เข้าใจมากที่สุด, B = เข้าใจมาก, C = พอเข้าใจ, D = ไม่เข้าใจเลย ทำนองนี้ โดยส่วนตัวคิดว่าประทับใจกับเทคนิคนี้ครับและคิดว่าน่าจะใช้ได้ผล

- หลังจากนั้นก็บรรยายเกี่ยวกับเมฆ ซึ่งคิดว่าได้ความรู้มากพอควรเช่นกันครับ เช่น การสังเกตเมฆในลักษณะต่างๆ ว่าเมฆลักษณะนี้อยู่ในบรรยากาศชั้นไหน? และเมฆลักษณะไหนที่สามารถเกิดฝนได้?  แล้วก็ได้ทำการทดลองในการสร้างเมฆจำลองด้วยครับโดยมีอุปกรณ์ ดังนี้ – ขวดน้ำ – แอลกอฮอล์ – ที่สูบลมขนาดเล็ก

                   วิธีทำการทดลอง

                   1. นำแอลกอฮอล์มาเทใส่ในขวดน้ำประมาณ 1/20 ส่วนของขวดน้ำ แล้วร่อนขวดเพื่อให้แอลกอฮอล์กระจายทั่วผิวขวดน้ำ

                   2. จากนั้น ก็นำที่สูบลมที่มีจุดทำพิเศษเพื่อไม่ให้ลมหนีออกจากขวดน้ำสูบลมเข้าไปทำให้ความดันสูงที่สุดเท่าที่จะทำได้ จากนั้นก็ปล่อยที่สูบลมกับขวดน้ำออกจากกัน                              

                   3. สังเกตสิ่งที่เกิดขึ้นคือ เหมือนมีไอคล้ายๆ ก้อนเมฆอยู่ภายในขวดครับ

อาจารย์ผู้บรรยาย อธิบายว่า เมื่อเราสูบลมเข้าไปภายในขวดจะทำให้ความดันภายในขวดสูงขึ้น  จากกฎของแก๊สในอุดมคติ PV=nRT พบว่า เมื่อความดันภายในขวดสูงขึ้น อุณหภูมิจะสูงขึ้นด้วย  เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้นจะทำให้แอลกอฮอล์บางส่วนระเหยเป็นไอเนื่องจากแอลกอฮอล์มีจุดระเหยที่ค่อนข้างต่ำ  จากนั้น เมื่อดึงที่สูบลมและขวดน้ำออกจากกัน ความดัน(อุณหภูมิ)จะลดลง ทำให้โมเลกุลของแอลกอฮอล์ภายในขวด จับตัวกันอยู่ในสภาวะไอน้ำคล้ายๆ เมฆ  ดังนั้น เมื่อแสงที่อยู่ด้านหลังของไอน้ำเหล่านี้เดินทางผ่านจะเกิดการหักเหออกในทิศต่างๆ (แสงเดินทางผ่านตัวกลางที่มีความหนาแน่แตกต่างกันจะทำให้เกิดการหักเห) ทำให้มีลักษณะมั่วเหมือนเมฆนั่นเองครับ           

   - จากนั้น เป็นการบรรยายเกี่ยวกับทรงกลมท้องฟ้า ซึ่งสามารถสังเกตได้โดยตรงในตอนกลางคืนครับ ฐานนี้ได้ความรู้หลายอย่าง เช่น ดาวค้างฟ้า กลุ่มดาวต่างๆ และการเคลื่อนที่ของดวงดาวเมื่อเราอยู่ในบริเวณต่างๆ ของโลก  นอกจากนั้น โดยส่วนตัวคิดว่าเจ้าหน้าที่ของ NARIS มีความรู้และความสามารถอย่างเพียงพอและสื่อสารกับผมได้ดีครับ และอาหารที่ค่ายนี้ก็เป็นระดับ 5 ดาวครับโดยรวมวันแรกประทับใจครับ

หมายเลขบันทึก: 645548เขียนเมื่อ 12 มีนาคม 2018 08:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มีนาคม 2018 15:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท