ความประทับใจและสิ่งที่ได้เรียนรู้ในวิชาชีพกิจกรรมบำบัด



กิจกรรมบำบัด(Occupation Therapy or OT) เป็นวิชาชีพที่เกี่ยวกับการแนะนำและการวางแผนร่วมกับตัวคนไข้โดยใช้กิจกรรมเป็นสื่อในการบำบัดรักษา เพื่อเป็นการฟื้นฟูและการกลับไปทำตามศักยภาพและความสามารถของคนไข้ ซึ่งจะมองที่ตัวคนไข้เป็นหลักตามความต้องการและสิ่งที่คนไข้สนใจ


ความประทับใจในวิชาชีพOT

1.รู้สึกประทับใจในพี่OTและอาจารย์ที่สอนทุกครั้ง รู้สึกได้ถึงความตั้งใจและความเอาใจใส่  ไม่ว่าจะเป็นระหว่างที่เป็นวิชาการและช่วงที่ผ่อนคลาย ทุกๆอย่างที่ทำจะต้องมีความหมายเสมอ และพี่ๆหรืออาจารย์ทุกคนพร้อมที่จะตอบคำถามและให้คำแนะนำในสิ่งที่เราไม่เข้าใจเสมอเพราะพวกพี่มีทั้งความรู้และความเข้าใจในวิชาชีพและอยากจะให้เรานำไปใช้ได้จริงเพื่อนำไปช่วยเหลือคนอื่นให้ได้

2.ชอบตรงที่วิชาชีพเราไม่ได้มีการบังคับหรือสั่งให้คนไข้ทำ แต่จะมองที่คนไข้เป็นศูนย์กลาง ซึ่งใช้ทั้งศาสตร์และศิลป์แบบที่อาจารย์เคยบอก โดยเข้าไปถามคนไข้อย่างเป็นกันเองเพื่อสร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดี มีการถามถึงความเป็นอยู่เพื่อเป็นการเอาใจใส่ให้คนไข้ไว้ใจและไม่รู้สึกกดดันจนเกินไป และเพื่อนำข้อมูลที่ได้รู้มาไปเชื่อมโยงกับการประเมินและวางแผนในการทำกิจกรรมในการบำบัดรักษา

3.รู้สึกว่าวิชาชีพนี้ เป็นสิ่งที่แปลกใหม่และต้องเรียนรู้อยู่เสมอ ชอบตรงที่วิชาชีพนี้ เห็นถึงความต้องการและความรู้สึกคนไข้ มากกว่าการทำให้โรคหรืออาการลดลงแต่เป็นเหมือนการบำบัดทั้งกายและใจให้คนไข้กลับมาช่วยเหลือและพึ่งพาตัวเอง 

4.ได้เห็นว่าวิชาชีพของเรา เป็นวิชาชีพที่สำคัญและน่าภาคภูมิใจ  ถึงแม้วิชาชีพเราจะไม่ค่อยมีใครรู้จัก แต่เราก็สามารถฝึกให้คนไข้สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ เมื่อเราช่วยแนะแนวทางที่ถูกต้องและเหมาะสม ทำให้ได้เห็นถึง
รอยยิ้ม และได้เห็นว่าคนไข้รู้ถึงคุณค่าและภาคภูมิใจในสิ่งที่ทำได้ด้วยตัวเอง  

 5.ในวิชาชีพของเราไม่ใช่มีเพียงความรู้และการคิดเป็นอย่างเดียว แต่ให้เราต้องตระหนักถึงในสิ่งที่เรากำลังทำว่า
มีประโยชน์และส่งผลไปในทางด้านใดให้กับคนไข้ ทำให้เราได้รู้จักมองผู้อื่นอย่างเหมือนที่เรามองตัวเอง ไม่ใช่มองคนไข้แค่นั้นแล้วจบ แต่ต้องมองว่า ทำอะไรได้ แล้วทำอะไรไม่ได้บ้าง แล้วจะหากิจกรรมอะไรให้คนไข้ร่วมทำแล้วพัฒนาให้ดีขึ้นได้อย่างไรและจะส่งผลไปในทางใด ต้องรู้จักการวางแผนและรู้จักปรับเปลี่ยนหรือแก้ไขสถานการณ์ให้เหมาะสม

สิ่งที่ได้เรียนรู้

1.ได้เห็นถึงความสำคัญในวิชาชีพOT ในการมองคนไข้แบบองค์รวม ไม่ใช่การแยกส่วน เราจะต้องเห็นถึงความสามารถและความต้องการของคนไข้เป็นหลัก แล้วจึงมองส่วนประกอบที่สำคัญต่อการดำรงชีวิตของคนไข้ว่า เป็นไปตามที่ตั้งเป้าหมายไว้ โดยการมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีพร้อมที่จะเข้าสังคมและเป็นคนที่มีสุขภาพกายและใจที่ดี

2.ได้เห็นถึงระบบการทำงานและการวางแผนในการบำบัดรักษาคนไข้ ทั้งที่โรงพยาบาล สถาบันการบำบัดฟื้นฟู 
แม้จะมีความแตกต่างกัน โดยมุ่งเน้นไปในทางเดียวกันคือ การฝึกให้คนไข้สามารถช่วยเหลือตัวเองให้ได้มากที่สุด ยกตัวอย่าง OTจะถามถึงความต้องการของคนไข้ว่า สนใจอยากทำอะไร เมื่อคนไข้มีความสามารถพอที่จะทำกิจกรรมได้แล้ว โดยจะเริ่มให้ฝึกทำจากสิ่งที่ง่ายไปหายากหรือซับซ้อนมากขึ้น อาจให้หยิบสิ่งของที่มีน้ำหนักเบาและยืดหยุ่นให้จับง่ายแล้วค่อยปรับเป็นสิ่งของน้ำหนักมากขึ้นและอาจมีรูปทรงที่จับยากขึ้น

3.ได้รับประสบการณ์ที่ดีในการนำสิ่งที่ได้สังเกตและสัมภาษณ์ นำมาวิเคราะห์ถึงเหตุและผลในสิ่งที่ให้การบำบัดรักษา ยกตัวอย่าง คนไข้บกพร่องในด้านการรู้คิด OTจะมีบทบาทและแนะแนวทางที่เหมาะสมโดยให้คนไข้ได้รู้จักการคิดแบบจัดลำดับและเป็นขั้นตอน  เช่น OT ถามคนไข้ว่า รู้วิธีการล้างจานไหม แล้วให้อธิบายหรือลงมือทำให้ดูเลยว่า ต้องทำอะไรก่อนแล้วทำอะไรต่อ เป็นต้น อาจเป็นเกมหรือกิจกรรมอะไรก็ได้ที่มีเงื่อนไขให้คนไข้ได้ฝึกการปรับความคิดให้มีเงื่อนไขหรือมีจุดหมาย เพื่อให้คนไข้สามารถกลับนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

                                                                                                                นางสาวทิพาพร  ปัทมะเสวี  เลขที่ 8  

                                                                                                                             PTOT 5923008

หมายเลขบันทึก: 645150เขียนเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2018 01:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2018 22:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท