ประกาศ กพท. เรื่อง มาตรฐานคู่มือดำเนินการเครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศ ประเภทเครื่องช่วยการเดินอากาศด้วยทัศนวิสัย พ.ศ. ๒๕๖๐



ประกาศสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย เรื่อง มาตรฐานคู่มือดำเนินการเครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศ ประเภทเครื่องช่วยการเดินอากาศด้วยทัศนวิสัย พ.ศ. ๒๕๖๐

ประเภท : ประกาศสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย

ชื่อเรื่อง Wมาตรฐานคู่มือดำเนินการเครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศ ประเภทเครื่องช่วยการเดินอากาศด้วยทัศนวิสัย พ.ศ. 2560

ฐานอำนาจมาตรา 37 (1) (ฑ) แห่งพระราชกำหนดการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย

ประกาศสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย

เรื่อง มาตรฐานคู่มือดำเนินการเครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศ

ประเภทเครื่องช่วยการเดินอากาศด้วยทัศนวิสัย พ.ศ. 2560

โดยที่ข้อ 2 (5) ของประกาศกรมการขนส่งทางอากาศ เรื่อง วิธีปฏิบัติในการยื่นคำขอใบอนุญาตจัดตั้งเครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศ พ.ศ. 2548 กำหนดว่าเมื่อการก่อสร้างหรือติดตั้งเครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศดำเนินการแล้วเสร็จ ให้ผู้ขอใบอนุญาตจัดตั้งเครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศแจ้งเป็นหนังสือต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ พร้อมด้วยคู่มือดำเนินการเครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศเพื่อทำการตรวจสอบ ดังนั้นเพื่อให้เกิดความชัดเจนและมีมาตรฐานในทางปฏิบัติส าหรับการจัดทำคู่มือและการตรวจสอบคู่มือของผู้ขอใบอนุญาตจัดตั้ง

เครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๓๗ (๑) (ฑ) ผู้อำนวยการสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทยจึงออกประกาศกำหนดมาตรฐานคู่มือดำเนินการเครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศ ประเภทเครื่องช่วยการเดินอากาศด้วยทัศนวิสัยไว้ ดังต่อไปนี้

ข้อ 1 ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย เรื่อง มาตรฐานคู่มือดำเนินการเครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศ ประเภทเครื่องช่วยการเดินอากาศด้วยทัศนวิสัย พ.ศ. 2560”

ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศเป็นต้นไป

ข้อ 3 ในประกาศนี้

“คู่มือดำเนินการเครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศ” หมายความว่า คู่มือที่จัดทำขึ้นเพื่อใช้เป็นแนวทางในการ

ดำเนินงานด้านเครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศ ประเภทเครื่องช่วยการเดินอากาศด้วยทัศนวิสัยสำหรับสนามบิน

“เครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศ” หมายความว่า เครื่องช่วยการเดินอากาศด้วยทัศนวิสัยที่ใช้ในการส่งข้อมูลข่าวสาร หรือการนำทางโดยแสงจากภาคพื้นดินไปยังนักบิน แบ่งออกเป็นอุปกรณ์

ชี้บอกและให้สัญญาณ (Indicators and Signaling device) การทำเครื่องหมาย (Markings) ระบบไฟฟ้าสนามบิน

(Lights) ป้ายสัญลักษณ์ (Signs) และเครื่องหมาย (Markers)

“ผู้อำนวยการ” หมายความว่า ผู้อำนวยการสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย

“สำนักงาน” หมายความว่า สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย

- 2 -

ข้อ 4 คู่มือดำเนินการเครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศ จะต้องประกอบด้วยข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสถานที่ตั้งของเครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศ ณ สนามบินที่เปิดให้บริการสาธารณะหรือสนามบินส่วนบุคคล รวมถึงบริการ บริภัณฑ์ วิธีดำเนินการและการบำรุงรักษา โดยข้อมูลดังกล่าวต้องแสดงให้เห็นว่าการดำเนินการทั้งหมดเป็นไปตามมาตรฐานและถูกต้องครบถ้วนตามวิธีปฏิบัติส าหรับการออกใบอนุญาตจัดตั้งเครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศ

ข้อ 5 คู่มือดำเนินการเครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศต้องจัดทำตามแบบ ดังต่อไปนี้

(1) จัดทำเป็นลายลักษณ์อักษรด้วยการพิมพ์

(2) มีรูปแบบที่สามารถแก้ไขปรับปรุงข้อมูลเป็นปัจจุบันได้อย่างสะดวก

(3) มีระบบการบันทึกเลขหน้าซึ่งเป็นปัจจุบันและการแก้ไขเพิ่มเติมเลขหน้าดังกล่าวพร้อมทั้งระบุวันที่จัดทำหรือแก้ไขปรับปรุงข้อมูลในส่วนนั้น

(๔) มีหน้าซึ่งแสดงประวัติการแก้ไขปรับปรุงคู่มือดำเนินการเครื่องอำนวยความสะดวก และมีการลงนามอนุมัติใช้งานของผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งเครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศ

(4) มีการจัดหมวดหมู่ที่เป็นระเบียบและสะดวกสำหรับการจัดเตรียม การตรวจสอบทบทวนและการพิจารณาให้ความเห็นชอบ

(๕) ลงนามโดยผู้ขอรับใบอนุญาตจัดตั้งเครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศ เพื่อรับรองว่า ในการจัดทำคู่มือ

ดำเนินการเครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศนี้มีความถูกต้องครบถ้วนสอดคล้องกับมาตรฐานที่กำหนดไว้ในประกาศนี้

ข้อ 6 คู่มือดำเนินการเครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศต้องมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้

(1) ส่วนที่หนึ่ง ข้อมูลทั่วไป ประกอบด้วย

(ก) วัตถุประสงค์และขอบเขตของคู่มือดำเนินการเครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศ

(ข) ข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดตั้งเครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. 2497 ตลอดจนกฎ ข้อบังคับ ข้อกำหนด ระเบียบ และประกาศที่เกี่ยวข้อง

(ค) รายละเอียดของใบอนุญาตจัดตั้งสนามบินของสนามบินซึ่งเป็นที่ตั้งของเครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศ และใบอนุญาตจัดตั้งเครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศประเภทอื่น ๆ ณ สนามบินนั้น

(ค) นโยบายด้านความปลอดภัย

(ง) หน้าที่และความรับผิดชอบของเจ้าของหรือผู้ดำเนินงานเครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศ

(2) ส่วนที่สอง ข้อมูลเครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศ ประกอบด้วย

(ก) แผนผังแสดงที่ตั้งเครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศ

(ข) หลักฐานการแสดงกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครอง หรือสิทธิใช้ประโยชน์ในพื้นที่ที่ติดตั้งเครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศ

(ค) ภาพถ่ายเครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศ

(ง) ชื่อ ที่อยู่ และหมายเลขโทรศัพท์ที่สามารถติดต่อได้ตลอดเวลาของผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งเครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศ

- 3 -

(3) ส่วนที่สาม ข้อมูลการบริหารจัดการบุคลากรผู้รับผิดชอบที่เกี่ยวข้องในการติดตั้งดูแลบำรุงรักษาเครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศ ประกอบด้วย

(ก) โครงสร้างการบริหารจัดการด้านบุคลากร

(ข) บทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบของบุคลากรผู้เกี่ยวข้องในแต่ละงาน ดังนี้

1) งานบริหารงานวิศวกรรม

2) งานบริหารการซ่อมบำรุง

3) งานพัสดุวิศวกรรม

4) งานพัฒนาและควบคุมงานวิศวกรรม

(ค) ภาระหน้าที่ของบุคลากรแต่ละตำแหน่ง เช่น ผู้จัดการ วิศวกร นายช่างเทคนิค

(ง) ระบบจัดเก็บประวัติของบุคลากร

(จ) แผนการฝึกอบรมบุคลากร

(4) ส่วนที่สี่ ข้อมูลการตรวจพินิจ (Visual Inspection)และการบำรุงรักษา (Maintenance)ระบบเครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศ ประกอบด้วย

(ก) การดำเนินการตรวจพินิจในระหว่างเวลาทำการและนอกเวลาทำการ

(ข) การจัดทำรายงานผลการตรวจพินิจและการดำเนินการติดตามผลเพื่อแก้ไขข้อบกพร่องที่ตรวจพบ

(ค) การบำรุงรักษาประจำและการบำรุงรักษากรณีฉุกเฉิน

(ง) การตรวจพินิจเครื่องกำเนิดไฟฟ้าสำรองและรายละเอียดของวิธีการอื่นๆ ที่ใช้จัดการกับกรณีที่ระบบไฟฟ้าขัดข้องบางส่วนหรือทั้งหมด

(จ) การรายงานผลปฏิบัติการซ่อมบำรุงรักษา

(5) ส่วนที่ห้า ข้อมูลมาตรการด้านความปลอดภัยและวิธีดำเนินการจัดการ ประกอบด้วย

(ก) ระบบจัดการความปลอดภัยและวิธีดำเนินงาน กรณีมีการก่อสร้างและซ่อมแซมบำรุงรักษาเครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศ

1) การวิเคราะห์และประเมินความปลอดภัย

2) การบริหารความเสี่ยงด้านความปลอดภัย

3) การรายงานเหตุ

(ข) การจัดให้มีอะไหล่สำรองสำหรับเครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศประเภทเครื่องช่วยการเดินอากาศด้วยทัศนวิสัย

(ค) การจัดการด้านระบบไฟฟ้าสำรองของสนามบิน

(6) ส่วนที่หก ข้อมูลมาตรฐานการปฏิบัติงาน (Standard Operating Procedure; SOP)ที่เกี่ยวกับขั้นตอนการปฏิบัติงานของเครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศ ซึ่งผู้ขอหรือผู้ได้รับใบอนุญาตให้จัดตั้งเครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศสามารถกำหนดรูปแบบเอกสาร หัวข้อและวิธีการปฏิบัติงานได้ตามความจำเป็นเหมาะสม

(7) ส่วนที่เจ็ด เอกสารแสดงรายการตรวจสอบเครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศ (Checklist) ซึ่งทำการตรวจพินิจโดยผู้ได้รับใบอนุญาตให้จัดตั้งเครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศ ตามประเภทของเครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศให้เป็นไปตามมาตรฐานที่สำนักงานกำหนด ได้แก่

 - 4 -

(ก) ไฟบอกตำแหน่งสนามบิน (Aeronautical Beacons) ต้องมีรายละเอียดการตรวจสอบเกี่ยวกับความถูกต้องของสี อัตราการกระพริบของไฟและระดับความเข้มของแสง

(ข) ไฟฉายสัญญาณ (Signaling Lamps) ต้องมีรายละเอียดการตรวจสอบเกี่ยวกับความถูกต้องของสีและระดับความเข้มของแสง

(ค) เครื่องบอกทิศทางลม (Wind Direction Indicators) ต้องมีรายละเอียดการตรวจสอบเกี่ยวกับโครงสร้างที่ติดตั้ง สภาพเครื่องบอกทิศทางลม โคมไฟส่องสว่าง และขนาดของแถบวงกลม (Circular Band)

(ง) การทำเครื่องหมาย (Markings) ต้องมีรายละเอียดการตรวจสอบเกี่ยวกับตำแหน่งที่ติดตั้ง ความชัดเจนในเวลากลางวันและกลางคืน ความถูกต้องของสี ตลอดจนรูปแบบและขนาดของเครื่องหมายดังกล่าว

(จ) ระบบไฟฟ้าสนามบิน (Airfield Lightings) ต้องมีรายละเอียดการตรวจสอบเกี่ยวกับ ระยะห่างระหว่างดวงไฟ ความถูกต้องของสี ความเข้มของแสงที่สามารถปรับเปลี่ยนได้อัตราการกระพริบของไฟ การตั้งค่ามุมของดวงไฟ คุณสมบัติในการแตกหักง่ายเมื่อถูกชนหรือกระแทก พร้อมทั้งแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับผลการบินทดสอบของระบบไฟนำร่อน (Precision Approach Path Indicator: PAPI)

(ฉ) ป้ายสัญลักษณ์ (Signs) ต้องมีรายละเอียดการตรวจสอบเกี่ยวกับรูปแบบสัญลักษณ์ ขนาดป้ายสัญลักษณ์ ตำแหน่งที่ติดตั้งซึ่งสามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน ขนาดตัวเลขและตัวอักษร รวมทั้งคุณสมบัติในการแตกหักง่ายเมื่อถูกชนหรือกระแทก

(ช) ระบบไฟฟ้าสำรอง ต้องมีรายละเอียดการตรวจสอบเกี่ยวกับค่าระยะเวลาการกลับมาใช้ งานได้อีกครั้งของอุปกรณ์ต่าง ๆ กรณีไฟฟ้าหลักของสนามบินดับ (Switch-over time) และการตรวจติดตาม เพื่อให้สามารถระบุ สถานะการทำงานของระบบไฟฟ้าสำรอง

(ซ) ไฟแสดงสิ่งกีดขวาง ต้องมีรายละเอียดการตรวจสอบเกี่ยวกับตำแหน่งที่ตั้งและคุณสมบัติของดวงไฟ

(ฌ) ไฟส่องลานจอดอากาศยาน (Apron Floodlighting) ต้องมีรายละเอียดการตรวจสอบเกี่ยวกับตำแหน่งที่ติดตั้งและคุณสมบัติของดวงไฟ

(ญ) ระบบไฟสัญญาณ น าอากาศยานเข้าหลุมจอดด้วยทัศนวิสัย (Visual Docking Guidance System - VDGS) ต้องมีรายละเอียดการตรวจสอบเกี่ยวกับระบบการท างาน สมรรถนะในการแสดงผลได้ อย่างชัดเจนในทุกสภาพอากาศ ตลอดจนความถูกต้องในการแสดงผล ทั้งแบบการท างานอัตโนมัติและแบบควบคุมด้วยคน (manual)

(ด) เครื่องหมายจุดตรวจสัญญาณ VOR (VOR Aerodrome Checkpoint Markings)

ต้องมีรายละเอียดการตรวจสอบเกี่ยวกับตำแหน่งที่ติดตั้ง ความถูกต้องของสี ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของวงกลม

และรูปแบบและขนาดของเครื่องหมาย

(ต) ป้ายสัญลักษณ์จุดตรวจสัญญาณ VOR (VOR Aerodrome Checkpoint Sign) ต้องมี

รายละเอียดการตรวจสอบเกี่ยวกับตำแหน่งที่ติดตั้ง ขนาดตัวอักษร ความถี่ มุม ระยะทาง และคุณสมบัติในการ

แตกหักง่ายเมื่อถูกชนหรือกระแทก

(๘) ส่วนที่แปด เฉพาะสนามบินที่มีการติดตั้งระบบนำทางและควบคุมการเคลื่อนที่ของ อากาศยานและยานพาหนะภาคพื้น (Surface Movement Guidance and Control System - SMGCS)จะต้องมีข้อมูลเพิ่มเติม ดังต่อไปนี้

(ก) วัตถุประสงค์ของระบบ องค์ประกอบของระบบ ระบบ SMGCS สำหรับเครื่องช่วยการเดินอากาศด้วยทัศนวิสัย (Visual Aids) เรดาร์สำหรับตรวจจับการเคลื่อนไหว ซี่งสอดคล้องกับมาตรฐานและข้อแนะนำที่กำหนดไว้ในภาคผนวก 14 และบทแก้ไขเพิ่มเติมภาคผนวก 14 แห่งอนุสัญญาว่าด้วยการบินพลเรือนระหว่างประเทศ

(ข) แผนการดำเนินงาน SMGCS (ค) วิธีปฏิบัติเมื่อทัศนวิสัยต่ า (Low Visibility Conditions) (ง) การตรวจพินิจและการบำรุงรักษาตาม (4)

(จ) มาตรฐานการปฏิบัติงานตาม (6) และ

(ฉ) เอกสารแสดงรายการตรวจสอบ (Checklist) ตาม (7)

(9) ส่วนที่เก้า ภาคผนวก ประกอบด้วย เอกสารทางเทคนิค เช่น แค็ตตาล็อกแสดงคุณสมบัติโคมไฟ ค่าความสว่าง (Illuminance) แผนภาพ Isocandella Diagram ของโคมไฟสนามบิน แค็ตตาล็อกระบบ SMGCS และเอกสารซึ่งแสดงให้เห็นถึงคุณสมบัติหรือคุณลักษณะทางเทคนิคเฉพาะของเครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศที่ได้มีการติดตั้งใช้งานภายในสนามบิน

ข้อ ๗ ในการระบุวิธีดำเนินการตามข้อ ๖ (๔) (๕) (๖) (๗) และ (๘) ต้องมีรายละเอียดของข้อมูลที่ถูกต้องครบถ้วน ซึ่งแสดงให้เห็นว่า

(1) เมื่อไรหรือสถานการณ์ใดที่ต้องปฏิบัติตามวิธีการด าเนินการดังกล่าว

(2) วิธีดำเนินการมีขั้นตอนปฏิบัติอย่างไร

(3) มีกิจกรรมใดบ้างที่ต้องปฏิบัติตาม

(4) บุคคลที่ต้องปฏิบัติและรับผิดชอบในแต่ละขั้นตอน

(5) อุปกรณ์ที่จำเป็นต่อการดำเนินการ และการเข้าถึงอุปกรณ์นั้น

ถ้าวิธีดำเนินการใดที่ไม่เกี่ยวข้อง หรือไม่อาจระบุตามที่กำหนดไว้ในวรรคหนึ่งได้ ต้องแสดงเหตุผล ที่ไม่อาจระบุวิธีดำเนินการดังกล่าวไว้ด้วย

ข้อ ๘ เมื่อผู้อำนวยการได้รับคู่มือดำเนินการเครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศของ

ผู้ขอรับใบอนุญาตจัดตั้งเครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศ ให้ตรวจสอบความถูกต้องครบถ้วนของคู่มือ

ดังกล่าว หากผู้อำนวยการเห็นว่าคู่มือนั้นมีข้อมูลรายละเอียดถูกต้องครบถ้วนตามมาตรฐานกำหนดไว้ในประกาศนี้

ให้ผู้อำนวยการให้ความเห็นชอบพร้อมลงนามและประทับตราสำนักงานในคู่มือดำเนินการเครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศในกรณีผู้อำนวยการเห็นว่าคู่มือที่ยื่นมาตามวรรคหนึ่งนั้น มีข้อมูลรายละเอียดไม่เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ในประกาศนี้ให้แจ้งผู้ขอรับใบอนุญาตจัดตั้งเครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศแก้ไข คู่มือดังกล่าวและยื่นให้ผู้อำนวยการพิจารณาให้ความเห็นชอบภายในระยะเวลาที่ผู้อำนวยการกำหนด

ข้อ ๙ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งเครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศตรวจสอบคู่มือดำเนินการเครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศให้ถูกต้องครบถ้วนสอดคล้องกับมาตรฐานที่กำหนดไว้ในประกาศนี้ และเป็นปัจจุบันอยู่เสมอ

ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งเครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศที่ประสงค์จะแก้ไขปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงข้อมูลรายละเอียดในคู่มือการดำเนินการเครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศ ให้แตกต่างไปจากที่ได้รับความเห็นชอบจากผู้อำนวยการตามข้อ ๘ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งเครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศนำร่างคู่มือการดำเนินการจัดตั้งเครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศส่วนที่มีการแก้ไขปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงดังกล่าวยื่นให้ผู้อำนวยการตรวจสอบ เมื่อผู้อำนวยการตรวจสอบแล้วเห็นว่า การแก้ไขปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเป็นไปตาม มาตรฐานที่กำหนดไว้ในประกาศนี้ ให้ผู้อำนวยการให้ความเห็นชอบคู่มือการดำเนินการจัดตั้งเครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศที่ได้มีการแก้ไขปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงดังกล่าว พร้อมสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งเครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศระบุวันที่แก้ไขปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงและบันทึกประวัติการแก้ไขปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงคู่มือดำเนินการเครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศตามข้อ 5 (3) เพื่อใช้เป็นหลักฐานอ้างอิงต่อไป

ข้อ 10 ผู้อำนวยการมีอำนาจสั่งการเป็นหนังสือให้ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งเครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศแก้ไขปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงข้อมูลรายละเอียดดังกล่าวในคู่มือดำเนินการเครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศให้ถูกต้องและเป็นปัจจุบันได้ โดยให้นำความในข้อ ๙ วรรคสอง และวรรคสามมาใช้บังคับโดยอนุโลม

ข้อ 11 ให้สำนักงานพักการดำเนินการตามคำขอจัดตั้งเครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศที่ได้ยื่นต่อสำนักงานก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับไว้จนกว่าผู้ขอใบอนุญาตจัดตั้งเครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศนั้นจะยื่นคู่มือดำเนินการเครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศที่ได้แก้ไขปรับปรุงให้เป็นไปตามข้อ 6 ของประกาศนี้แล้ว

ข้อ 12 ให้ผู้ที่ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งเครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศแล้วก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับดำเนินการปรับปรุงคู่มือดำเนินการเครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ในประกาศนี้ และยื่นให้ผู้อำนวยการให้ความเห็นชอบภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ

หากผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งเครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศไม่ยื่นคู่มือดำเนินการเครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศให้ผู้อำนวยการให้ความเห็นชอบภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ตามวรรคหนึ่ง ผู้อำนวยการมีอำนาจสั่งห้ามผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งเครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศ ให้บริการเครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศนั้นจนกว่าจะได้ยื่นคู่มือดำเนินการเครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศและคู่มือนั้นได้รับความเห็นชอบจากผู้อำนวยการแล้ว

นายจุฬา สุขมานพ

(นายจุฬา สุขมานพ)

ผู้อำนวยการส านักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย



หมายเลขบันทึก: 644346เขียนเมื่อ 31 มกราคม 2018 21:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 มกราคม 2018 21:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท