สัมโพชฌงค์ ๗ (การประคองจิต-การข่มจิต และการคุมจิต โดยสมัย)


          คำว่าสัมโพชฌงค์ แปลว่ องค์แห่งการตรัสรู้หรือการรู้พร้อม ซึ่งหมายถึงการที่ปัญญาดำเนินไปถึงที่สุดนันเอง ที่เรียกว่า องค์แห่งการตรัสรู้ก็เพราะว่าการตรัสรู้ต้องประกอบด้วยองค์ทั้ง ๗ นี้จริงๆ องค์ทั้ง ๗ นี้ คือ สติ, ธัมมวิจยะ (การเลื่อกเฟ้นหรือสอดส่องธรรม), วิริยะ, ปิติ, ปัสสัทธิ(ความรำงับแห่งจิต), สมาธิและอุเบกขา

            ในโพชฌงค์ ๗ อย่างนั้น เมื่อกันสติออก เหลือเพียง ๖ อย่าง ก็จะแบ่งได้เป็น ๒ พวก พวกละ ๓ อย่าง สามอย่างแรก คือ ธัมมวิจยะ วิริยะ และปีติ เป็นพวกที่มีคุณสมบัติประคองจิตให้สูงขึ้น หรือพ่ิมกำลังให้แก่จิต สวนสามอย่างหลัง คือ ปัสสัทธิ สมาธิ และอุเบกขา นั้น เป็นพวกที่มีคุรสมบัติข่มจิตที่ฟุ้งซ่าน หรือลดกำลังของจิตที่มีมากจนล้น 

            - การคุมจิตโดยสมัย คือ การคุมความเป็นอย่างนั้นไว้เรื่อยไป จนกว่าจะถึงวัตถุที่ประสงค์ ในที่นี้จะกล่าวถึงการดำเนินเข้าสู่สมถะหรือความเป็นอัปปนาอันแท้จริง ข้อนี้ดดยใจความ ก็เพียวแต่ควบคุมความรู้สึกที่ต้องประสงค์นั้นอยุ่เฉยๆ คืเมื่อได้ปรับปรงุขยับขยายการกำหนดหรือความรุ้สึกสิ่งต่างๆ โดยแยบคาย จนถึงที่สุดแห่งการปฏิบัติส่วนนั้นแล้วก็หน่วงเอาความเป็นอย่างนั้นไว้อย่างสม่ำเสมอใหตลอดเวลา ความยากของการคุมย่อมอยุ่ตรงที่จะต้องไม่ทำอะไรใหม่ๆ ให้เกิดขึ้นมาเป็นส่งิแทรกแซงอัใหม่ หรือเกิดเป็นปัญหาอันใหม่ขึ้นมาอีก สิ่งที่ประสงค์อย่างยิ่งในอุบายี้จึงได้แก่สติสัมปชัญญะทีมีอย่างพอเพียงนั่นเอง จึงควรหล่าวว่า สติสัมโพชฌงค์เป็นส่ิงที่จำปรารภนามากเป็นพิเศษในกรณีแห่งการคุมจิตนี้

            - การประคองจิตโดยสมัย  เมื่อสังเกตุเห็นว่าจิตตกต่ำ คือมีอาการถอยกำลัง หรือกำลังน้อยไม่อพเพี่อการเพ่งต่ออัปปนามสามธิก็ตาม จะต้องทากรเพิ่มกำลังให้แก่จิต ซึงเรยกว่าการประคองจิตในท่นี้ การปฏิบัติในการประคองจิตนี้ผุ้ปฏิบัติจะต้องศึกษาถึงกสิงที่เรียกกันว่าสัมโพชฌงค์ จะเป็นการง่ายแก่การเข้าใจและการปฏิบัติ สามอย่างแรก คือ ธัมมวิจยะ วิริย และปีติ เป้ฯพวกที่มีคุณสมบัติประคองจิตให้สูงขึ้น หรือเพ่ิมกำลังให้แก่จิต

          ก. ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ การเลือกเฟ้นธรรมอย่างดีที่สุด เปรียบเสมือนกับคนฉลาดสมารถเลือกเก็บดอกไม้ในสวนที่หล้างใหฐไพศาล และมีมากจนลานตา คำว่า "เลือกเฟ้น" ย่อมมีควมหมายถึง "สอดส่อง" ถ้าไม่สอดส่องให้ทั่วถึงแล้วก้ไม่รู้จะเลือกได้อย่างไร 

          เมื่อกล่าวโดยวิะีปฏิบัติ ได้แก่ การแยกแยะออกดูอย่างบะเอียย แล้วกันเอามาเฉพาะส่วนที่จำเป็นจะต้องใช้ ให้ถุกตรงตามเรื่องตามราวของมันดดยเฉพาะ ในกรณีที่จิตหดหู่ ย่อมจะมีมูลเหตุหลายอยาง หลายทาง จำเป็นที่จะต้องสอดส่องให้พบมูลเหตุที่แท้จริง ท่านได้แนะทางมาแห่งธัมมวิจยะ ดังนี้

         การสอบถา จากกัลยบาณมิตร, ทำสิ่งแวดล้มให้เหมาะสม ปรับปรุงอินทรีย์ทั้งห้า, อย่าข้องแวะกับคนโง่, คบค้าแต่คนฉลาด, พิจารณาธรรมนั้นๆ อยุ่โดยอุบายที่แยบคายที่สุด, ในกรณีที่ต้องทำเป็นระยะยา ก็คือ การเพาะนิสัย 

         ข. วิริยสัมโพชฌงค์ คำว่า วิริยะ เเปลว่า ความพากเพียร  แต่รวมอยู่ด้วยลักษณะแห่งความเข้มแข็งและกล้าหาญ ในที่นี้ หมายถึงสมรรถภาพของจิตที่เป้นความเข้มแข็งกล้าหาญ รุดหน้าอย่างมั่นคง ไม่ถดถอย เป็นสิ่งที่ตรงกันข้ามกับความหดหู่ โดยใจความก็คื อการปลุกกำลังใจด้วยการพิจารราที่เหมาะสม หรือที่เป้นอุบายอันแยบคาย ท่านแนะนำไว้ดังนี้

          - พิจารณาให้เห็นโทษ ของการที่เราไม่มีสิ่งนี้ แล้วต้องตกจมอยู่ในกองทุกข์ หรือต้องเวียนว่ายอยุ่ในกองทุกข์อย่างซ้ำซาก ไม่มีสิ้นสุด มองเห็นภัยในวัฎฎสงสาร

          - พิจารณาให้เห็นอานิสงส ของการที่เรามีส่ิงนี้อย่างแจ่มชัด ว่าเปมื่อมีแล้ว จักพ้นไปจากความทุก กระทั่งมีกำลังใจขึ้นมา

          - พิจารณาเห็นทาง ว่าทางที่พระองค์แสดงไว้นี้ หรือทางที่เรากำลังปฏิบัติอยู่นี้ เป้นทางที่ถูกต้องที่สุดแล้ว 

         - พิจารณษถึงหนี้ หมายความว่า ผู้ปฏิบัติธรรมนั้น ไม่มีทางที่จะไปประกอบอาชีพใดๆ ด้วยตัวเอง ต้องอาศัยปัจจัยสี่จากลุคคลอื่นเป็นอยู่ กำลังเป็นหนี้เขา จะหลุ่มจากหนี้ ต่อเมื่อประสบความสำเร็จในการปฏิบัติ เมื่อพิจารณาอยู่ดังนี จะเกิดความขะมักเข้มในการปกิบัติขึ้นมาทันที

         - พิจารณาในฐานะผุ้รับมรดก หรือเป็นธรรมทายาท ว่าตัวได้มีโชคมีเกี่ยติ ในฐานะเป็นธรรมทายาทองพระศาสนาผู้เลิศ

          - อาโลกสัญญา การทำความสำคัญในแสงสว่าง หรือทำความสำคัญว่ามีแสงสว่าง ได้แก่การทำใจใหเปิดโล่งแจ่มแจ้งราวกะว่า มีแสงสว่างแรงกล้าปรากฎชัดอยู่

          - ไม่ข้อแวะกับคนเกี่ยจคร้าน หรือนิมิตแห่งความเกียจคร้าน

          - คบแค่คนขยัน หรือสัญลักษณ์แหงความขยัน

          - พิจารณาถึงคุณแห่งธรรมะข้อนี้เป็นประจำ  โดยปริยายต่างๆ กันทุกแง่ทุกมุม

          - ในกรณีที่ต้องทำเป็นระยะยาว ก็คือกรเพาะนิสัย ของตัวเองให้เกิดความเลื่อมใสและเคยขินต่อคุณธรรมข้อนี้อยู่ตลอดเวลา

          เมื่อทำอยู่ดังนี้ ส่ิงที่เรียกว่าวิริยสัมโพชฌงค์ ก็เกินขึ้นและตั้งอยู่อย่างมั่นคงกำจัดความหดหู่ แกงจิตเสีย

         ค. ปิตีสัมโพชฌงค์ หมายถึงความอิ่มใจ คือยินดีที่มจากระทำของตัวเอง หรือความเคารพตัวเอง วากำลังทำหรือกำลังได้สิ่งที่ควรจะได้ เป็นกำลังใจอีกปริยายหนึ่ง ที่ตรงกันขามับความหดหู่ อุบายให้เกิดปีตินั้น ท่านิยมปฏิบัตและแนะนำกันดังนี้

          - การเจริยพุทธานุสติ, การเจริญธัมมานุสติ, การเจริญสังฆานุสติ, ทั้ง ๓ อย่างนี เมื่อทำลงไปจริง ๆ แล้ว ย่อมเกิดปีติ ในคุณของพระรัตนตรัย และมีกำลงแห่งปีติ ย้อนมาสนับสนุน

          - สีลนุสสติ การพิจารณาถึงศีลของตน โดยเฉาพะว่าตนเป็นคนมีศีลบริสุทธิ์ ย่อมเกิดกำลังเป็นอย่างยิ่ง

         - จาคานุสสติ ระลึกถึงการบริจาคโดยเฉาพะอย่างยิ่งที่ตนเคยบริจาคจริงๆ แล้วก็เกิดความภาคภูมิใจและปีติในตัวเอง 

         - เทวตานุสสติ ระลึกถึงธรรมะที่ทำความเป็นเทวดา โดยเฉาพะอย่างยิ่ง หิริ และโอตตัปปะ ที่ทำบุคคลให้งานหรือเป็นสุข ราวกะเทวดา หรือยิ่งไปกว่าเทวดา

         - อุปมานุสสติ ระลึกในคุณของความสงบ หรือธรรมเป็นเครื่องทำความสงบ หรือะรรมเป็นเครื่องทำความสงบ ตลอดถึงคุณค่าของความสงบอันสูงสุดที่เป็นขั้นนิพพาน 

       - ในกรณีที่ต้องทำเป็นระยะยา ต้องขยันใการ เพาะนิสัย ของตนให้มีความเคยชินในคุณธรรมข้อนี้ คือ ความเป็นคนแจ่มใส อาจหาญ ร่าเริง มีกำลังใจ

        รวมความว่าธัมมวิจัยสัมโพชเงค์ ประคองจิตด้วยการทำให้เห็นลู่ทางเหรือความหวัง วิริยสัมโพชฌงค์ ประคองจิตให้มีกำลังด้วยการเินไปตามลู่ทางนั้น และ ปีติสัมโพชฌงค์ ประคองจิตด้วยการเพิ่มกำลังให้แก่ วิริยสัมโพชฌงค์ อย่างไม่มีระยะว่างเว้น ด้วยการสัมพันธ์กันในลักษณเช่นนี้ การประคองจิตโดยสมัยก็เป็นไปโดยสะดวก และสมบูรณ์พอที่จะทำใหเกิดความแน่วแน่ในขช้นอัปปนาสืบไป..

       - อานาปานสติภาวนา พุทธทาสภิกขุ

             

คำสำคัญ (Tags): #โพชฌงค์ ๗
หมายเลขบันทึก: 644052เขียนเมื่อ 19 มกราคม 2018 23:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มกราคม 2018 23:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท