องค์แห่งฌาน ๓


          องค์ฌาน กำจัดนิวรณ์ได้อย่างไร

          ในการที่จะเข้าใจว่าองค์ฌานองค์หนึ่งๆ จะสามารถกำจัดนิวรณ์แต่ละอย่างๆด้อย่างไรนัน จำเป็นจะต้องศึกษาให้ทราบว่า องค์ฌานองค์ไหนมีลักษณะตรงกันข้ามกับนิวรณ์ข้อไหน ข้อนี้อาจจะพิจารณาดูได้ด้วยเหตุผลธรรมดา คือ

          สิ่งที่เรียกว่า วิตก ได้แก่การกำหนดอารมณ์อันใดอันหนึ่งอยู่ ถ้าส่งินี้มีอยุ่ นิวรณ์ที่มีอาการตรงกันข้าม เช่น อุทธัจจะกุกกุจจะ ก็ย่อมมีขึ้นไม่ได้แม้ที่สุดแต่กามฉันทะ ก็ยังมีขึ้นไม่ได้ เพราะจิตกำลังติดอยู่กับอารมณ์ของสมาธิ

          สิ่งที่เรียกว่า วิจาร ก็เป็นอย่างเดียวกัน เมื่อวิจารมีอยู่ ก็หมายถึงมีการทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งอยู่ในตัวมันเอง ไม่ลังเลในการทำ สิ่งที่เรียกว่าวิจิกิจฉาย่อมระงับไปโดยตรง แม้ส่งิที่เรียกว่ากามฉันทะหรืออื่นๆ ก็ย่อมระงับไปโดยอ้อม

          สิ่งที่เรียกว่า  เอกัคคตา นั้น ย่อมเป็นที่ระงับของนิวรณ์ทั่วไป 

          ทั้งหมดนี้ เป็นเครื่องให้เห็ฯสืบไปอีกว่า องค์แห่งฌานแต่ละองค์ ๆ นอกจากจะเป็นข้อศึกต่อนิวรณ์อย่างหนึ่งๆ โดยเฉพาะแล้ว ยังเป็นข้าศึกต่อนิวรณ์โดยส่วนรวม ตามมากตามน้อย เพราะฉะนั้น ทั้งสองฝ่าย จึงมีอยู่พร้อมกันไม่ได้ เหมือนความมือกับแสงสว่าง มีอยู่พร้อมกันไม่ได้โดยธรรมชาติ ฉันใดก็ฉันนั้น

           องค์ฌาน กำจัดนิวรณ์เมื่อไร

           สำหรับทางพฤตินัยนั้น นิวรณ์เร่ิมระงับไป ตั้งแต่ขณะแห่งอุปจารสมาธิ คือตั้งแต่ฌานยังไม่ปรากฎ ครั้งถึงขณะแห่งฌานหรืออัปปมาสมาธิองค์แห่งฌานทั้ง ๕ จึงปรากฎขึ้นโดยสมบูรณ์ทั้ง ๕ องค์ นี้เป็ฯการแสดงอยู่ในจัวแล้วว่า องค์แห่งฌานองค์หนึ่งๆ หาจำต้องทำหน้าที่ปรบนิวรณ์ที่เป็นคู่ปรับอย่างหนึ่งๆ เป็นคู่ๆ ไปโดยเฉพาะไม่ หรือว่า องค์แห่งฌานต้องพร้อมกันทุกองค์ คือเป็นอัปปนาสมาธิเสียก่อน จึงอาจจะละนิวรณ์ได้ ก็หาไม่ ตามพฤตินัยที่เป็นจริงนั้น นิวรณ์ทั้งหลายเริ่มถอยหลัง ตั้งแต่ขณะแห่งกำหนดบริกรรมนิมิต และไม่ปรากฎให้เห็นตั้งแต่ในขณะอุคคหนิมิต เพราะถ้านิวรณ์มีอยุ่สิ่งที่เรียกว่าอุคคหนิมิตก็เกิดขึ้นไม่ได้ ครั้งตกมาถึงขณะแห่งปฏิภาคนิมิต นิวรณ์ก็กลายเป็นส่ิงที่หมดกำลัง ทั้งที่องค์แห่งฌานยังไม่ปรากฎอยา่งชัดแจ้งครบทั้ง ๕ องค์ และสมาธิก็ยังเป็นเพียงอุปจารสมาธิอยู่ ครั้นองค์แห่งฌานปรากฎชัดแจ้งมั่นคงท้ง ๕ องค์ คือเป็นปัปนาสมาธิหรือฌานแล้ว นิวรณ์ก็เป็นอันว่าขาดสูญไป ตลอดเวลาที่อำนาจของฌานยังคงมีอยุ่ หรือเหลืออยุ่แต่ร่องรอยกล่าวคือสุขอันเกิดจากฌาน ฉะนั้น สิ่งที่ควรกำหนดสำหรับากรศึกษาต่อไปก็คือความเป็นสมาธิ ๒ อย่าง....

          อานาปานสติ พุทธทาสภิกขุ

คำสำคัญ (Tags): #องค์แห่งนิมิต ๓
หมายเลขบันทึก: 643970เขียนเมื่อ 15 มกราคม 2018 18:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มกราคม 2018 18:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท