จิตถึงความเป็นเอก (เอกัตตะ)


            เมื่อกล่าวถึงความเป็นเอก พึงทราบด้วยว่า ท่านบัญญัติไว้เป็นขึ้นๆ ต่างกันคือ

            ๑) ความเป็นเอกในด้านการเสียสละ หรือการให้ทานของพวกที่พอใจในการให้ทาน

            ๒) ความเป็นเอกเพราะสมถนิมิตประากฎชัดแล้วของพวกที่มีสมาธิ

            ๓) ความเป็นเอกเพราะอนจจังทุกขังอนัตตา ปรากฎแล้ว ของพวกที่เจริญวิปัสสนา

            ๔) ความเป็นเอกเพราะความดับทุกข์ปรากฎแล้ว ของพระอริยบุคคลทั้งหลาย

             รวมเป็น ๔ อย่างด้วยกัน เมื่อเป็นดังนี้ เราจะเห็นได้ว่าความเป็นเอกที่เราประสงค์ในที่นี้ ได้แก่ความเป็นเอกในข้อที่ ๒ คือความเป็นเอกเพราะสมาธินิมิตเป็นไปสำเร็จ หรือปรากฎชัดในการเจริญสมาธินั่นเองท่านได้กำหนดองค์แห่งความเป็นเอกของสมาธิในกรณีนี้ไว้ว่า 

            - จิตผ่องใน เพราะความหมดจดแห่งข้อปฏิบัติ

            - จิตเจริญงอกงาม ด้วยอุเบกขา

            - จิตอาจหาญร่าเริง ด้วยญาณ

            ทั้ง ๓ ประการนี้ เป็นลักษณะเครื่องหมายของจต ทีลุถึงปฐมฌานโดยตรง ซึ่งเป็นการแสดงถึงความสำเร็จแห่งการเจริยสมาธิในขั้นแรก ซึ่งเราจะพำิจารณากันต่อไปโดยละเอียด ในข้อที่ว่า

          "จิตผ่องใส เพราะความบริสุทธิ์หมดจดแห่งข้อปฏิบัติ" นั้นหมายึความว่าเมื่อจิตผ่านอุปสรรคทั้ง ๑๘ อย่างดังที่กล่าวแล้ว มาได้โดยเรียบร้อย เช่นนี้ อย่างดังที่กล่าวแล้ว มาได้โดยเรียบร้อย เช่นนี้ ก็เป็นอันว่าข้อปกิบัติหรือปฏิทานั้น ได้ดำเนินมาด้วยความหมดจดจิตจึงได้ผ่องใส เพราะความที่ไม่มีอุปสรรคหรือนิวรณ์อย่างใดรบกวน ความที่จิตผ่องใสในบลักษณะเช่นนี้ เป็นอันแรกหรือเป็นลักษระอันแรกของปฐมฌาน

         " จิตเจริญงอกงามด้วยอุเบกขา" นั้น เล็งถึงความที่บัดนี้จิตวางเฉยอยู่ได้ด้วยความวางเฉย ที่เป็นองค์แห่งฌาน ซึ่งจะได้กล่าวต่อไปข้างหน้าเมื่อจิตวางเฉยได้โยไม่มีอะไรมารบกว ท่านเรียกว่าเป็นจิตที่เจริญงอกงามตามความหมายของภาษาฝ่ายกัมมัฎฐาหรือโยคปฏิบัติ นี้เป็นองค์ที่สอง หรือลักษณะที่สอง หรือกล่าวอีกอย่งหนึ่งคือลักษระท่ามกลางของปฐมฌาน

        " จิตมีความอาจหาญร่าเริงอยู่ด้วยญาณ" นั้น อธิบายว่าจิตที่เป็นมาแล้วดยลักษณอาการแห่งข้อที่หนึง ข้อที่สองนั้น ย่อมร่าเริ่งอยู่ด้วย ความรู้ คือรู้ ควาที่นิวรณ์หมดไป รู้ความที่จิตเป็นสมาธิประกอบด้วยองค์แห่งฌานอย่างมั่นคงไม่หวั่นไหว แล้วมีปีติและสุข อันเกิดแต่วิเวกแลอยู่ จิตจึงอาจหาญ ร่าเริง ข้อนี้เป็นองค์ที่สาม หรือลักษณะที่สาม หรือลักษณะในที่สุดของปฐมณาน

        ทั้งหมดนี้ทำให้กล่าวได้อีกนัยหนึ่งว่า ปฐมฌานมีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามแลาง มีความงามในที่สุด งามในเบื้องต้น เพราะจิตผ่องใส ด้วยอำนาจข้อปฏิบัติที่หมดจดถึงที่สุด งามในท่ามกลาง เพราะจิตเจิรญรุ่งเรืองอยุ่ด้วยอุเบกขา คือความวางเฉย และงามในที่สุด เพราะจิตกำลังร่าเริงอยู่ด้วยญาณ การที่จะเข้าใจในลัษณะทั้งสามนี้ ของปฐมฌานนันขึ้นอยู่ กับความเข้าใจในเรื่องนิวรณ์และองค์แห่งฌาน เป็นส่วนสำคัญ.

        - อานาปานสติภาวน พุทธทาสภิกขุ

หมายเลขบันทึก: 643903เขียนเมื่อ 10 มกราคม 2018 22:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 มกราคม 2018 19:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท