วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช
วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช

“การจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติที่ส่งเสริมทักษะทางปัญญา” โดยวิทยากร ดร.เชษฐา แก้วพรม วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี แพร่


20180110164755.ppt

เทคนิค “การจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติที่ส่งเสริมทักษะทางปัญญา” เน้นการจัดการเรียนการสอนแบบ reflective thinking 

1) ต้องเตรียมนักศึกษาโดยการเริ่มต้นจากการสอนให้นักศึกษาเรียนรู้จักการตั้งคำถามตาม ทฤษฎีการเรียนรู้ของบลูม ใน 6 ระดับ ได้แก่ 

ความรู้ที่เกิดจากความจำ (knowledge)

ความเข้าใจ (Comprehend)

การประยุกต์ (Application)

การวิเคราะห์ ( Analysis) 

การสังเคราะห์ ( Synthesis)  การประเมินค่า ( Evaluation

โดยมีเป้าหมายสุดท้าย คือ นักศึกษาสามารถตั้งคำถามตั้งแต่ระดับของการนำไปใช้ขึ้นไปได้

2) อธิบายและแจกใบประเมินประเมินให้นักศึกษาไปอ่านทำความเข้าใจ

3) ให้นักศึกษาลองประเมินให้คะแนนผลการสะท้อนคิดของตัวเองตามใบประเมินมาก่อน

4) การเขียนสะท้อนคิดใช้ One page เพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้จักการสกัดองค์ความรู้ที่สำคัญ 

5) อาจารย์ต้องไม่นำไปวัด Domain 2 ซึ่ง Domain 2 เราใช้ข้อสอบในการวัดแล้ว แต่การสะท้อนคิดใช้วัด Domain 3 ขึ้นไป

ุ6) ใช้เทคนิคเพื่อนช่วยเพื่อน โดยให้เพื่อนที่เขียนได้ดีไปอธิบายวิธีการให้กับเพื่อนที่เขียนได้ไม่ดี

7) ให้โอกาสนักศึกษาเลือกผลงานการสะท้อนคิดที่ตนเองคิดว่าดีที่สุดมาส่งเพื่อประเมินให้คะแนน


หมายเลขบันทึก: 643895เขียนเมื่อ 10 มกราคม 2018 15:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 มกราคม 2018 16:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (14)

การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในวันนี้ทำให้ได้รู้วิธีการสอนนักศึกษาที่จะพัฒนาทักษะทางปัญญาโดยการตั้งคำถาม. การสอนสะท้อนคิด. ซึ่งวิธีการดังกล่าวนี้สามารถนำไปใช้ทั้งการสอนภาคทฤษฏีและภาคปฎิบัติ

ได้ตัวอย่างหัวข้อการเขียนบันทึกการสะท้อนคิด ก.เหตุการณ์นั้นคืออะไร ข.นักศึกษารู้สึกอย่างไรต่อเหตุการณ์นั้น ค.เหตุการณ์นั้นส่งผลกระทบต่อใคร อย่างไรบ้าง ง.นักศึกษามีคำถามที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลง/พัฒนาอย่างไร จ.หลังจากที่นักศึกษากลับไปอ่านหนังสือหรือตำราที่เกี่ยวข้อง ฉ.หลังจากที่นักศึกษาไปทบทวนนักศึกษาได้ข้อสรุปอย่างไรบ้าง ช. นักศึกษาจะนำข้อมูลที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในอนาคตได้อย่างไร

ได้ข้อสรุปกับตนเองว่าที่ทำๆมาเป็นส่วนหนึ่งของการสะท้อนคิด แต่ไม่ถูกต้องครบถ้วนตามกระบวนการ จะเริ่มทดลองใช้เต็มรูปแบบกับการนิเทศภาคปฏิบัติสัปดาห์หน้า เผื่อจะได้เห็นการเปลี่ยนแปลงที่ดียิ่งขึ้นของนักศึกษาและตนเอง

อ.เกศกาญจน์ ทันประภัสสร

เมื่อฟังการสอนแบบReflectionแล้ว  ทำให้ทราบว่าที่ผ่านมาตัว

เราเองให้นักศึกษาเขียนสะท้อนคิดส่วนมากจะมุ่งเรื่องcontentมากกว่าfeeling ทำให้ไม่ถูกต้องตามขั้นตอนของการสอนแบบReflection และการ feed beck สิ่งที่นักศึกษาเขียนยังส่งเสริมให้นักศึกษาได้พัฒนาทักษะทางปัญญาในขั้นสูงได้น้อย เนื่องจากเกณฑ์ที่ใช้ในการพิจารณาการเขียนสะท้อนคิดไม่สัมพันธ์กับการพัฒนาทักษะทางปัญญาขั้นสูง ดังนั้นคงต้องปรับปรุงเกณฑ์และกระบวนการ feed back การเขียนของนักศึกษาเพื่อให้นักศึกษาได้รับการพัฒนาทักษะทางปัญญาขั้นสูงอย่างแท้จริงให้ได้......

คิดว่าการสอนเพื่อกระตุ้นให้นักศึกษาสะท้อนความรู้สึกต่อประสบการณ์การเรียนรู้เป็นสิ่งที่ทำได้ยาก ครูต้องมีทักษะในการตั้งคำถามเพื่อให้นักศึกษาเกิดความคิดวิเคราะห์

การฝึกให้ผู้เรียนตั้งคำถามในชั้นเรียนเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในบทเรียนเป็นการพัฒนาทักษะทางปัญญา รวมถึงปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียนและผู้สอนกับผู้เรียนในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ไม่ว่าจะเรียนในหลักสูตรหมวดวิชาใดก็ตามทั้งภาคทฤษฎีและผู้ปฏิบัติการพยาบาล......และทุกข้อความที่ผู้เรียนเขียน ความรู้สึกต่อการเรียนรู้ มันมีความหมายมากมายต่อการสะท้อนคิดในกระดษแผ่นเดียวจริงๆ

ได้นำมาทดลองใช้ในการเรียนการสอนภาคทฤษฎีในรายวิชาจริยศาสตร์แล้วเห็นประโยชน์ของการใช้เทคนิคนี้ว่าทำให้นักศึกษาได้เรียนรู้จากประสบการณ์ที่ครูจัดสรรให้ทั้งในส่วนของตัวองค์ความรู้และทักษะทางปัญญาและรวมทั้งการเปลี่ยนแปลงแนวคิด ทัศนคติของนักศึกษาต่อสถานการณ์นั้นๆ 

การเรียนการสอน Reflective thinking ช่วยส่งเสริมให้ผู้เรียนวิเคราะห์การเรียนรู้ที่ได้รับหรือทักษะ/ประสบการณ์ที่ผ่านมา  แล้วค้นหาแนวทางเพื่อพัฒนาหรือปรับปรุงการเรียนรู้ของตนเองให้ดียิ่งขึ้น เป็นวงจร cycle อย่างต่อเนื่อง 

เป็นวิธีการสอนที่น่าสนใจมากคะ จะพำยายามนำมาปรับใช้กับการจัดการเรียนการสอนที่ตนเองได้รับเพื่อพัฒนาตนเองและนักศึกษาต่อไปนะค่ะ

การเรียนการสอนโดยใช้การสะท้อนคิด เทคนิคของครูคือการลดการบรรยายลง(ในส่วนของทฤษฎี) แล้วใช้การตั้งคำถามเป็นตัวนำในการคิด ให้นักศึกษาได้มีโอกาสพูด และสะท้อนความคิดออกมา โดยสิ่งที่จะกระตุ้นให้สะท้อนคิดนั้น อาจเป็นรูปภาพ หรือสถานการณ์ เรื่องราวต่างๆ 

เป็นวิธีการสอนที่น่าสนใจ ช่วยสะท้อนให้เห็นการเรียนรู้ของนักศึกษาอย่างชัดเจน ยังไม่เคยได้นำไปใช้ในการสอน ฟังวิทยากรแล้วกระตุ้นความสนใจได้มาก จะพยายามทำความเข้าใจให้มากขึ้นเพื่อความมั่นใจในการนำไปใช้กับนักศึกษาค่ะ

ขั้นการประยุกต์ วิเคราะห์ ประเมินค่า นักศึกษา จะรู้สึกยากลำบากที่จะสะท้อนคิดให้ลึกซึ้งได้  ควรต้องมีผู้สอนที่มีประสบการณ์ทางคลินิกอย่างมาก จึงจะกระตุ้นคำถามที่เหมาะสม และชี้แนะ นักศึกษาได้ตรงประเด็น ให้กล้าที่จะสะท้อนคิด  แสดงออกถึงความรู้สึก  ความรู้ ความเข้าใจในสถานการณ์นั้นๆในขณะปฏิบัติงาน ได้เป็นอย่างดี

อัญชลี แก้วสระศรี

เป็นวิธีการสอนที่น่าสนใจ ยังไม่เคยนำไปใช้ จะศึกษาเรียนรู้เพิ่มเติม และนำไปใช้สอนนักศึกษาต่อไป

ได้แนวทางนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนอย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น ในการพัฒนาทักษะทางปัญญาซึ่งเป็นเรื่องที่จับต้องได้ยาก

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท