ชมสวนองุ่น “ธัญฑิตา” สัมผัสไอเดียหนุ่ม “เลอศักดิ์”ผู้ทำลายความเชื่อภาคใต้ปลูกองุ่นไม่ได้


ตะลอนไปกับสจ.เดือนนี้เรามีนัดที่จะลงพื้นที่อำเภอรัตภูมิ ก็กระแสสวนองุ่นที่รัตภูมิมีการแชร์ผ่านสื่อโซเซียลกันถล่มทลาย ปรากฎการณ์ใหม่การปลูกองุ่นที่ประสบความสำเร็จของไร่ธัญฑิตา ตำบลท่าชะม่วง อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา วันนี้กลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่หลายคนไม่พลาดที่จะไปเยี่ยมชม แม้กระทั่งพี่น้องชาวต่างจังหวัด

            เรานัดสจ.ญาณพงศ์ เพชรบูรณ์ เขตรัตภูมิไว้ในบ่ายวันเสารที่ 16 ธันวาคม ที่สวนวันนี้ที่ไร่ธัญฑิตา เราไปถึงก่อนเวลาเล็กน้อย ซึ่งวันนี้เป็นวันที่ระบุในกำหนดการว่าไม่เปิดให้บุคคลทั่วไปชมก็น่าจะสะดวกสำหรับการพูดคุย ระหว่างที่รอท่านสจ. เราพบว่ามีคนจากทั่วสารทิศยังคงเดินทางมาเพื่อขอชมสวนไม่ขาดสาย ต้องบอกว่าไม่ขาดสายจริงๆ บ้างคนตื้อจนเจ้าของสวนใจอ่อน ก็ได้เข้าชม บ้างรายก็เคารพกติกาของสวนก็เดินทางกลับ

            สจ.ญาณพงศ์บอกกับเราทันที่มาถึงว่ารัตภูมิเป็นอำเภอที่มีต้นทุนทางด้านการท่องเที่ยวเยอะ ทั้งภูเขา น้ำตก สวนผลไม้ ลำไย และองุ่นซึ่งเป็นสีสันใหม่ เกิดขึ้นจากความคิดของคนในพื้นที่ที่สร้างความเซอร์ไพร์สให้กับสังคมอยู่บ่อยครั้ง เมื่อหลายปีก่อนรัตภูมิก็โด่งดังมากเรื่องการปลูกลำใยสำเร็จในภาคใต้เป็นที่แรกจนนักท่องเที่ยวและหน่วยงานตลอดจนประชาชนแห่มาดูงานกันมากมาย

          กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมไปในที่สุดก็ให้เกิดโอมสเตย์ในพื้นที่โดยเฉพาะพื้นที่ตำบลเขาพระ ซึ่งเป็นอาณาเขตเชื่อมระหว่างรัตภูมิกับสตูลเป็นพื้นที่ที่ได้รับความนิยมและยืนยันจากนักท่องเที่ยวว่าอากาศดีที่สุดในจังหวัดสงขลาเลยทีเดียว

            การเกิดขึ้นของสวนองุ่นก็ทำให้กลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวใหม่ของอำเภอรัตภูมิ ซึ่งถือเป็นครั้งแรกในจังหวัดสงขลา และอาจจะเป็นครั้งแรกในภาคใต้เลยทีเดียว ซึ่งทางอบจ.สงขลาก็พร้อมที่จะส่งเสริมและรณรงค์ โดยเฉพาะการปลูกองุ่นซึ่งทำลายความเชื่อเก่าๆ ว่าภาคใต้ปลูกไม่ได้ให้หมดไป และคาดว่าในอนาคตก็น่าจะมีสิ่งใหม่ๆ เกิดขึ้นอีก           

นายเลอศักดิ์ วิไลกูล เจ้าของไร่องุ่นธัญฑิตาหนุ่มน้อยวัย 23 ปี ที่ทำให้คนทั่งประเทศต้องทึ่ง เล่าวว่า หลังจากจบมหาวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีจังหวัดสงขลา และต่อปริญญาตรีที่แม่โจ้ปี 2557 ก็ทำงานเป็นพนักงานส่งของที่ 7-11 ในระหว่างทำงานช่วงพักเที่ยงก็ศึกษาการปลูกองุ่นจากGooGle และ youtube และหลังจากลาออกจากงานก็มาทำสวนยาง

            ด้วยความเบื่อหน่ายราคายางที่ตกต่ำ ก็ตัดสินใจทดลองปลูกองุ่นพันธุ์ บิวตี้ ซีดเลท 1 ต้น ปรากฏว่าได้ผล ก็เลยตัดสินใจขยายเป็น 44 ต้น ในช่วงนี้ก็ใช้เวลาไปดูการปลูกองุ่นที่ภาคกลางและภาคเหนือจนสามารถพัฒนาและเอาชนะปัญหาเรื่องของโรคองุ่นและเมื่อเห็นผลก็ขยายในพื้นที่ 2 ไร่ครึ่ง จนเฟสแรกมีทั้งหมด 325 ต้นและเปิดให้นักท่องเที่ยวได้เข้าชม

สิ่งที่เกิดขึ้นมาจากการเรียนรู้และลองผิดลองถูกจนวันนี้ใช้เวลา  3 ปี 4 เดือนจึงประสบความสำเร็จ

นายเลอศักดิ์ เล่าต่อว่าการปลูกองุ่นในประเทศไทยนั้นสามารถทำได้ทุกที แต่ต้องอาศัยการปรับดินและอินทรีย์ในดินให้เหมาะสม โดยดินทุกจังหวัดของประเทศไทยมีค่า PH อยู่ 6-7 ดังนั้นจะต้องปรับดินให้เป็นด่างด้วยไดโรไมท์บวกปูนขาวเพื่อให้ดินเป็นด่าง ค่าอินทรีย์วัตถุ 5 เปอร์เซ็นต์ รวมทั้งการจัดธาตุอาหารให้ต้นองุ่นตามช่วงอายุ

องุ่นเป็นพืชที่อ่อนไหวเกิดความเครียดได้ง่าย ดังนั้นทางสวนจึงมีข้อห้ามกับนักท่องเที่ยวที่มาเข้าชม ซึ่งความเครียดขอองุ่นนั้นก็ดูได้จากใบถ้าบห่อแสดงว่ามีปัญหาแล้ว ก็ต้องหาสาเหตุกัน

สำหรับเกษตรกรที่อยากปลูกองุ่น ก็ถือว่ารายได้ดี ที่ไร่องุ่นธัญฑิตา ได้ปลูกไว้ 3 พันธุ์นั่นคือ บิวตี้ ซีด เลท,รูทเพอเลท,และ เฟรม ซีดเลท ซึ่งจะมีราคากิโลกรัละ 280 บาทจากสวน แต่ที่สวนองุ่นธัญฑิตา จำหน่ายกิโลกรัมละ 200 บาทโดยเริ่มจำหน่ายล็อตแรกระหว่างวันที่ 25-26 ธันวาคม 2560 โดยปกติองุ่นทั้ง 3 พันธุ์ดังกล่าวเมื่อดูแลอย่างดีจะสามารถให้ผลผลิตได้ไร่ละ 2 ตัน ขายกันตันละ 200,000 บาท หนึ่งปีสามารถเก็บผลิตได้ 2 ครั้งก็ 4 ตัน ก็สามารถเป็นพืชที่ปลูกทดแทนยางพาราได้ดี

และการปลูกองุ่น 1 ครั้งสามารถเก็บผลผลิตได้ 15-20 ปี ซึ่งในประเทศญี่ปุ่นสามารถอยู่ยาวถึง 45 ปี โดยหลังจากตัดผลผลิตแล้วองุ่นจะใช้เวลาอีก 165 วันก็จะออกรุ่นใหม่ เกษตรกรสามารถได้ผลิตต่อปี 2 ครั้ง หากมีเนื้อที่มากพอก็จะสามารถคุ้มทุนได้ในเวลาประมาณ 2 ปี ซึ่งการลงทุนใน 2 ไร่ครึ่งก็ทางสวนองุ่นธัญฑิตา ใช้เงินไปทั้งหมด 840,000 บาท ก็เป็นอีกพืชเศรษฐกิจที่น่าสนใจ

 

หมายเลขบันทึก: 643393เขียนเมื่อ 17 ธันวาคม 2017 19:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 ธันวาคม 2017 19:24 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท