Occupation therapy in Resilience skill


นักกิจกรรมบำบัดใน Resilience Quotient สามารถพัฒนาไปเป็นการรักษาทางกิจกรรมบำบัดได้เพราะการที่เราจะเข้าใจบุคคล หรือผู้รับบริการคนหนึ่ง ต้องมองคนไข้เป็นองค์รวม เข้าใจจิตใจ อารมณ์ ความรู้สึกที่เป็นพื้นฐานในการเข้าสังคม หากสิ่งเหล่านี้มีความผิดปรกติ จะส่งผลกระทบต่อทักษะการเข้าส่งคมเหล่านี้ได้ ดังนั้นนักิจกรรมบำบัดจึงเป็นเหมือนอาชีพที่รักษาทุกอย่างในคนหนึ่งคน เป็นได้ทุกอย่างให้กับผู้รับบริการ โดยหลักการRQ จะอธิบายดังนี้
       Resilience Quotient หมายถึง ความสามารถของอารมณ์และจิตใจในการปรับตัวและฟื้นตัวหลังเจอกับวิกฤตหรือเหตุการณ์ร้ายๆ ในชีวิตเป็นคุณสมบัติอย่างหนึ่งที่จะช่วยให้เราผ่านพันปัญหา อุปสรรคและมีการดำเนินชีวิตได้อย่างมีความสุขใช้เทคนิค 4 ปรับ 3 เติม
       
       "ปรับ 4" 
ปรับอารมณ์

       
       เมื่อเกิดปัญหา/อุปสรรคที่เป็นเรื่องใหญ่ในชีวิต คนเรามักจะตกใจ และมีความรู้สึกต่างๆ ที่รุนแรง จนควบคุมตัวเองไม่ได้ สิ่งแรกจึงต้องพยายามตั้งสติ นักกิจกรรมบำบัดช่วยให้ผู้คนสามารถปรับอารมณ์เข้าสู่ปกติได้อย่างรวดเร็ว 
       
       ปรับความคิด

       
       การที่จิตใจสงบลงทำให้คนเราคิดเรื่องที่เป็นเหตุเป็นผลได้มากขึ้น การปรับความคิดทำได้หลายวิธี  ปัญหาทุกอย่างจะถูกแก้ไขอย่างตรงจุด นักกิจกรรมบำบัดปรับความคิดทั้งสังคม ครอบครัว ให้ยอมรับการบกพร่อง หรือความผิดปกติ
       
       ปรับการกระทำ

       
       เมื่ออารมณ์ ความคิดกลับมาเป็นปกติ และมีกำลังใจที่จะต่อสู้แล้ว ก็ต้องลงมือทำ นักกิจกรรมบำบัด ปรับให้เขาสามารถวางแผนการใช้ชีวิต การอยู่ได้ด้วยตนเองโดยไม่พึ่งพาคนอื่นได้ ซึ่งการกระทำเหล่านี้จะส่งผลต่อบุคคลนั้นในอนาคต
       
       ปรับเป้าหมาย

       
       ปัญหาที่หนักหนา อาจจะทำให้เราทำตามความต้องการไม่ได้ จำเป็นต้องยืดหยุ่น ปรับเป้าหมายให้เหมาะสมกับตัวเอง นักกิจกรรมบำบัดช่วยกันวางเป้าหมายร่วมกันกับครอบครัว สังคม
       
       "เติม 3"
 เติมศรัทธา
       

       ความเชื่อ ความศรัทธา ทำให้คนเรามีจิตใจที่เข้มแข็ง และมีความหวัง เช่น เชื่อว่าชีวิตมีช่วงขึ้น และลง นักกิจกรรมบำบัดช่วยเติมเต็มศรัทธาให้ผู้ที่มีปัญหา การพูดให้ผู้ที่มีปัญหาพบทางออก และเชื่อในการใช้ชีวิตอีกครั้ง

       เติมมิตร

       
       การผูกมิตร หรือให้ความช่วยเหลือคนอื่นเท่าที่ทำได้ เป็นสิ่งสำคัญ เพราะเมื่อเราเผชิญกับปัญหาบางอย่างที่เกินจะรับมือได้ มิตรที่ดีจะช่วยให้คำปรึกษา นักกิจกรรมบำบัดจะมีหน้าที่เป็นเสมือนPartnerให้กับผู้มีปัญหา เป็นคนให้คำปรึกษาคอยให้กำลังใจ
       
       เติมใจกว้าง


       
       คนเรามักใช้วิธีการแก้ไขปัญหาแบบเดิมๆ ซึ่งอาจจะไม่ใช่ทางออกที่เหมาะสม ลองศึกษาวิธีที่แตกต่างออกไป หรือเข้าใจความรู้สึก ความคิดของคนอื่นที่แตกต่างจากเรา นักกิจกรรมเห็นใจ มองผู้รับบริการเป็นองค์รวม การให้การรักษาเสมอภาค ไม่แบ่งแยก คิดให้การรักษาโดยไม่แยกระดับ
       
      

อ้างอิง : http://oknation.nationtv.tv/bl...

หมายเลขบันทึก: 643390เขียนเมื่อ 17 ธันวาคม 2017 19:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 ธันวาคม 2017 20:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท