ลมหายใจทั้งปวง อานาปานสติขั้นที่ ๓


                  อานาปานสติขั้นที่สาม “ภิกษุนั้น ย่อมทำในบทศึกษาว่าเราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวง จะหายจออก ดังนี้ ; ย่อมทำในบทศึกษาว่าเราเป็นผุ้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวง จักหายใจออก ดังนี้”

                 อานาปานสติข้อนี้ มีข้อที่จะต้องวินิจแยก็คือ คำว่า “ย่อมทำให้บทศึกษา” คำว่า รู้พร้อมเฉาพะ” คำว่า “กายทั้งปวง” และการที่อานาปานสติได้ดำเนนถึงขึ้นที่เรียกว่า ญาณ สมบูรณ์แลวตั้งแต่ข้อนี้ไป :

                คำว่า “ย่อมทำบทศึกษาไ หมายถึงการประพฤติปฏิบัติ ในบทที่ท่ารวางไว้สำหรับการปฏิบัติที่เรียกว่าสิกขอานั่นเอง มีการจำแนกไว้เป็น ๓ สิกขา คือ สีลสิกขา, สมาธิสิกขา หรือ จิตตสิกขา และปัญญาสิกขา

                เกี่ยวกับการที่จะทำในบทสิกขาให้ครบทั้ง ๓ อย่างได้อย่างไรนั้น ท่านแนะให้พิจารณาว่า เมื่อผู้นั้นมีการกำหนดลมหายใจเป็นต้นอยู่ ชื่อว่าย่อมมีการสำรวม เมื่อมีการสำรวม ชื่อว่าย่อมมีศีล นี้จัดเป้นสีลสิกขาของภิกษุนั้นในขณะนั้นโดยสมบูรณ์เพราะว่าเธอไม่สามารถล่วงสิกขาบทใดๆ ได้ ในขณะนั้นนี้ชื่อว่าเธอย่อมทำอยู่ในสิกขาคือศีล ๑ และเมื่อสติของเธอน้น ไม่ละจากอารมณ์ ไม่ปราศจากอารมณ์ ไม่ทิ้งอารมณ์ กล่าวคือลมหายใจเป็ต้นนั้น ย่อมชื่อว่าเธอมีสมาธิ คือความที่จิตมีอารมณ์อยู่อารมณ์ใดอารมณืหนึ่ง เพรียงอารมณ์เดียวแลตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์นั้น ภิกษุนั้นชื่อว่าย่อมทำให้บทศึกษา คือสมาธิอยู่ในขณะนั้น นี้จัดวาเป็นสมาธิสิกขาของภิกษุนั้น   ถัดจากนั้นก็คือการเห็นซึ่งอารมณ์นั้นๆ รหือในอารมณ์นั้นๆ ว่ามีลักษณะแห่งธรรมเป็นอาทิอยู่อย่างไร และเห็นความที่สติเป็นต้นปรากฏบัดเกี่ยวกับอารมณ์นั้น ๆ” ก็ดี ก็ดี นี้ชื่อว่าญาณหรือปัญญาของภิกษุนั้น ในขณะนั้น เป็นอันว่าในขณะนั้น เธอนั้นย่อมทำในบทศึกษา คือปัญญาหรือปัญญาสิกขา ๑ ดังนั้น ภิกษุ จึงเป็นผุ้ปฏิบัติยู่ในบทแห่งสิกขาทั้งสามโดยครบถ้วน และเป็นที่น่าสนใจอย่างยิ่งในข้อที่ว่า ด้วยข้อปฏิบัติเพียงอย่างเดียวได้ทำให้เกิดมีสิกขา ขึ้นพร้อมกันทั้ง ๓ สิกขา อันเป็นเครื่องรับประกันว่า แม้ด้วยการทำอยู่เพียงเท่านี้ ก็ย่อมทำให้เป็นที่สมบูรณ์ได้ด้วย ศีล สมาธิ และปัญญา เป็นการชี้ให้เห็นความน่าอัศจรรย์ของสิ่งที่เรียกว่า ศีล สมาธิ และปัญญา เป็นการชี้ให้เห็นความน่าอัสจรรย์ของสิ่งที่เรียกว่า ศีล สมาธิ ปัญญา และเป็นคำตอบของปัญหาที่ว่าคนที่ไม่ได้เล่าเรียนปริยีติมาอย่างสมบูรณ์นั้นจะสมารถปฏิบัติ ศีล สมาธิ ปัญญา ให้สมบูรณ์ได้โดยวิธีไร พร้อมกันไปในตัว

                  สิ่งที่พึงสังเกตอีกอย่างหนึ่ง คือข้อที่วา ในบรรดาอานาปานสติทัง ๑๖ ขั้นนั้น พระองค์ได้ทรงเริ่มใช้คำว่า “ย่อมทำในบทศึกษา” ตั้งแต่ขั้นที่สามนี้เป็นต้นไป ตลอดจนถึงขั้นสุดท้าย”  ซึ่งมีความหมายว่าตั้งแต่ขั้นที่ ๓ ถึงขั้นที่ ๑๖  เป็นตัวการปฏิบัติที่เรียกได้ว่า เป็นตัวสิกขาแท้ และยังแถมมีครบทั้ง ๓ สิกขาอีกด้วย ส่วนขั้ที่ ๑ และขั้นที่ ๒ เป็นเพียงขั้นริเริ่ม คือเริ่มฝึกหันกำหนดอารมณ์ จะมีบ้างก็เพียงการสำรวม ซึ่งเป็นศีล : ส่วนที่เป็นสมาธิและปัญญายังไม่ปรากฎเต้มตามความหมาย จึงยังไม่ถือว่ามีการทำในบทศึกษาที่สมบูรณ์ ในขั้นที่ ๑ และขั้นที่ ๒ นั้น ซึ่งเป็นเพียงกำหนดลมเป็นสว่วนใหญ่เพิ่มสมบูรณ์ในขั้นที่ ๓ นี้เอง จึงกล่าวได้ว่าเป็นขั้นที่เริ่มมีญาณแล้วโดยสมบูรณ์ ตามความหมาย

            “รู้พร้อมเฉพาะ” หมายถึงความรู้ที่สมบูรณ์ สูงขึ้นไปกว่าความรู้ที่เป็นเพียงสัมปชัญญาอย่าวขึ้นที่หนึ่งและขั้นที่สอง คำว่า รู้พร้อมคือรู้หมดทุกอย่า คำว่า รู้เฉพาะ คือรู้อย่างละเอียด ชัดเจนไปทุกอย่าง รวมความวารู้อย่างบูรณ์ในกรณีน้น ๆและในอันดับนั้นๆ อย่างชัดเจน ซึ่งในที่นี้ได้แก่รู้จักสิ่งที่เรยกว่า กาย กล่าวคือ ลมหายใจนั้นเอง ว่ามีลักาณะอย่างไร มีพฤติกรรมอย่างไร มเหตุปละมีผลอย่างไร เป็นต้นเมื่อคำว่า กายในที่นี้ ได้แก่ลมหายใจการรู้ก็คือรู้ลักษณะสั้นยาวของลมหายใจ อาการแห่งการเคลื่อนไหวของลมหายใจสมุฎฐานแห่งบมหายใจ คือความมีชีวิตยังเป็นไปอยู่ และผลจากลมหายใจคือความที่ลมหายใจนี้กำลังทำหน้าที่เป็นกายสังขาน เหือเป็นปัจจัยสังขารแก่ชีวิตสวนที่เป็นรูปธรรมโดยตรงนี้อยู่ ดังนี้เป็นต้น เมื่อกล่าวโดยสรุปก็คือรู้เรื่องทังปวงของลมหายใจโดยตรงนั้นเอง และใจควาสำคัญทีต้องรู้นั้นต้องไปสิ้นสุดลงที่รู้ความเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ของสิ่งหรือภาวะเหล่านี้ทั้งหมด ซึ่งจะได้กล่าวถึงในขั้นที่สูงขึ้นไปตามลำดับ

              “ กายทั้งปวง” ควรจะได้รับการวินิจฉัยเฉพาะคำว่า “กาย” โดยตรงเสียก่อน จะทำให้เข้าใจไดง่ายขึ้น

              “ กาย” แปลว่า หมู่, และแบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ นามกายและรูปกาย นามกาย คือหมุ่นามหรือกลุ่มนามธรรม ได้แก่ความรู้สึกคิดนึกของจิตรวมทั้งจิตเอง ที่เรียกโดยทั่วไปว่า เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณเป็นวงหว้าง แต่โดยเฉพาะในที่นี้นั้นได้แก่ความรู้สึกต่างๆ ที่เกิดขึ้นในขณะที่มีการกำหนดลมหายใจ เช่นแนทะเกิดขึ้น ปราโมทย์เกิดขึ้น สติเกิดขึ้นความรู้สึกตัวทั่วพร้อมเกิดขึ้น เหล่านี้ล้วนแต่เป็นกลุ่มนามกาย ซึ่งจัดเป็นกายประเภทหนึ่ง ส่วนรูปกาย นั้นโดยทั่วไปหมายถึงมหาภูมิรูป คือ ดิน น้ำ ลมไฟ ที่เป็นส่วนประกอบส่วนใหย่ของร่างกาย แต่ในที่นี้ คำว่า รูปกายหมายถึงหมายถึงลมหายใจที่เนื่องกันอยู่กับมหาภูมิรูปทั้งสี่ นั้นโดยเฉาพะ ในฐานะเป็นสิ่งที่ท่ำให้มหาภูมิรูปนั้นดำรงอยู่ได้ มีค่าหรือมีความมหายอยู่ได้ และทั้งเป็นที่ตั้งแห่งนามกาย มีเวทนาเป็นต้น สืบลไปได้ กล่าวโดยสรุปก็คือ กาย หล่าวคือลมหายใจทำหน้าที่เป็นกายสังขาร ปรุงแต่งรูปกายให้เป็นี่ตั้งแห่งนามกายได้สืบไปนั้นเอง เมื่อผุ้พิจารณาได้พิจารณาเห็นความที่กายทั้งปวง (คือทั้งรูปกายและนามกาย) มีอยู่อย่างไรและสัมพันธืกันอย่างไรแล้ว ในฐานะที่ควรเพ่งเล็งเพียวสิ่งเดียวในที่นี้ เมื่อเป็นดังนี้ ย่อมเป็นเกรเพียงอพแล้ว ที่จะกล่าวว่า “ภิกษุนั้นเป็นมีปรกติตามเห็นซึ่งกายในกายทั้งหลาย” (กาเยกายานุปัสสี) คือ เธอได้มองเห็นกายอย่างใดอย่างหนึ่งในบรรดากายทั้งหลายโดยประจักษ์ ซึ่งในที่นี้หมายถึงการเห็นด้วยปัญญา ซึ่งกายคือลมหายใจ ในระหวางกายทั้งหลายอย่างอื่นๆ ทั้งที่เป็นรูปกายและนามกาย อาศัยเหตุข้อมนี้เองเป็นใจความสำคัญ จึงทำให้อานาปานสติจตุกกะที่หนึ่ง พลอยได้ชื่อว่า กายานุปัสสนาสติปัฎฐาน ซึ่งมีหลักสำคัญว่า ภิกษุเป็นผู้มีปรกติตามเห็นซึ่ง กายในกายทั้งหลาย อยู่เป็นประจำซึ่งในที่นี้ ได้แก่รู้อยุ่ทุกลมหายใจเข้าออกดังนี้

             “ทั้งปวง” แม้จะกิดความไปถึงว่ากายทุกชนิ ก็จริงอยู่ แต่ในที่นี้ หมายความแต่เพียงว่า กายคือลมหายใจทั้งหมด หรือเรื่องทั้งหมดที่เกี่ยวกับกายนั้น เมื่อคำว่า กาย ในที่นี้ได้แก่ ลมหายใจ เรื่องที่จะต้องรุ้ ก็คือเรื่องทุกเรื่องเกี่ยวกับลมหายใจนั้นโดยตรง คือว่าลมหายใจนั้นมีลักษณะอาการเป็นต้นอย่างุไร และมีอะไร เหิดขึ้นเนื่องจาก ลมหายใจนั้น อนึ่งสำหรับอานาปานสติขั้นที่สามนี้ ยังอยุ่ในกลุ่มของเรื่องที่เป็นสมาธิ โดยส่วนใหญ่ คำว่า กายทั้งปวง จึงมีความหมายส่วนใหญ่ เท่าที่เกี่ยวกับความเป้ฯสมาธิ ที่ทำให้เกิดขึ้นได้เนื่องจากลมหายใจนั้น เพราะฉะนั้น จึงกล่าวได้โดยเจาะจงว่ากายทั้งปวสวก็คือลมหายใจทั้งปวงนั้นเอง กำกำหนดรู้กายทั้งปวง ก็คือการกำหนดรู้ลมหายใจโดยประการทั้งปวง นั้นเอง..

 

  • อานาปานสติภาวน พุทธทาสภิกขุ, อบรมภิกขุ ณ สวนโมกข์ ฯ ในพรรษาปี ๒๕๐๒,  ตอนเจ็ด อานาปานสติ ขั้นที่ สาม
หมายเลขบันทึก: 643391เขียนเมื่อ 17 ธันวาคม 2017 19:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 ธันวาคม 2017 14:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท