เสาวณีย์
นางสาว เสาวณีย์ แก้วจุลกาญจน์

วิจารณ์พระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุนพ.ศ.2520 (ครั้งที่4)


พิจารณาหลักกฎหมายการลงทุนเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ
                                                          ประเด็นที่4

                การศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายลงทุนของไทยกับประเทศคู่แข่งในกลุ่มอาเซียน

                                 จากข้อมูลในการศึกษาวิเคราะห์เปรียบเทียบ พบว่าทุกประเทศมุ่งการส่งเสริมการลงทุนโดยให้สิทธิประโยชน์สำหรับการลงทุนด้านอุตสาหกรรมการผลิตโดยเน้นกลุ่มอุตสาหกรรมคล้ายกัน ได้แก่ อุตสาหกรรมรถยนต์ และอุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับการอาหาร โดยบางประเทศ เช่น สิงคโปร์[1] มาเลเซีย[2] และไทย[3]ได้ให้ความสำคัญต่อการส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรมสำคัญๆเหล่านี้ ในลักษณะของกลุ่มวิสาหกิจการลงทุน               

                              สำหรับสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ให้แก่นักลงทุนนี้ พบว่าระยะเวลาที่ให้การยกเว้นภาษีเงินได้อยู่ในช่วง 1-10 ปี แต่มีความแตกต่างกันในเรื่องของการนับระยะเวลาคือ กฎหมายไทยเริ่มนับระยะเวลาตั้งแต่วันที่มีรายได้ กฎหมายจีน[4]ริ่มนับระยะเวลาตั้งแต่วันที่มีกำไร ซึ่งอาจเหมาะสมมากกว่า เพราะในทางปฏิบัติแล้วนักลงทุนอาจต้องการได้รับการยกเว้นภาษีนับตั้งแต่วันที่กิจการของตนมีกำไรก็ได้             

                                สำหรับเงื่อนไข/หลักเกณฑ์สำหรับการลงทุนบางประเทศ เงื่อนไขในการใช้วัตถุดิบหรือส่วนประกอบในประเทศ ได้ถูกยกเลิกไปโดยความตกลงว่าด้วยมาตรการลงทุนที่เกี่ยวข้องกับการค้า ( TRIMs) ทั้งนี้เนื่องจากประเทศสมาชิกอาเซียนเป็นภาคีองค์การการค้าโลก จึงต้องปฎิบัติตามพันธกรณีนี้                                                

                               และนอกจากนี้สิทธิประโยชน์ด้านอื่นๆที่ไม่เกี่ยวกับภาษีที่เป็นการลดหรือขจัดอุปสรรคทางด้านกฎหมายต่างๆในการเข้ามาในการดำเนินธุรกิจการลงทุนของชาวต่างชาติ ( เช่นการเข้าประเทศ  การทำงาน และการประกอบธุรกิจ) หากในอนาคตการเปิดเสรีการค้าบริการในกรอบความตกลงทั่วไปว่าด้วยการค้าบริการ(GATS) ภายใต้องค์การการค้าโลกที่เป็นการเปิดเสรีการลงทุนในภาคบริการก้าวหน้าเป็นลำดับ จะทำให้กฎหมายที่มีบทบัญญัติที่เป็นอุปสรรคต่อการเข้ามาลงทุนของคนต่างชาติถูกแก้ไขปรับปรุงและยกเลิกไปในที่สุด สิทธิประโยชน์อื่นๆเหล่านี้จึงไม่จำเป็นต้องบัญญัติไว้ในกฎหมายส่งเสริมการลงทุนเพื่อยกเลิกบทบัญญัติของกฎหมายลงทุนที่เป็นอุปสรรคต่อการเข้ามาประกอบธุรกิจของการลงทุนอีกต่อไป ซึ่งในอนาคตอาจเป็นไปได้ว่าจะมีการให้ความสำคัญต่อหลักประกันและความคุ้มครองของการลงทุนเพื่อชักจูงและดึงดูดการลงทุนมากขึ้น ซึ่งในประเด็นนี้กฎหมายการลงทุนของประเทศอินโดนีเซีย[5] มีบทบัญญัติในเรื่องหลักประกันและการคุ้มครองเกี่ยวกับการโอนกิจการเป็นของรัฐ ซึ่งมีรายละเอียดมากว่ากฎหมายการลงทุนของประเทศอื่นๆ[6]               



[1] สิงค์โปร์ไม่มีกฎหมายโดยเฉพาะที่ใช้ในการส่งเสริมการลงทุน การลงทุนของประเทศสิงคโปร์อยู่ภายใต้หลักกฎหมายตือ economic expansion incentivesAct 1969

[2] เช่น กฎหมาย investment incentives act 1968, Promotion of investment Act 1997

[3] พระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน ปี 2520

[4] The law of people republic of china on wholly Foreign Owened Enterprises เป็นต้น
[5]  Law no 1/1697 on foreign investment, Law no 6 /1968 Domestic investment
[6] ตารางเปรียบเทียบบทบัญญัติและมาตรการส่งเสริมการลงทุนของประเทศในกลุ่มอาเซียน ดูจาก รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาเพื่อจัดทำมมาตรการกฎหมายใหม่สำรับการส่งเสริมการลงทุน
หมายเลขบันทึก: 63987เขียนเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2006 19:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มิถุนายน 2012 15:22 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท